A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


เรื่องการทำ blog แล้วให้มีรายได้แบบ passive income คือทำไว้ครั้งเดียว แล้วก็มีรายได้เข้ามาตลอด มีผู้ทำเว็บ หรือ blog แล้วก็จะมีรายได้เข้ามาเป็นล้าน ๆ บาทนั่นสามารถทำได้จริง แต่บางคนนั่นไม่รู้จะหาวิธีเริ่มต้นยังไง ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอย่างไร

ผมเองคิดว่า การเปิดเว็บ แล้วมีรายได้จาก google adsense หรือจากทางอื่นที่เข้ามาทางเว็บ แล้วมีรายได้เป็นล้านบาทนั้น สามารถทำได้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นมาในชั่วเวลาแป๊บเดียว การทำ blog หรือเว็บให้มีรายได้แบบนั้นต้อง ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความขยันของคุณ ผมคงไม่มาสอนเรื่องการโกงต่าง ๆ ที่สามารถทำเงินได้ภายในเวลาแป๊บเดียว แต่ที่ผมจะสอนนี้ เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการรู้ว่า เราสามารถทำรายได้จากการเขียน blog ได้อย่างไรบ้าง
โดยผมจะทำเป็นตัวอย่าง และให้คุณได้เรียนรู้จากของจริงว่า ที่ผมทำไปในแต่ละวันนั้น ทำอะไรไปบ้าง เขียนบ่อยแค่ไหน กลยุทธการโปรโมททำอย่างไร เรียกได้ว่า จะสอนกันตั้งแต่เริ่มต้น และผมเองก็ทำเป็นตัวอย่าง ให้ดูควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

โดยใครที่ต้องการหัดทำ blog และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน อยากให้ลองเตรียมสิ่งเหล่านี้ก่อนครับ

1. ฝึกการเขียนภาษาอังกฤษ เดี๋ยวเราจะหารายได้กันแบบโกอินเตอร์ เพราะรายได้จากเว็บภาษาไทย มันค่อนข้างน้อย หากเว็บเรายังไม่ดังจริง ๆ ดังนั้น เราจะเริ่มหาเงินกันด้วยการเขียน blog เป็นภาษาอังกฤษครับ

2. ใครที่ยังไม่มี blog ก็ให้หาบริการ blog แบบที่สามารถปรับแต่งดีไซน์ของ blog ได้ด้วยนะครับ เพราะว่าเราจำเป็นต้องใส่โฆษณาเข้าไปใน blog ได้ด้วยตัวเองด้วย

3. การทำ blog หาเงินนี้เป็นแผนระยะยาว ใครคิดรวยทางลัด ไม่ต้องทำตามนะครับ หากใครอยากได้รายได้แบบยิ่งนานยิ่งมากขึ้น ก็รีบเตรียมตัวให้พร้อมครับ สำหรับการทำ blog เพื่อหาเงินครั้งนี้ ผมแนะนำให้จดโดเมนเป็น ของตัวเอง และเ้ช่า server ให้เป็นจริงเป็นจัง เรียกได้ว่า ให้ blog นี้เป็นของคุณ 100% เลยครับ ถ้าย้าย server เราก็ยังสามารถเอา blog ของเราหนีตามกันมาได้ เหตุผมที่ต้องทำแบบนี้ เพราะว่า หากเราใช้ blog ฟรีอย่างเช่น blogspot พอเราทำไปนาน ๆ เวลาโปรโมท blog ไปเยอะ ๆ แล้ว blog เราก็จะมีคนเข้ามาเยอะ จากทาง search engine แล้ว พอเราย้ายไปเป็นของโดเมนตัวเองเมื่อไหร่ เจ้า url ของเราที่อยู่กับ blogspot นั้นไม่ได้ย้ายตามมากับเราด้วย เราอาจจะต้องมานั่งโปรโมทด้วยการทำ SEO ใหม่อีกครั้งครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมว่าคำถามข้อนี้ คงเป็นคำถามที่คาใจหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งจะรู้จักคำว่า Blog บางครั้งมือเก่า ๆ ที่เขียน Blog มาบ้างแล้ว มาได้ยินคำถามนี้ อาจจะหันกลับมาถามตัวเองด้วยก็ได้ว่า อืม ใช่! แล้ว blog มันต่างจากเว็บไซต์ยังไงบ้างล่ะ

ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์

สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ครับ

1. มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2. บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ เช่น ลองอ่านบทความนี้ดูครับ มันจะเหมือนว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ ใช่ไหมครับ นี่คือที่เราเรียกว่ามีความเป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนากันอยู่ไงครับ
3. ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4. อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5. Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)

ที่มา : เก่งดอทคอม


(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)
2. Google Analytics

สำหรับตัววัดสถิติจาก Google Analytics นั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ต้องของ invite เพื่อเปิดใช้บริการเท่าัึนั้น แต่ปัจจุบันเปิดให้บริการฟรีแก่บุคคลทั่วไปแล้ว มีเงื่อนไขแค่ว่า ให้ใช้ฟรี ถ้าเว็บเรามีคนเข้าน้อยกว่า 5 ล้าน page view ต่อเดือน แต่ถ้าเกินกว่านั้น เราต้องเป็นสมาชิก Google Adwords (ซื้อโฆษณาใน Google) อย่างน้อย 1 บัญชี

ข้อดีของ Google Analytics คือ สถิติที่ได้ เป็นสวรรค์ของเจ้าของเว็บ และนักการตลาด ผมเองยังแนะนำให้ลูกค้าที่มาทำเว็บกับบริษัทของเรา ใช้ Google Analytics เลยครับ เพราะข้อมูลให้รายละเอียดเชิงลึกมาก ๆ เหมาะกับการเอามาใช้วิเคราะห์ แผนการโปรโมทเว็บได้ดีมาก

จุดเด่นของเรื่องโค๊ดสถิติคือ เมื่อเอาโค๊ดมาใส่แล้ว จะไม่มีอะไรมาแสดงที่หน้าเว็บเราเลย (invisible) ไม่ต้องมีแท่งกราฟอะไรมาให้เกะกะสายตา ดูเป็นมืออาชีพมาก

ข้อด้อยคือ ไม่มีใครรู้สถิติของเรา เอาไปจัดอันดับกับใครก็ไม่ได้

3. ExtremeTracking

ตัววัดสถิติสัญชาติเยอรมัน อีกตัวหนึ่งที่ผมใช้ค่อนข้างบ่อย ในยามที่เป็นเว็บเปิดใหม่ หลังจากที่ truehits ไม่เิปิดให้เราใช้ฟรีแล้ว สำหรับตัว Extreme Tracking นี้ เป็นบริการสถิติฟรี ที่ให้รายละเอียดเยอะมาก โดยถ้าเทียบกับตัวฟรีของ TrueHits แล้ว เรียกได้ว่า Extreme Tracking กินขาด

สำหรับตัวโค๊ดสถิติ จะมีรูปกราฟฟิคโผล่ที่หน้าเว็บเราด้วย อันใหญ่ เกะกะ ผมไม่ค่อยชอบกราฟฟิคนี้ แถมย่อรูปก็ไม่ได้อีก เดี๋ยวโดนแบน ผมเลยใช้เฉพาะบาง blog เช่นที่ Vinegar Girl เป็นต้น

ข้อดีที่ผมชอบคือ สถิติค่อนข้างละเอียด และไม่ต้อง login ในการดู คือคลิกที่รูปกราฟฟิค แล้วก็เห็นสถิติได้เลย ที่สำคัญคือฟรี

ข้อเสีย ตัวกราฟฟิคที่แสดงในหน้าเว็บเรา ค่อนข้างใหญ่เกะกะ

ที่มา : เก่งดอทคอม


(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)
blog ก็เป็นเว็บไซต์ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้นการตรวจวัดสถิติ เพื่อทำการวิเคราะห์ยอดคนดูเว็บ ก็ใช้ระบบสถิติเว็บได้เช่นกัน ผมเลยอยากจะแนะนำตัววัดสถิติ ที่ผมใช้อยู่ตาม blog ต่าง ๆ ของผมให้ท่านผู้อ่าน ได้ลองเอาไปใช้กัน ผมเองใช้อยู่แค่ 3 ยี่ห้อนี้ไม่เปลี่ยนใจมาหลายปี

1. TrueHits

อันดับแรก ต้อง TrueHits ของไทยแท้ ๆ ให้บริการโดย สบทร. แต่ก่อนเคยเปิดให้บริการฟรี แต่เดี๋ยวนี้ไม่เปิดให้สมัครฟรีแล้ว โดยเปิดให้ใช้งานเฉพาะผู้สนับสนุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยราคาผู้สนับสนุนเริ่มต้นที่ปีละ 1,800 บาท โดยข้อดีของ TrueHits ก็คือได้มีการจัดอันดับเว็บไทย ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับเว็บไทยอื่น ๆ ซึ่งเอเจนซี่ที่ซื้อโฆษณาตามเว็บ ส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูลจาก TrueHits มาเป็นมาตรฐานในการวัด ดังนั้นหากเราคิดว่า blog ของเราต้องการผงาด ขึ้นมาแข่งขันกับเว็บอื่น ๆ เพื่อให้ติดตาเอเจนซี่ หรือผู้ซื้อโฆษณา ผมแนะนำให้ใช้บริการกับ TrueHits ครับ

แต่ TrueHits ก็มีข้อด้อยที่ผมไม่ค่อยชอบก็คือ ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ค่อนข้างให้ข้อมูลแบบกั๊ก ๆ โดยเฉพาะข้อมูลเว็บไซต์ที่มีคนคลิกมาหาเรา หรือที่เรียกว่า Referer นั้น ใส่ url จากหน้าแรกของเว็บให้เราเท่านั้น ทั้งๆ ที่บางที มีคนคลิกมาจากหน้าข้างในลึก ๆ เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่า คนคลิกมาจากหน้าไหนบ้าง อีกจุดหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สำหรับ blog เล็ก ๆ

สำหรับโค๊ดของ TrueHits ที่เอามาติดนั้น จะมีรูปแท่งกราฟขึ้นมาโชว์อันเล็ก ๆ พอรับได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมได้มีโอกาสไป present งานเว็บให้ลูกค้าหลายท่าน บางท่านก็สนใจเรื่อง blog แต่แทบจะทุกคน สอบถามผมเรื่องถ้าเค้าทำ blog ให้ักับธุรกิจของเค้าเอง แล้วหากมีคนมาด่าทาง Comment ล่ะ จะทำยังไง คำถามนี้คงเป็นที่สงสัยของหลาย ๆ ท่านที่กำลังจะเปิด blog ของบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะภาพลักษณ์ขององค์กร มันค้ำคออยู่นั่นเอง

คำแนะนำของผมคือ เราไม่เห็นที่จะต้องกลัวเรื่องการ comment ที่มีเข้ามาเลย เพราะระบบ blog ส่วนใหญ่ สามารถตั้งระบบได้ ให้ comment ที่มีเข้ามานั้นไม่ต้องโชว์ขึ้นมาในเว็บทันที แต่ให้รอเจ้าของ blog มาอนุมัติเสียก่อนได้ เพื่อป้องกัน spam comment นั่นเอง ไม่ใช่ว่ากลัวการถูกด่า หรือคอมเม้นท์ในแง่ลบ ยิ่งถูกด่าสิยิ่งดี เราจะได้รู้ว่าเราควรจะปรับปรุงอะไร

ประโยชน์ที่เราได้จาก comment นั้นมีมากกว่าข้อเสียของมันแน่นอน ไม่อย่างนั้นบริษัทดังระดับโลก เค้าจะเปิด blog ให้คนอ่านเขียน comment ส่งเข้ามากันโครม ๆ ได้หรือ

ตัวอย่างการได้ประโยชน์จาก comment ที่มีเข้ามาก็คือ ผมเคยยิงคำถามถึงท่านผู้อ่านใน blog นี้ ว่าผมจะเขียนหนังสือ blog สักเล่มหนึ่ง อยากให้มีอะไรในนั้นได้ ผู้อ่านทั้งหลายส่ง comment เข้ามาเพียบ ทำให้ผมได้รู้ว่าทิศทางของหนังสือเล่มที่ผมกำลังจะเขียนใน ควรมุ่งไปในทิศทางใด

ผมว่าระบบ comment มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ! ชัวร์

ที่มา : เก่งดอทคอม


5. PlayPark.com
เว็บไซต์เกมส์ยังคงครองใจคนไทย โดยเว็บไซต์ PlayPark.com เข้ามาเป็นอันดับ 5 blog ใน playpark อยู่ที่หน้า mini play

4. TeeNee.com
เว็บวาไรตี้ที่เน้นเรื่องวงการบันเทิงเป็นหลัก เข้ามาเป็นอันดับที่ 4 ได้โดยไม่มี blog ให้บริการแม้แต่นิดเดียว เรียกได้ว่าเรียกคนเข้าเว็บได้ โดยใช้เรื่องราวที่คนสนใจเป็นหลัก

3. Manager.co.th
เว็บข่าว ผู้จัดการออนไลน์ ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศไทย เข้ามาเป็นอันดับสาม โดยมีบริการ Manager Blog ให้ผู่อ่านได้มาเขียน blog ของตัวเองเช่นกัน

2. Kapook.com
เว็บวาไรตี้อันดับสองของเมืองไทย มาพร้อมกับบริการ Kapook Planet ซึ่งให้บริการ blog และอัลบั้มรูปต่าง ๆ โดย kapook ได้จัดทำหน้า ranking ของส่วน blog แยกออกมาด้วย

1. Sanook.com
เว็บอันดับหนึ่งของเมืองไทยอย่าง Sanook.com ย่อมต้องไม่ตกกระแส blog อย่างแน่นอน โดย sanook เปิดให้บริการ Sanook Blog ให้กับผู้ที่สนใจด้วย

หลังจากที่เราตรวจสอบกันครบ 10 อันดับแล้ว พบว่ามีถึง 7 เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog กับผู้คนทั่วไปด้วย โดยเว็บที่ให้บริการ blog นั้นอยู่ในอันดับ 1, 2, 3, 5, 6, 7 และ 8 ตามลำดับ ส่วนอีก 3 เว็บที่ไม่ได้ให้บริการ blog นั้น เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเกมส์ และวงการบันเทิงทั้งนั้นเลย

จากการวิเคราะห์คร่าว ๆ แล้ว จะเห็นว่าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวงการบันเทิง จะมีผู้คนสนใจเยอะอยู่แล้ว แต่เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog ด้วยนั้น จะเห็นว่ามีคนเข้าชมเว็บเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะในอันดับที่ 1 – 3 ของประเทศเลยทีเดียว นั่นหมายถึงว่า ตัวเลขของนักเขียน blog ชาวไทย นั้นมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน

ที่มา : เก่งดอทคอม


เรามาดูกันดีกว่าครับว่า blog นั้นแพร่กระจายไปมากแค่ไหนแล้วในประเทศไทย เริ่มกันง่าย ๆ เรามาดูกันว่า เว็บไซต์สุดฮิต 10 อันดับแรกของไทยนั้น มีการใช้ blog มาเอี่ยวด้วยมากแค่ไหน โดยสถิติ 10 เว็บไซต์ดังของไทยนั้น ผมขอใช้อันดับจากเว็บไซต์ทรูฮิตนะครับ

10. SiamZa.com
เมื่อลองเข้าไปตรวจดูในเว็บ SiamZa.com ผมไม่พบส่วนใดที่มี blog หรือให้บริการ blog จาก siamza เลย โดยที่ใกล้เคียงที่สุดคือ มุมนักเขียน แต่ก็ยังไม่ใช่ blog อยู่ดี เพราะว่าเป็นบริการที่ดูแล้วคล้่าย ๆ กับเว็บบอร์ดเท่านั้น

9. Sf.in.th
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเกมส์ Special Force ที่ฮิตจนติดอันดับ 9 ในทรูิฮิต หลังจากที่ผมเข้าไปสำรวจ ก็ไม่พบกว่ามีการให้บริการ blog แต่อย่างใดเช่นกัน แต่ก็อย่างว่า เกมส์นี้เค้าไม่ต้องเน้นที่เว็บกันเท่าไหร่ เพราะคนส่วนใหญ่เข้าไปเล่นเกมส์กัน

8. Pantip Cafe
เว็บบอร์ดสุดเก๋าแห่งประเทศไทย อย่าง pantip.com นั้นเข้ามาเป็นอันดับแปด ถึงแม้ว่า pantip.com เองจะไม่ได้ให้บริการ blog ภายใต้ชื่อโดเมนเนม pantip.com แต่ทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่า BlogGang.com นั้นเป็นบริการ blog ภายใต้ยี่ห้อ pantip.com นั่นเอง ดังนั้น ผมขอสรุปได้ว่า pantip.com ก็ได้อานิสงค์ความฮิตของบริการเสริมอย่าง BlogGang.com นั่นเอง

7. Dek-D.com
อันดับเจ็ดคือเว็บไซต์ Dek-D.com ซึ่งเป็นเว็บวาไรตี้จับกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนนั่นเอง สำหรับเว็บ Dek-D นั้นมีบริการ Diary Online ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่า ไดอารี่ออนไลน์ก็เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ของ Blog นั่นเอง

6. Mthai.com
มองเห็นชัดเจน เพราะโผล่อยู่ในเมนูด้านบนสุด สำหรับบริการ Blog ในเว็บ MThai.com ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการหลักของ MThai ด้วยเช่นกัน

ที่มา : เก่งดอทคอม


มีรายงานจาก JupiterResearch เกี่ยวกับเรื่อง Corporate Blog มาให้ดูกันครับ

1. บริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 34% มี blog กันแล้ว และคาดว่าตัวเลขจะสูงขึ้นอีกภายในสิ้นปีนี้
2. มี 23% บอกว่ามีงบประมาณสำหรับการทำ blog ระหว่าง 10,000 – 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
3. แต่ยังมีอีก 6% บอกว่า มีงบประมาณให้เอาไปทำ blog ของบริษัทสูงถึง 5 ล้านเหรียญขึ้นไป
4. บริษัทเหล่านี้เชื่อว่า blog จะเป็นโอกาสที่จะให้บริษัท ได้ใช้กลยุทธการตลาดแบบปากต่อปาก
5. มีผู้บริหารระดับสูงใช้ blog ถึง 35% เพื่อทำการตลาดแบบปากต่อปาก ให้กับผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทตนเอง

นี่คือสถานการณ์การใช้ blog เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรธุรกิจ ของบริษัทระดับชั้นนำของโลก หันมามองในไทยกันบ้าง ผมเห็นว่าน้อย หรือแทบไม่เห็นเลย ที่บริษัทต่างๆ จะมาใช้ blog ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ ทั้งในแง่ของการทำ PR หรือการทำการตลาด

ผมเห็นว่า blog เป็นเครื่องมือทำการตลาดชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกมันได้เต็มปากว่าเป็น นิว มีเดีย แน่นอนครับ

บริษัทไหนที่อยากทำ blog ก็ขอให้รีบทำเลยครับ อย่ารีรอ เพราะว่าทำก่อน มักได้เป็นผู้นำครับ ถ้าเรามัวรอให้ blog เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากไปกว่านี้ หรือรอให้ถึงวันนั้นแล้วค่อยเริ่ม ก็จะช้าไปไม่ทันการณ์ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


blog ที่มีคุณภาพสร้างได้อย่างไร
ในส่วนนี้ อยากให้คนที่ทำ blog ลองสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง ถึงแม้ว่าฟรี articles ที่เค้ามีแจกกัน จะเอามาใช้ได้ แต่ถ้าทำเนื้อหาเอง มันจะเป็น unique content มากกว่านะครับ

สำหรับการทำ SEO นั้น คนที่ทำ SEO อย่างไร้สติ จะทำให้เนื้อหาของคุณเต็มไปด้วย keyword ที่อ่านไม่เป็นภาษาที่สละสลวย ผมเห็นคนทำ SEO ระดับมืออาชีพ เค้าไม่ spam keyword กันนะครับ ไม่ได้เอา keyword เยอะ ๆ มายัดในเนื้อหาให้อ่านไม่รู้เรื่องนะครับ ลองมองประเด็นนี้ดี ๆ คือสร้าง content ที่ดี และอ่านออกเป็นภาษามนุษย์ แล้วเดี๋ยวเรื่อง SEO มันตามมาเป็นผลพลอยได้เอง ถ้าจะตั้งใจทำเพื่อ SEO อย่าใส่ keyword จนเลอะเทอะครับ
การสร้าง blog ที่มีคุณภาพ ต้องทำการบ้านเยอะครับ หาข้อมูลเยอะ จับประเด็นออกมาเขียนให้ได้ และนอกเหนือจากการทำเนื้อหา ก็คือการจัดการ blog ของคุณให้คนอ่าน อ่านได้ง่าย อยากให้ลองเน้นว่าเราทำ blog เพื่อท่านผู้อ่าน มิใช่ทำ blog เพื่อตัวเราเองครับ

blog ไร้คุณภาพ กำลังจะตาย

ทุกวันนี้ คนที่ทำเว็บหรือ blog ขึ้นมาเพื่อติด adsense หรือที่เค้าเรียกว่า Made for adsense นั้นมีมากขึ้นทุกที ทำเอาตลาดวายไปเลย เพราะรายได้จาก adsense นั้นลดลงเรื่อยๆ ผมมั่นใจว่า google สามารถปรับปรุงระบบของตนเอง ให้รับมือกับการเจอกับ blog หรือเว็บพวก Made for Adsense ได้แน่นอน และเมื่อนั้น blog เหล่านี้ก็ต้องพับฐานไปแน่นอน และเมื่อเวลานั้นมาถึง blog ที่มีคุณภาพ ยังอยู่แน่นอน เพราะใคร ๆ ก็ชอบของที่มีคุณภาพ รวมถึง sponsor หรือผู้สนับสนุนต่าง ๆ ก็ชอบด้วย

ที่มา : เก่งดอทคอม


ทุกวันนี้ blog ต่าง ๆ ในไทย เกิดขึ้นมากมาย บ้างมีคุณภาพ บ้างก็ทำขึ้นมาเพื่อเป็น spam หรือที่เราเรียกกันว่า “Splog” แต่ผมอยากให้ทุกท่านที่มี blog แล้ว หรือที่คิดกำลังจะมี blog ว่าทำอย่างไร ให้ blog ของเราเติบโตอย่างมีคุณภาพ ถ้ายิ่งเป็นคุณภาพที่สูงด้วย จะยิ่งดีต่อ blog ของคุณเองแน่นอนครับ

ที่ผมพูดถึงประเด็นนี้ ก็เพราะว่า ทุกวันมี blog เกิดใหม่เพียบ หลาย ๆ คนเห็นว่าเขียน blog แล้วเอามาติด adsense เดี๋ยวก็ได้เงินเยอะแยะ เลยปั๊ม blog ขึ้นมากันใหญ่ บางคนใช้ฟรี articles ที่เค้ามีแจกกัน ก็คงไม่ได้ผิดกติกาอะไร แต่บางคนเล่น copy เนื้อหาของคนอื่นมาใช้กันดื้อ ๆ โอเคว่าตอนนี้ ad อย่าง google adsense กำลังมาแรงในบ้านเรา แต่ถ้ามองถึงอนาคต โลกนี้ไม่มีอะไรยั่งยืน หากเราหวังแต่เงินจาก google adsense แล้วสร้าง blog ที่ไม่มีคุณภาพขึ้นมา คุณเองจะไม่สามารถต่อสู้ในโลกธุรกิจได้ในระยะยาว

ทำไมต้องทำ blog ที่มีคุณภาพ

ถ้าคุณสร้าง blog ที่มีคุณภาพสูงออกมาแล้ว แน่นอนว่าระยะยาว ย่อมได้เปรียบคู่แข่ง ในแง่เนื้อหาของ blog ที่น่าสนใจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่คุณเสริมเข้าไป เพื่อให้ blog ของคุณน่าสนใจ เมื่อเราทำ blog ที่มีคุณภาพสูงออกมาแล้ว ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่าง google adsense หรือ การทำ seo ใน google เอง ก็ล้มเราได้ลำบาก

ลองคิดกันเล่น ๆ ว่า AIS ที่ยิ่งใหญ่ ยังมีวันแย่ได้ หรือ ไมโครซอฟต์ ยังมีคนจ้องโค่นบัลลังค์ ถ้าวันนี้เราติดอันดับต้น ๆ ใน google วันหน้าอาจไม่ใช่ เพราะคู่แข่งมากขึ้น หรือ อัลกอริธึ่มของ google อาจเปลี่ยนไปก็ได้ หรือบางที google เองอาจตกกระป๋อง เพราะ search engine อื่นมาแรงกว่า การมุ่งทำ SEO อย่างเดียว อาจไม่ใช่สิ่งสุดท้าย ที่คุณต้องทำเพื่อโปรโมท blog ของคุณ เนื้อหาที่มีคุณภาพต่างหากที่สำคัญกว่า เพราะไม่ว่าการจัดอันดับของ Search Engine จะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ถ้าคุณยังคงเนื้อหาคุณภาพสูงเอาไว้ มันไม่ใช่ประเด็นที่คุณต้องกลัวเลยว่า คนจะไม่เข้า blog ของคุณ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ด้วยความที่ blog เป็นเว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ที่มีรูปแบบการจัดเรียงลำดับบทความ ตั้งแต่บทความใหม่ล่าสุด ย้อนไปยังบทความเก่าที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป บทความดี ๆ ของคุณ อาจจะถูกเลื่อนไปเก็บไว้ยังหน้าหลัง ๆ ซึ่งผู้อ่านก็ยากที่จะไปค้นหาดู ดังนั้นมาลองดูเทคนิคต่าง ๆ ในการทำให้ผู้อ่าน เข้าถึงข้อมูลดี ๆ หรือข้อมูลที่สำคัญ ๆ ของเรากันได้ดีกว่าครับ

1. จัดหมวดหมู่ Category ให้ชัดเจน
บทความเก่ามักจะไหลย้อนกลับ เอ๊ย! มักจะถูกเก็บไปอยู่ด้านหลัง ๆ แต่หากเราจัดหมวดหมู่ของบทความ ให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ก็จะสามารถมุ่งตรงเข้าไปยัง กลุ่มบทความนั้นได้ทันที เช่นผมตั้งหมวดเทคนิคการเขียน blog เอาไว้ ผู้อ่านที่เข้ามาเว็บผม บางคนกำลังมองหาบทความต่าง ๆ ที่สอนเทคนิคในการเขียน blog ก็สามารถ เข้าไปหาบทความเหล่านั้นได้เลยครับ

2. จัดเอาบทความสำคัญมาแสดงให้เห็นเด่นชััด
ตัวอย่างง่าย ๆ ของ wittybuzz.blogspot.com ก็คือในส่วนบทความแนะนำ โดยใครจะใช้เทคนิคไหนก็ได้ ลองเอามาให้เห็นชัด ๆ จัดเรียงให้สวยงามอ่านง่าย โดยเพิ่ม category ของ link มาอีกหมวดหนึ่ง แล้วทำ link ไปยังบทความต่าง ๆ แทนที่จะ link ไปยังเว็บอื่น พอส่วนหน้าเว็บ ผมก็ดึงผลของหมวดหมู่ที่ทำไว้ ออกมาเป็น บทความแนะนำไงครับ ส่วนใครที่ใช้ blogware ยี่ห้ออื่น ๆ ลองประยุกต์เทคนิคนี้ดูครับ สำหรับตัวอย่างในข้อนี้ ลองดู problogger.net ครับ เฮียเค้าลิงค์บทความเจ๋ง ๆ ไว้หน้าแรกเลยครับ เราต้องไม่ลืมว่าคนอ่านบล็อกเรา อาจมีคนที่เพิ่งเข้ามาครั้งแรกได้ครับ

3. ทำ banner หรือ graphic ไฮไลท์บทความ
หากใครมีความสามารถทำ banner ได้สวย ๆ ลองออกแบบป้ายแบนเนอร์ หรือกราฟฟิคสวยสะดุดตา ใช้ลิงต์ไปยังบทความเด่น ๆ ของเราได้ด้วยครับ

4. ช่อง search น่ะดีมีประโยชน์
ลองขยับช่อง search ให้คนเห็นเด่นชัด เพราะคนเราเดี๋ยวนี้ เอะอะ อะไรก็ search เพราะชินกับความง่ายของช่อง search ไปซะแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามมันครับ เอาขึ้นมาอยู่ในส่วนท่อนบนเลยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


6. ทำ Tag ไปหา technorati
บล็อกเสิร์ชเอนจิ้นชื่อดังอย่าง Technorati นั้นมี pagerank ที่สูงทีเดียว ยิ่งถ้าแต่ละบทความของคุณ มีการใส่ tag ไปแจ้ง technorati ไว้ เราจะได้ผลสองทางคือ ทางตรง ได้ไปอยู่ใน technorati directory และ ทางอ้อม คือ bot ของ search engine ต่าง ๆ จะวิ่งต่อจาก technorati มาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราด้วย

7. ทำ signature ตอนตอบกระทู้ใน Web Board
เวลาไปตอบกระทู้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็อย่าลืมตั้งค่า signature ให้ลิงค์มาที่บล็อกของคุณด้วย คำแนะนำคือ ตอบกระทู้ในสิ่งที่คุณตอบได้ อย่า spam เว็บบอร์ด ให้ตอบในเรื่องที่เรารู้จริง จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้บล็อกของเราได้อีกด้วย ลองแวะไปที่เว็บบอร์ดสำหรับชาวบล็อกอย่าง Blogger Talk ก่อนได้

8. ใช้ Social Bookmark
ในยุค web 2.0 อย่างตอนนี้ ลองใช้ประโยชน์จากเว็บพวก social bookmark ให้เกิดประโยชน์ ถ้าบทความในบล็อกของเรา ได้ไป link อยู่ในเว็บเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่ม traffic และเพิ่ม link popularity ไปในตัว ลองดูเว็บอย่าง del.icio.us หรือ digg แต่ถ้าหากเป็นของไทย ลองแวะไปที่ Zickr

9. Ping ไปที่ Blog Search Engine
ถ้าระบบบล็อกของคุณเป็นโปรแกรมอย่างพวก WordPress หรือ MovableType คุณก็จะสามารถตั้งค่าของโปรแกรมให้ทำการ ping บทความหรือบล็อกของคุณ เข้าสู่ Blog Search Engine ในทุก ๆ ครั้งที่คุณอัพเดทบล็อกโดยอัตโนมัติ ลองดู ping list ที่นี่ดูครับ หรือถ้าหากใครตั้งค่า ping ไม่เป็น ลองดูวิธีที่ผมเคยเขียน วิธีการ ping ของ WordPress ไว้นะครับ

10. เขียนบทความให้เว็บอื่นหรือบล็อกอื่นๆ
หลายแห่งเปิดให้เราได้แสดงความสามารถ หรือเขียนบทความที่มีประโยชน์ ต่อกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ หรือบล็อกของเค้า และส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราเขียนเรื่องส่งไป เราจะได้ credit เล็ก ๆ ก็คือ link กลับมาหาบล็อกของเรา

ที่มา : เก่งดอทคอม


การเพิ่มจำนวน Link Popularity เป็นอีกวิธีหนึ่งในกระบวนการทำ SEO ให้กับบล็อกของคุณ นอกเหนือจากการเพิ่ม Link Popularity แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาส ที่คนจะเข้ามาอ่านบล็อกของคุณมากขึ้นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบล็อก ลองดู 10 เทคนิคการสร้าง Link Popularity ให้กับบล็อกของคุณกันดูดีกว่าครับ รับรองว่าสิ่งเหล่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยากเลยครับ

1. Link ไปหาบล็อกอื่น
วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือทำ link ไปหาบล็อกอื่น ๆ ที่คุณสนใจก่อนเลย นักเขียนบล็อกหลาย ๆ ท่านมักะใจจดใจจ่อ อยู่ตลอดอยู่แล้วว่า จะมีใครทำ link มาหาบ้าง เมื่อคุณลิงค์ไปหาเค้าก่อน คุณก็อาจจะได้เป็นจุดสนใจ ทำให้เจ้าของบล็อกนั้น ๆ รู้จักบล็อกของคุณ คราวนี้แหละครับ ถ้าบล็อกเราดีจริง เค้าก็คงไม่รังเกียจที่จะทำ link มาหาเราแน่นอนครับ หรือถ้าให้ชัวร์ หลังจากที่คุณทำลิงค์ไปหาบล็อกอื่นแล้ว ลองเมล์ไปบอกเจ้าของบล็อกเค้าด้วยก็ดีครับ ว่าเราทำลิงค์ไปหาแล้วนะครับ

2. ไป Comment ที่บล็อกคนอื่นบ้าง
เวลาเราไปอ่านบล็อกคนอื่น ก็ไปเขียนคอมเม้นต์ไว้บ้างนะครับ มีคำแนะนำนิดนึงว่า อย่าไป spam comment เค้านะครับ เพราะขนาดเราเองยังรำคาญเวลามีคนมา spam comment ของเรา ใจเขาใจเราครับ ( เพิ่มเติมครับ ตอนนี้ในส่วน comment ของระบบ blog อย่าง wordpress มักจะมีแท็ก no follow ครอบอยู่ ทำให้ไม่สามารถช่วยในเรื่อง link popularity ได้แล้วนะครับ คงได้ประโยชน์คือให้เจ้าของบล็อก รู้จักบล็อกเราเท่านั้ัน)

3. Submit บล็อกเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ
ข้อนี้ต้องขยันนิดนึง เพราะคุณต้อง submit บล็อกของเราเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของบล็อกก็คือ คุณสามารถโปรโมทบล็อกไปสู่ search engine ของเว็บได้ และยังโปรโมทไปสู่ search engine เฉพาะทางเช่นพวก Blog Search Engine ได้อีกด้วย

4. ออกแบบบล็อกให้ดูดีสวยงาม
ถ้าคุณออกแบบบล็อกให้สวย ๆ หรือมีดีไซน์ที่โดดเด่นสะดุดตา คุณก็มีโอกาสที่จะโปรโมทเว็บของคุณที่ Rookienet หรือเว็บที่พูดคุยถึงเรื่องการดีไซน์เว็บ เป็นต้น

5. ใช้ CSS ในการออกแบบบล็อก
หากดีไซน์สวยแล้ว ยิ่งใช้ css ในการ coding เข้าไปอีก โอกาสยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะคุณจะมีโอกาสได้โปรโมทไปสู่ระดับโลก เช่นเว็บ CSSvault ซึ่งถ้าคุณออกแบบสวยและใช้ CSS คุณก็สามารถส่งบล็อกของคุณ เข้าไปให้เค้าพิจารณาได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์
ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของคุณ แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูครับว่า ถ้าวันใดที่คุณมีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่คุณต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่คุณเคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว

6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก คุณอาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อคุณเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ ของคุณเช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คนนะครับ ว่าคุณสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเองดูีครับ

7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ (มั่วจริง ๆ เลยผม) ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ ดูนะครับ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งทกินทรัพยากรของระบบ และบล็อกของคุณมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพดังนี้ครับ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองดูเป็น gif นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ถ้าต้องการสร้างบล็อกให้เป็นอย่างมืออาชีพ คุณต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจในสิ่งเหล่านี้ครับ

1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blog
ลองสังเกตดูง่าย ๆ ครับ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อก
ก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทาง ของเนื้อหาในบล็อกดูก่อนครับ ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกไงครับ เช่น บล็อกของ wittybuzz.blogspot.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นผมวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง “blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ผมเขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อกครับ

3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเอง
เนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผุ้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วยนะครับ ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย

4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามา
บล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์ จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันคุณควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ครับ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวัน เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home