A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


แต่ถ้าหากปรับวิธีการส่งใหม่โดยทำการ Segment หรือแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ช้ดเจน เช่น เป็นโปรแกรมเมอร์หรือไปเป็น ถ้าเป็นแบ่งย่อยเป็นโปรแกรมเมอร์ประเภทไหน แบบ Visual Basic แบบ php เบื้องต้น หรือแบบศึกษามาบ้างแล้ว ฯลฯ ก็จะทำให้ จดหมายที่จะส่งออกไปตรงกลุ่มมากขึ้น สมมติถ้าเราแบ่งแยกว่าส่งไปยังกลุ่ม PHP Programmer ที่เขียนโปรแกรมมาบ้างแล้ว 1 - 3 ปีต้องการหาความรู้เพิ่มเติม ซึงภายหลังพบว่ามีอยู๋ในDatabase list ประมาณ 2000 คน ฉะนั้น Response Rate ก็จะอยู่ที่ 25 % ของจำนวน mail ที่ส่งออกไป(50*100/2000) ซึ่งถือได้ว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า ยิ่งถ้าส่งไปรษณีย์ปกติก็ลดต้นทุนไปได้เยอะ แถมส่งได้ถูกกลุ่มอีกด้วยครับ

2.ถูกใจ คำก็บอกอยู่แล้วว่า ถูกใจ หรือที่ภาษาอังกฤษเข้าเรียก satisfied หาก คุณต้องการให้ผู้รับตอบกลับแต่สิ่งที่คุณเสนอกลับเป็นสิงที่เขาไม่ต้องการก็ เสียเวลาและเงินตราโดยเปล่าประโยชน์ เหมือนกับเวลาคุณกำลังจีบหญิงหรือหนุ่มก็ไม่ว่า เวลาไปออกเดททานอาหารเย็น เขาหรือเธอรักสุขภาพชอบทานน้ำผลไม้ แต่คุณดันสั่งไวน์เสียนี่ เขาหรือเธอก็คงคิดว่าตานี่หรือยัยนี้ขี้เมาเปล่านะ

3.ถูกกาล คุณเคยอยากได้ในสิ่งบางสิ่งที่คุณไม่มีปัญญาที่จะหามาหรือต้องรอกว่าจะได้ สิ่งนั้นมา แล้วเมือเวลาผ่านไปความต้องการก็ลดลงเรื่อยๆ จนไม่รู้สึกอยากในที่สุดมั้นครับ ตรงนี่ผมขอโยนคำถามง่ายๆว่า “คุณจะรอให้เขาหมดความอยากไปหรือไม่ ? ”

นั่นแหละครับคือหลัก 3 ถูกที่ผมใช้


อย่างที่เคยเล่าเอาเมื่อตอนที่แล้ว เป้าหมายหนึ่งในการทำDM หรือ e-DM คือการได้รับการตอบกลับจากกลุ่มเป้าหมาย แน่นอนว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายนั้น สิ่งจูงใจให้ผู้รับตอบกลับเรามา(Call-to-Action)คือ Offer หรือ ข้อเสนอ และข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกยากที่จะปฏิเสธ

หลักที่ใช้ในการเลือก Offer ที่ผมมักใช้อยู่เสมอ คือหลัก 3 ถูก ได้แก่ ถูกกลุ่ม ถูกใจ ถูกกาล

1. ถูกกลุ่ม ในการทำแคมเปญสำหรับ Direct Mail(DM) หรือ electronic Direct mail(e-DM หรือ email marketing ที่พวกชอบ SPAM ชอบทำกันนัก) นั้น หากเราส่งจดหมายออกไปโดยไม่เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เรามีจำนวนฐานข้อมูลมากแค่ไหนก็ส่งไปให้หมด โดยหวังว่ายิ่งส่งมาก โอกาสที่จะมีคนตอบกลับเราก็จะมากตามไปด้วย แต่มันไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป

สมมติว่า เราทำโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ประเภทเว็บโปรแกรมมิ่ง เราต้องการเพิ่มยอดผู้เรียนในวิชา “Advanced PHP Programming” ให้ได้ 10 % เรามีฐานข้อมูล 10,000 ชื่อที่มีทั้งโปรแกรมเมอร์ประเภทต่างๆและที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ และเราก็ส่งไปคอร์สวิชานี้พร้อมข้อเสนอลดพิเศษ 50% แต่มีผู้ตอบรับกลับ(Response)มายังไม่ถึง 50 คนหรือ 0.5 %(Response Rate) แม้ว่าตัว Offer คือส่วนลดจะน่าสนใจแต่การตอบรับดูจะไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไหร่ ถ้าเราส่ง email ในเชิงต้นทุนแล้วยังไม่ค่อยสูงเท่าใด แต่ที่เสี่ยงหน่อยคือภาพลักษณ์ของคุณในสายตาผู้รับอาจจะไม่ค่อยดีนัก ยิ่งถ้าส่งด้วยไปรษณีย์ธรรมดาแล้วต้นทุนต่อหัวคงจะสูงจนน่าตกใจ


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่ง email (e-DM: e-Direct Mail)หรือ ไปรษณีย์(DM: Direct Mail) มีบทบาทมากขึ้นทำการตลาดในช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง ไม่ว่าจะทำเพื่อสร้างฐานข้อมูลลูกค้าใหม่หรือรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ หรือแม้แต่การขายของผ่านDM และสิ่งที่นักการตลาดคาดหวังจากการส่งคือ การตอบกลับจากผู้รับ อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักการตลาดตรงมือใหม่มักพลาดคือการนำเสนอ Offer ที่ดี หรือการละเลยการวัดผลจากการส่ง DM หรือ e-DM

การส่ง e-DM หรือ DM เป็นวิธีการหนึ่งในการทำการตลาดแบบ Direct Marketing และลักษณะ 3 ประการของ Direct Marketing ที่ผมเคยเขียนไว้ในครั้งที่แล้ว

* สื่อสา่ร 2 ทาง(Interacitivity): เป็นการทำการตลาดแบบสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ส่งสาร/เจ้าของสินค้าหรือบริการ/นักการตลาดกับผู้รับสารหรือลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย
* วัดค่าได้(Measurable) : สามารถวัดค่าได้อย่างค่อนข้างแน่นอนว่าเมื่อมีการส่งสารไปแล้วมีการตอบสนองมากน้อยเท่าไหร่
* กิจกรรมเกิดขึ้นที่ใดก็ได้(Activities at any Location) : กิจกรรมที่วัดค่าได้นี้จะเกิดขึ้นที่ใดๆ ก็ได้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

ดังนั้น ทุกครั้งที่ทำ DM หรือ e-DM จำนวนผู้รับและตอบกลับเมลล์ที่เราส่งไปก็ คือเป้าหมายหนึ่งในการใช้เครื่องมือทางการตลาดตัวนี้ แล้วอะไรเล่าเป็นสิ่งที่ทำให้เป้าหมายบรรลุผล ก็ OFFER ไงล่ะครับ

ที่มา : ไทยเวปมาร์เก็ตติ้งดอทคอม


และเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุีคของอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือทางการตลาดอย่าง online marketing และ Mobile marketing ก็มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น SMS marketing,E-mail Marketing, E-Commerce เป็นต้น ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็น Direct Marketing ทั้งสิ้น

ใน การทำ direct marketing นั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ฐานข้อมูลลูกค้า(Customer Database) ดังนั้น Database Marketing จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมของ Direct Marketing และยังสามารถใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่นการทำวิจัยการตลาด(Marketing Research) การทำกิจกรรม CRM เป็นต้น
Customer Database ทีแท้จริง

