ความ สำเร็จทุกอย่างใช่จะได้มาโดยง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยให้ความสำเร็จเกิดขึ้นได้กลับกลายเป็น ส่วนลึกของจิตใจและความรู้สึกภายในของตัวเรานั่นก็คือ “ทัศนคติ” บทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการกระทำใดๆ เพื่อให้เกิดผลทางการตลาดอย่างชัดเจน แม้จะไม่สามารถตอบได้ว่า 100% หรือไม่แต่อย่างน้อยก็ไกล้เคียงอย่างแน่นอน
สวัสดีครับทุกๆ ท่านครับวันนี้ผมก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “ทัศนคติ” มาเล่าสู่กันฟังครับ จากหลายวันที่บล็อกแห่งนี้ไม่ได้อัพเดทและประสบปัญหามากมายก่ายกองเลยก็คงจะ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกันบ้างละครับ ยังไงก็ตามที่แห่งนี้จะยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางการตลาดต่อไปเหมือนเดิมไม่ขาดหายไปไหนครับ และจะมีสิ่งดีดีมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันเรื่อยๆ ตลอดไปครับ เอาหละพูดพร่ำทำเพลงมาหลายคำละเสียเวลาเราไปดูกันต่อครับว่า “ทัศนคติ” นั้นมีผลต่อการตลาดอย่างไร
ความหมายของคำว่า ทัศนคติ
ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง คุณค่าในจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีผลจากสิ่งแวดล้อมซึ่งแสดงออกใน ลักษณะของความชอบ ไม่ชอบที่มีต่อบุคคล วัตถุหรือสิ่งของ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
บทบาทของทัศนคติของผู้บริโภคต่อการตลาดเป็น 4 ประการ
- หน้าที่ในการให้อรรถประโยชน์ (Utilitarian Function)
- หน้าที่ในการแสดงคุณค่า (Value-Expression Function)
- หน้าที่ในการปกป้องความเชื่อ (Ego-Defensive Function)
- หน้าที่ในด้านการจัดระเบียบความรู้ (Knowledge Function)
ทัศนคติ เป็นลักษณะของแนวโน้มตามปกติของตัวบุคคลในการที่จะชอบหรือเกลียดสิ่งของ บุคคล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ กล่าวคือ ทัศนคติจะเป็นลักษณะของระบบ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ (A system of evaluative orientation)
การก่อตัวของทัศนคติและองค์ประกอบของทัศนคติ
การก่อตัวของทัศนคติสรุปได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
- ทัศนคติเป็นสิ่งที่มีอยู่ภายใน
- ทัศนคติจะมิใช่สิ่งที่มีมาแต่กำเนิด จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนได้เกี่ยวข้องอยู่ด้วยในภายนอก
- ทัศนคติจะมีลักษณะมั่นคงถาวร
- ทัศนคติจะมีความหมายอิงถึงตัวบุคคลและสิ่งของเสมอ
องค์ประกอบของทัศนคติ
เมื่อเรามองย้อนกลับในทางตรงกันข้ามกัน ของเราและผู้บริโภคนั่นจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราต้องมีการพัฒนา สิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภคได้ แต่เชื่อหรือไม่ครับว่าในความเป็นจริงแล้วทัศนคติที่มีผลต่อการตลาดนั้น มักเกิดกับนักการตลาดเอง ไม่ใช่ผู้บริโภคสิ่งนี้ผมจะขอยกตัวอย่างเล็กๆ ให้ได้เห็นภาพกันนะครับ เช่น นักการตลาดบางคนคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่คุ้มค่ากับสิ่งทีทำ ผลสะท้อนที่เป็นก็คือการท้อแท้ และสิ้นหวังทำให้อาชีพที่ตนเองทำอยู่นั้นดูมืดลงทันที
แต่ถ้านักการตลาดคิดในเชิงบวก หรือมีทัศนคติที่เป็นบวกเสมอ ส่วนใหญ่แล้วจะประสบความสำเร็จอย่างดี เพราะไม่ว่าจะทำสิ่งใดนักการตลาดกลุ่มนี้มักทุ่มเทแรงกายและแรงใจให้เต็มที่ เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ จะไม่ยอมให้ความคิดเล็กๆ ที่อยู่ในใจนั้นมีอำนาจไปกว่าสิ่งที่มุ่งหวังและตั้งใจที่ได้เริ่มต้นมาแต่ แรกเริ่ม ฉนั้นผลสะท้อนที่เห็นได้ชัดก็คือความสำเร็จที่ตอบแทนกลับมานั่นเองครับ
ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม