A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


ผลก็คือ สรุปยอดขายประจำวันนี้ดังนี้ครับ
จำนวนคนที่คลิกเข้ามา = 26 คลิก (ไม่ต้องสงสัยว่ามาได้ไงตั้ง 26 คลิกหนะครับ เพราะผมทำ aStore + SEO ด้วยเลยอาจมีมาจากส่วนนั้นด้วย)
จำนวนออเดอร์ = 5 ออเดอร์ (โอ่ว..แม่เจ้างานนี้ผมดีใจสุด ๆ ) โดยผมเองก็ทำการเช็คว่ามาจากไหนบ้าออเดอร์ที่ว่านี้ ก็เห็นมีมาจาก aStore 1 ออเดอร์ครับของแพงซะด้วยซิ อือ..) แล้วที่เหลือก็มาจากโฆษณาของผมนั่นเอง รวมทุกออเดอร์วันนี้ผมขายของได้ $1,235.95 ทำให้ผมได้ค่าคอมฯ รวมกันเท่ากับ $50 ในวันนี้

อือ..ผมเริ่มมีกำลังใจมากขึ้นเมื่อเห็นยอดขาย และ คำนวนออกมาเป็นค่าคอมฯ คร่าว ๆ แล้วได้ประมาณ $50 โดยในวันที่หนึ่งนั้น ผมโฆษณาไปเสียค่าคลิกเพียงแค่ $2.38 เท่านั้นเอง ไม่น่าเชื่อจริง ๆ แต่ผมก็คิดเอาไว้ในใจว่าอาจเป็นอะไรที่ฟลุคก็ได้ เพราะว่าคงจะเป็นช่วงที่คนต้องการซื้อจริง ๆ ตัดสินใจซื้อแล้วมาเจอโฆษณาของผมก็เลยซื้อไป ก็มารอดูในวันที่สองครับวันนี้ผม เพิ่มเงินประจำวันเป็น $4 ครับเพื่อต้องการคลิกเพิ่มขึ้นนั่นเอง ส่วนสินค้าตัวที่สองก็รอเอาไว้ก่อนเพื่อต้องการลดความเสี่ยงในการโฆษณาลง นั่นเอง

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


วันที่สอง
เช้ามาผมก็เข้าไปตรวจดูจำนวนคลิกว่าจะมีสักกี่คลิกกันหว่า ? โดยเข้าไปที่ Google Adwords แล้วก็ไปดูย้อนหลังของเมื่อวานจะเห็นคลิกและ Imp ขึ้นมาให้เห็นปรากฏว่าผมได้คลิกมา 13 คลิกด้วยกัน นั่นหลายท่าน งง กันไปใหญ่เลยหละซิเนี่ยเพราะตอนแรกผมบอกว่ามันน่าจะประมาณ 4 คลิกเท่านั้นเองจริง ๆ แล้วไม่ใช่ครับผมเข้าไปดูในส่วนของโฆษณาผลปรากฏว่า CTR 63% โดยประมาณ “โอ้ว………ยอดเยี่ยมจริง ๆ ” ผมก็เข้าไปดูในส่วนของ Keyword ผลก็คือมี 3 Keyword ที่ผมได้ 100% เพราะมีการค้นหาแค่ตัวละ 2-3 Imp แต่ได้คลิกทุกครั้งเลย แสดงให้เห็นว่าการเขียนโฆษณาของผมน่าสนใจดีทีเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขายได้หนะครับ ต้องไปดูออเดอร์ ตอนค่ำของวันที่สองนี้แหละ

พอเวลาประมาณ 21:00 น. บ้านเราผมก็เข้าไปที่ A/C ผมใน amazon.com เพื่อทำการตรวจดูว่าเมื่อวานนี้นั้นผมขายสินค้าได้หรือไม่ ลุ้นหน้าดูครับตอนนี้ได้แต่ภาวนาว่าขอให้ได้สักออเดอร์เถอะน่าจะได้สบายใจ หน่อย

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


เมื่อเสร็จทุกขั้นตอนแล้วผมเองก็ จะเข้าไปเขียนโฆษณาใน Google Adwords กันหละทีนี้ก็ทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบไปเรื่อย ๆ จนมาถึงขั้นตอนการกำหนดค่าบิด และ จำนวนเงินที่เราต้องการโฆษณาประจำวัน ผมกำหนดไว้ที่ $2 ต่อวัน หลายท่านคงคิดว่าได้แค่ 4 คลิกเท่านั้นเองนี่หน่า ถูกต้องแล้วครับผมต้องการทดสอบ ก็กำหนดให้น้อยลงหน่อยเพื่อป้องกันตัวครับ ถ้าได้ผลค่อยว่ากันครับ ระยะเวลาทดสอบนี้ผมใช้ 5 วันทำการทดสอบโดยเขียนเป็นแฟมมาเลยครับ แล้วก็มีการบันทึกข้อมูลต่างๆ เอาไว้เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