หลาย คนคงสงสัยว่า Customer Database ที่ว่าเนี่ยบริษัทส่วนใหญ่ก็ต้องเก็บข้อมูลลูกค้าบ้างไม่มากก็น้่อยเช่นมี ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร. ก็มีอยู่แล้วอย่างงี้ก็ทำ Database Marketing ได้แล้วนี่ คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่แล้วล่ะครับ Customer Database ตามที Marketing Guru อย่าง ฟิลิปส์ คอตเลอร์ ได้พูดไว้ในหนังสือ Marketing Management ว่าถ้า ข้อมูลลูกค้าประกอบไปด้วยชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร. มันก็เป็นได้แค่ Mailing List ธรรมดานี่เอง หากจะนำ Customer Database มาใช้จริง ๆแล้วล่ะก็ ข้อมูประเภท ความชอบประเภทสินค้า ความถี่ในการซื้อ ปริมาณการซื้อ ข้อมูลด้าน lifestyle ของลูกค้า เป็นต้น จะต้องนำมาประกอบในการพิจารณาจัดทำ direct marketing campaign และข้อมูลเหล่านั้นควรถูกจัดเก็บเป็นระบบและง่ายต่อการนำมาใช้ด้วย


เครืื่่่องมือทางการตลาดตรงนี้ แต่เดิมจะประกอบไปด้วย

1. Direct Response Television หรือ การตลาดตรงทางทีีวี เช่น TV Direct, TV Media หรือ การขายสินค้าประเภท As Seen On TV
2. Direct Response Radio หรือ การตลาดตรงผ่านวิทยุ ซึ่งในเมืองไทยไม่ค่อยเห็นกันนัก เท่าที่เห็น มักจะใช้ในการทำเพื่อเก็บข้อมูลลูกค้าและเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้สินค้า เช่น การ"ขอรับ ต.ย.สบู่ฟรีเมื่อโทร.มาที่ 0-xxxx-xxxx" เป็นต้น
3. Catalog Marketing หรือ การทำตลาดผ่านแคตตาล๊อก โดยการส่ง Catalog รายการสินค้าหรือบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อหวังผลในการขายสินค้า
4. Direct Mail เป็นการติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายทางไปรษณีย์เช่นกันแต่จะเน้นในเรื่องของการ ส่งข้อเสนอพิเศษ การส่งบัตรอวยพร หรือการประกาศสำคัญซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีขายสินค้าก็ได้ เช่นการแจกคูปองรับน้ำหอมฟรี 100 ท่านแรกเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายไปรับสินค้าต.ย.ที่เคาน์เตอร์น้ำหอม เป็นต้น
5. Direct Selling/face-to-face marketing หรือ การขายตรง เช่นตัวแทนขายประกัน Amway Missteen เป็นต้น ในบ้านเราเอง ยังสับสนอยู่ระหว่างคำว่าขายตรงกับการตลาดตรง ซึ่งจริง ๆแล้ว direct selling เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการตลาดตรง
6. Telemarketing - การทำตลาดผ่านทางโทรศัพท์ เช่น Call Center, Pizza Delivery เป็นต้น


อันว่า Database Marketing หรือแปลกันตรง ๆ คือการตลาดฐานข้อมูล ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Database + Marketing (ความหมาย)เป็น การสร้าง(build) รักษา(Maintain) และ นำฐานข้อมูลของลูกค้า(Utilize) หรือ Customer Database นำมาใช้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด และ Database นี้เองก็เป็นหัวใจสำคัญของการทำ Direct Marketing หรือ การตลาดตรง และ CRM

เพิ่มมาอีกหนึ่งแล้วครับ Direct Marketing หากพูดถึง Database Marketing โดยไม่พูดถึง Direct Marketing ก็ดูกระไรอยู่ เราลองมาดูกันครับว่าคืออะไร การตลาดตรงตามความหมายที่ สมาคมการตลาดตรงของอเมริกา(Direct Marketing Association : DMA) ได้ให้ไว้ดังนี้

" Direct marketing is: An "interactive" system of marketing which uses one or more advertising media to effect a "measurable response" and/or transaction at any location. "

" การตลาดตรงคือวิธีการทำการตลาดแบบ 'สื่อสาร 2 ทาง' โดยอาศัยสื่อโฆษณาหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งสื่อในเพื่อก่อให้เกิดการ 'ตอบสนองหรือเกิดธุรกรรมในแบบที่สามารถวัดค่าได้' ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม "

ฉะนั้น หลักเกณฑ์สำคัญของ direct marketing คือ

* สื่อสา่ร 2 ทาง(Interacitivity): เป็นการทำการตลาดแบบสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ส่งสาร/เจ้าของสินค้าหรือบริการ/นักการตลาดกับผู้รับสารหรือลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย
* วัดค่าได้(Measurable) : สามารถวัดค่าได้อย่างค่อนข้างแน่นอนว่าเมื่อมีการส่งสารไปแล้วมีการตอบสนองมากน้อยเท่าไหร่
* กิจกรรมเกิดขึ้นที่ใดก็ได้(Activities at any Location) : กิจกรรมที่วัดค่าได้นี้จะเกิดขึ้นที่ใดๆ ก็ได้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง


นับวันผมจะยิ่งรู้สึกเบื่อหน่ายขึ้นทุกวันกับการต้องคลิ๊ก Delete spam email วันๆนึงผมได้รับเมลล์ประเภทนี้ไม่ต่ำกว่า 40 - 50 ฉบับจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ครั้นจะตั้งค่า Spam Detection ใน Server ก็เคยเจอปัญหาว่า email บางฉบับที่ไม่ใช่ Spam ก็ไปอยู่ในถังกักเมลล์เช่นกัน ทำให้ไม่ได้รับ email ที่ต้องการ มีใครรู้บ้างว่าจะใช้ กฏหมายอะไรจัดการกับคนพวกนี้ดี แต่ที่ผมมั่นใจได้แน่นอนคือ ไม่ได้ผลหรอกครับ แถมยังโดนด่ากลับไปอีก

อยากให้คนที่ส่ง Spam email ลองนึกถึงตัวเองว่าถ้าวันหนึ่งมีคนเอา Email Address คุณไปและส่ง Spam เช่นคุณทำบ้างจะรู้สึกอย่างไร เอาง่ายๆ ใกล้ๆตัวถ้ามีคนขายสิ่งที่คุณไม่ต้องการโทร.เข้ามือถือของคุณ คุณจะรู้สึกเซ็งแค่ไหน และอีกพวกที่สมควรโดนประณามเป็นอย่างยิ่งคือ พวกที่เร่ขาย email 5 - 6 ล้าน emailราคาถูก


เป็น 5 วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้ email marketing campaign ของคุณมีคนคลิ๊กมากขึ้น(Click through rate แก้ไขจากครั้งที่แล้วที่พิมพ์เป็น open rate) นำมาจาก email ที่ Vertical Response ซึ่งบริษัทที่ให้บริการด้าน Email Marketing ส่งมาให้

1. ใช้ Bullet - เพราะคนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะอ่านโดยใช้วิธี Scan ดังนั้นการใช้ bullet เน้นหัวข้อสำคัญจะทำให้อ่านง่ายและชักชวนให้ผู้อ่านคลิ๊กอ่านต่อในส่วนที่ เราต้องการนำเสนอได้ง่ายกว่า
2. เอาไว้บนๆ - นำเรื่องหรือสิ่งที่เราต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้รู้มากที่สุดไว้ตอนบนๆของ email เพราะถ้าผู้อ่านใช้โปรแกรมอ่านเมลล์อย่างเช่น Outlook Express ฯลฯ เนื้อหา email ของเราจะอยู่ใน preview pane ถ้าหากเนื้อเรื่องตอนบนไม่ค่อยน่าสนใจ ก็มีโอกาสที่ผู้อ่านจะไม่คลิ๊กอ่านต่อOutlook Express
3. เลี่ยงการโลโก้ใหญ่ๆด้านบน - เพราะกินเนื้อที่ของเนื้อหา email ด้านล่าง
4. เลี่ยงการใช้ฟ้อนส์สีๆ- อย่างเช่นสี magenta, yellow, green เนื่องจาก Spam Filter ส่วนใหญ่มอง Email ประเภทนี้ว่าเป็น Spam ฉะนั้น ใช้สี ดำ หรือ ฟ้าดี จะดีกว่า
5. ส่งต่อให้เพื่อน - ใส่ link หรือ script สำหรับให้ผู้อ่านส่งต่อก็จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้อ่านได้มากขึ้นก็เป็นได้จ้า
Forward to your friends


3. เสนอเนื้่อหาเกี่ยวข้อง แน่ล่ะถ้าคุณส่ง email ที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง โอกาสที่ผู้รับลบ emailของคุณในครั้งหน้่าย่อมมีสูงแน่นอน แถมยังเสียภาพพจน์อีกด้วยในสายตาผู้รับ
4. ใช้ฐานข้อมูล Email ที่ทันสมัย หากคุณส่ง email ไปยังผู้รับที่ไม่มีตัวตนบ่อยครั้ง email ของคุณในครั้งหน้าก็มีโอกาสตกไปอยู่ในถัง Spam ได้เพราะ ISP หรือ ผู้ให้บริการ email จะมองว่ากำลังส่ง email ที่ผิดปกติออกไป ฉะนั้น หากคุณส่ง email ออกไปแต่ละครั้งแล้วมีผู้รับที่ไม่มีตัวตนหรือส่งแล้วเกิด Rejected Email ก็ควรลบ email นั้นออกจากระบบจะดีกว
5. ยืนยัน email ระบบการยืนยัน email เป็นเหมือนหลักประกันว่าผู้รับต้องการรับ email จากเราแน่ ๆ เพราะเมื่อผู้รับสมัครรับ email จากเรา สิ่งที่เขาต้องทำต่อไปคือการยืนยันการเป็นสมาชิก เพราะหากผู้รัีบไม่ได้ทำการยืนยันก็หมายความว่าผู้รับอาจจะไม่ต้องการรับ email จากเราจริงๆก็ได้

ทั้งหมดคือข้อแนะนำจาก Constant Contact ครับ จริง ๆแล้วจะมี 6 ข้อแต่ผมเห็นว่าข้อแนะนำที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่อิงกับระบบการส่งemail ของ Constant Contact จะมีอยู่ 5 ข้อจึงนำมาลงเพียง 5 ข้อ วิธีการทั้ง 5 นั้นผมว่าเป็นลดโอกาสของจำนวน email ที่ตกจะในถัง Spam แต่ก็ไม่รับประกันว่าทุก Email ที่ส่งออกไปจะไม่ตกลงในถัง Spam อย่างไรก็ตามครับ หากสามารถลดจำนวน emailที่มีแนวโน้มจะตกในถังสแปมก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการเปิด email ของเราโดยผู้รับใช่มั้ยครับ สำหรับพวกที่ส่ง email แบบผู้รับไม่ยินยอมหรือไปซื้อ email มาจากที่ ๆ เราก็ไม่รู้ว่าผูู้็ขายเอา email มาจา่กไหน ก็ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า email ของคุณมีโอกาสอยู่ใน Spam Box หรือโอกาสเผลอหน้าใน Inbox ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมกว่าเรากลับมาที่การทำ e-Marketing Marketing แบบเทพจะดีกว่าครับ ในระยะยาวคุณจะสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า


ปัญหาทุกวันนี้ของนักกา่รตลาดที่ใช้ email ในการทำ e-marketing campaigns ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้ email ที่เราส่งไปนั้นไม่ตกอยู่ในถัง spam หรือโดนลบไปจาก Inbox ก่อนที่ผู้รับจะเปิดอ่าน

จากการศึกษาของ Returnpath ผู้ให้บริการคำปรึกษาและวิจัยเรื่อง email marketing ได้ทำการสำรวจเรื่องของ email Spam พบว่ากว่า 44 % ของผู้รับจะไ้ด้รับ Junk email จากผู้ส่งที่ตนเองรู้จัก และยังสำรวจพบอีกว่า่ 55% ของผู้รับจะลบ email ที่ไม่ต้องการทิ้ง อีก 27 % จะืทำการกำหนดให้email ที่ไม่ต้องการนั้นเป็น Spam (mark or Report as spam) จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้รับจะยินดีที่จะรับ email จากเราแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า email ที่เราส่งออกไปจะไม่ตกอยู่ใน Spambox หรือโดนลบทิ้งเพราะเป็น email ที่ไม่ต้องการ

Constant Contact ผู้ให้บริการโปรแกรมส่ง email แบบ online ได้ให้ข้อแนะนำในการลดปัญหาการตกถัง Spam ของ email ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

1. ใช้ชื่อที่มักจะรู้จักกันดีทั่วไปในการส่ง email ในช่อง from (from name)เช่น ชื่อของบริษัทคุณเอง ซึ่งแน่ล่ะ domain name หลัง @ ก็ควรจะเป็นdomain name ของบริษัท ฯลฯ เพราะ บริการ email ส่วนใหญ่เช่น yahoo, hotmail หรือผู้ให้บริการ email ที่มีชื่อเสียง จะใช้ความมีชื่อเสียงของบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสินว่า email นั้นเป็น Spam หรือไม่
2. ใช้ Subject หรือชื่อเรื่ิองที่ชัดเจน บอกได้ทันทีว่า email ของท่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ” How to guide for decorating your house “, “เที่ยวเหนือในราคา…. บาทผ่านบัตรเครดิต…ยี่ห้อ…” จะเห็นว่า หัวเรื่องแต่ละอันที่ยกมานั้นบอกชัดว่าเราจะได้อ่านเรื่องอะไรเมื่อเปิด email


ในช่วงฤดูร้อนปี 2550 ครั้งนั้น Yahoo พยายามที่จะขอซื้อ facebook ด้วยวงเงินจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายงานว่ามาร์คได้ทำการตกลงกันด้วยวาจาไปแล้วด้วยว่า จะยอมขาย facebook ให้กับ Yahoo และเพียงแค่สองสามวันถัดมา หุ้นของ Yahoo ก็ได้พุ่งขึ้นสูงเลยทีเดียว แต่ว่าข้อเสนอซื้อได้ถูกต่อรองเหลือเพียงแค่ 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้มาร์คปฎิเสธข้อเสนอนั้นทันที ภายหลังต่อมา ทาง Yahoo ได้ลองเสนอขึ้นไปที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกครั้ง คราวนี้มาร์คปฎิเสธ Yahoo ทันที และได้รับชื่อเสียงในทางไม่ดีว่า ทำธุรกิจเป็นเด็กฯ ไปในทันที นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มาร์คปฎิเสธขอเสนอซื้อบริษัท เพราะเคยมีบริษัท Viacom ได้เคยลองเสนอซื้อ facebook ด้วยวงเงิน 750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูกปฎิเสธไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2550

มีข่าวอีกกระแสหนึ่งที่ไม่ค่อยดีสำหรับ facebook ที่ได้มีการโต้เถียงกันอย่างหนัก กับ Social Network ที่ชื่อ ConnectU โดยผู้ก่อตั้ง ConnectU ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กที่ฮาเวิร์ด ได้กล่าวหาว่ามาร์คได้ขโมยตัว source code สำหรับ facebook ไปจากตน โดยกรณีนี้ได้มีเรื่องมีราวไปถึงชั้นศาล และตอนนี้ได้แก้ไขข้อพิพาทกันไปเรียบร้อยแล้ว

ถึงแม้ว่าจะ่มีข้อพิพาทอย่างนี้เกิดขึ้น การเติบโตของ facebook ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ในฤดูใบไม่ร่วงปี 2551 facebook มีสมาชิกที่มาสมัครใหม่มากกว่า 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่วันละ 200,000 คน ซึ่งรวมกันแล้วทำให้ facebook มีสมาชิกมากถึง 50 ล้านคน โดย facebook มียอดผู้เข้าชมเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน จากวันแรกที่ facebook เป็น social network ของนักศึกษามหาวิทยาลัย จนวันนี้ สมาชิกของ facebook 11% มีอายุมากกว่า 35 ปี และสมาชิกที่มีอายุมากกว่า 30 ปีก็เข้ามาสมัครใช้ facebook กันเยอะมาก นอกเหนือจากนี้ facebook ยังเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ในตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดย 15% ของสมาชิก เป็นคนที่อยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งมีรายงานออกมาด้วยว่า ค่าเฉลี่ยของสมาชิกที่มาใช้งาน facebook นั้ินอยู่ที่ 19 นาทีต่อวันต่อคน โดย facebook ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกาและเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้อัพโหลดรูปภาพสูงที่สุดด้วยจำนวน 4 หมื่นหนึ่งพันล้านรูป

จากจำนวนสถิติเหล่านี้ ไมโครซอฟต์ได้ร่วมลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกกับหุ้นจำนวน 1.6 % ในเดือนตุลาคม 2551 ทำให้มูลค่ารวมของ facebook มีมากกว่า 15,000 ล้านบาท และทำให้ facebook เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 5 ในหมู่บริษัทอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ารายรับต่อปีเพียงแค่ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หลายฝ่ายได้อธิบายว่า การตัดสินใจของไมโครซอฟต์ในครั้งนี้ทำเพียงเพื่อที่จะเอาชนะ Google ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่จะขอซื้อ facebook ในครั้งเดียวกันนั้น

คู่แข่งของ facebook ก็คือ MySpace, Bebo, Friendster, LinkedIn, Tagged, Hi5, Piczo, และ Open Social

ที่มา : เก่งดอทคอม


เมื่อประสบความสำเร็จขนาดนี้ ทั้งมาร์ค ดัสติน และ ฮิวจ์ ได้ย้ายออกไปที่ Palo Alto ในช่วงฤดูร้อนและไปขอแบ่งเช่าอพาร์ทเมนท์ แห่งหนึ่ง หลังจากนั้นสองสัปดาห์ มาร์คได้เข้าไปคุยกับ ชอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Napster จากนั้นไม่นาน ปาร์คเกอร์ก็ย้ายเข้ามาร่วมทำงานกับมาร์คในอพาร์ตเมนท์ โดยปาร์คเกอร์ได้ช่วยแนะนำให้รู้จักกับนักลงทุนรายแรก ซึ่งก็คือ ปีเตอร์ ธีล (Peter Thiel) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Paypal และผู้บริหารของ The Founders Fund โดยปีเตอร์ได้ลงทุนใน facebook เป็นจำนวนเงิน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ

ด้วยจำนวนสมาชิกหลายล้านคน ทำให้บริษัทหลายแห่งสนใจในตัว facebook โดย friendster พยายามที่จะขอซื้อ facebook เป็นเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลางปีพ.ศ. 2548 แต่ facebook ปฎิเสธข้อเสนอไป และได้รับเงินทุนเพิ่มเติมจาก Accel Partners เป็นจำนวนอีก 12.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตอนนั้น facebook มีมูลค่าจากการประเมินอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

facebook ยังเติบโตต่อไป จนถึงเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2549 ก็ได้เปิดในโรงเรียนในระดับมัธยมปลาย เข้าร่วมใช้งานได้ และในเดือนถัดมา facebook ได้เพิ่มฟังค์ชั่นใหม่ โดยสามารถให้สมาชิก เอารูปภาพมาแบ่งปันกันได้ ซึ่งฟังชั่นนี้ได้ัรับความนิยมอย่างล้นหลาม ในฤถูใบไม้ผลิ facebook ได้รับเงินจากการลงทุนเพิ่มอีกของ Greylock Partners, Meritech Capitalพร้อมกับนักลงทุนชุดแรกคือ Accel Partners และ ปีเตอร์ ธีล เป็นจำนวนเงินถึง 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการประเมินมูลค่าในตอนนั้นเป็น 525 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น facebook ได้เปิดให้องค์กรธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใช้งาน facebook และสร้าง network ต่าง ๆ ได้ ซึ่งในที่สุดก็องค์กรธุรกิจกว่า 20,000 แห่งได้เข้ามาใช้งาน และสุดท้ายในปีพ.ศ. 2550 facebook ก็ได้เปิดให้ทุกคนที่มีอีเมล์ ได้เข้าใช้งาน ซึ่งเป็นยุคที่คนทั่วไป ไม่ว่าเป็นใครก็สามารถเข้าไปใช้งาน facebook ได้เพียงแค่คุณมีอีเมล์เท่านั้น

ที่มา : เก่งดอทคอม


หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อ facebook ว่าเป็น social network ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งถ้าในต่างประเทศ ความยิ่งใหญ่ของ facebook มีมากกว่า Hi5 เสียอีก แต่ในประเทศไทยของเรา Hi5 ยังครองความเป็นเจ้าในด้าน social network ในหมู่คนไทย แต่อย่างไรก็ตาม เราลองมาดูประวัติของ facebook กันดีกว่า ว่าเป็นอย่างไร

ประวัติ facebook

facebook-logoเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2548 Mark Zuckerburg ได้เปิดตัวเว็บไซต์ facebook ซึ่งเป็นเว็บประเภท social network ที่ตอนนั้น เปิดให้เข้าใช้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเท่านั้น และเว็บนี้ก็ดังขึ้นมาในชั่วพริบตา เพราะแค่เพียงเปิดตัวได้สองสัปดาห์ ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ก็สมัครเป็นสมาชิก facebook เพื่อเข้าใช้งานกันอย่างล้นหลาม และเมื่อทราบข่าวนี้ มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเขตบอสตั้นก็เริ่มมีความต้องการ และอยากขอเข้าใช้งาน facebook บ้างเหมือนกัน มาร์คจึงได้ชักชวนเพื่อของเค้าที่ชื่อ Dustin Moskowitz และ Christ Hughes เพื่อช่วยกันสร้าง facebook และเพียงระยะเวลา 4 เดือนหลังจากนั้น facebook จึงได้เพิ่มรายชื่อและสมาชิกของมหาวิทยาลัยอีก 30 กว่าแห่ง

ไอเดียเริ่มแรกในการตั้งชื่อ facebook นั้นมาจากโรงเรียนเก่าในระดับมัธยมปลายของมาร์ค ที่ชื่อฟิลิปส์ เอ็กเซเตอร์ อะคาเดมี่ โดยที่โรงเรียนนี้ จะมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มที่ชื่อว่า The Exeter Face Book ซึ่งจะส่งต่อ ๆ กันไปให้นักเรียนคนอื่น ๆ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน ซึ่ง face book นี้จริง ๆ แล้วก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น จนเมื่อวันหนึ่ง มาร์คได้เปลี่ยนแปลงและนำมันเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต

ที่มา : เก่งดอทคอม


Social Media คือเครื่องมือ หรือเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ที่นักท่องเว็บและบริษัทต่าง ๆ เข้าไปเพื่อทำการสื่อสาร รวบรวมข้อมูล และแม้กระทั่งไปร่วมมือกันกับคนในชุมชนนั้น ๆ ทำงานบางสิ่งบางอย่าง โดยเมื่อเราพูดถึง Social Media เรามักจะรวมถึงเครื่องมืออย่างเช่น

* blog
* podcast
* เว็บประเภท Video Sharing เช่น YouTube
* เว็บประเภท Social Network เช่น Facebook, Hi5
* เว็บประเภท micro blog เช่น Twitter
* เว็บประเภทอัลบั้มรูปภาพอย่างเช่น Flickr
* เว็บ bookmark ต่าง ๆ เช่น Digg, Stumble Upon

หรือแม้กระทั่งเว็บอื่น ๆ ที่คุณสามารถมีปฎิสัมพันธ์ หรือแบ่งปันบางสิ่งบางอย่าง กับนักท่องเว็บคนอื่น ๆ ได้อย่างทันทีทันใด

ที่มา : เก่งดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home