หลังจากเสร็จสิ้นการเขียนโฆษณาและการกำหนด Keyword แล้วผมก็เข้าไปกำหนดรูปแบบการโฆษณาโดยไปเอาโฆษณาแบบ Net Work ออกเพื่อลดอัตรา Imp ของคำค้นหานั้น ๆ แล้วก็ไปหาสินค้าใหม่มาเตรียมเอาไว้อีกตัว เพื่อทดสอบในช่วงหลังโฆษณาตัวนี้ออนไลน์แล้ว โดยปกติทาง Google Adwords จะปล่อยโฆษณาของเราในครั้งแรกที่ประมาณ 3 ชั่วโมงเมื่อเขียนเสร็จแล้ว

จากนั้นก็รอดูผลครับ 5 ชั่วโมงผ่านไปยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ไม่ต้องตกใจหนะครับ เพราะอาจยังไม่มีคนค้นหาด้วย keyword ของเราก็ได้ครับ ผ่านไปประมาณ 7 ชั่วโมงเริ่มมี Imp เกิดขึ้นแล้วหนะครับทำให้ผมทราบได้ทันทีว่า Keyword ไหนอยู่อันดับที่เท่าไหร่ทันที เพื่อช่วยให้การปรับบิด หรือ อะไรต่าง ๆ นั้นเริ่มเป็นจริงมากขึ้น ผมก็ได้ค่าเฉลี่ยของอันดับการค้นหาที่ 4-6 โดยประมาณก็ไม่มากแล้วก็ไม่น้อยเกินไปครับถือว่าเหมาะสมดี เมื่อทราบอันดับต่าง ๆ แล้วผมก็จะรอคลิกดูว่าจะมีประมาณเท่าไหร่ ? จะได้ค่า CTR มากน้อยแค่ไหนเพื่อเป็นการประเมินคำโฆษณาของเราครับ

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Keywords ที่ใช้เพื่อเข้ามาซื้อสินค้า คือ Keyword ที่ผมต้องการซื้อสินค้านั้น ๆ แล้วผมก็เอามาค้นหา ซึ่งบางครั้งอาจไม่พบสินค้านั้น ๆ โฆษณาอยู่แต่ผมก็จะเห็นสินค้าและบริการนั้น ๆ จากการบันทึกของ Search Engine ผ่านหน้า Results การค้นหา ถ้าคุณเจอแบบว่าง ๆ แบบนี้ให้คุณดีใจไปได้เลยว่ายังไม่มีคนโฆษณา แต่อย่าดีใจเกินไปหนะครับ เพราะในบางประเทศนั้นอาจมีคนโฆษณาอย่างล้นหลามก็ได้ ประเทศไทยอาจไม่มีเพราะ ไม่มีคนซื้อ หรือ ซื้อก็น้อยมากนั่นเอง

Keywords ที่ใช้ค้นหาเพื่อดูว่าสินค้านั้นคืออะไร ? คือ Keywords ที่ผมเองใช้สำหรับต้องการทราบรายละเอียดข้อมูลสินค้าต่าง ๆ เพื่อเป็นความรู้ Keywords ประเภทนี้ผมเองไม่ต้องการซื้อสินค้าจริง ๆ แต่ก็อาจมีโอกาสซื้อ ถ้าสินค้านั้น ๆ น่าสนใจปกติจะอยู่ที่ 0.01% เท่านั้นเองครับ

คงพอเข้าใจตรงกันแล้วหนะครับ เมื่อผมได้ Keyword ที่ต้องการมาแล้ว ผมก็มาคิดคำพูดสำหรับโฆษณา นั้น ๆ ซึ่งต้องสั้น ๆ และได้ความรู้สึกสนใจ รวมไปถึงมีความกลมกลืนกับ Keyword ที่ผมมีอยู่ด้วย เมื่อผมคิดได้แล้ว ผมก็เอาสินค้าดังกล่าวไปโฆษณา โดยในวันแรกมีคำค้นหาเพียง 17 คำเท่านั้น สิ่งที่ผมได้เห็นก็คือว่า ค่า Bid ครับจากตอนแรกผมลองทำการ ค้นหาด้วย Keyword ที่ผมคิดว่าจะค้นหาเพื่อซื้อสินค้า ไม่มีโฆษณาเลยแต่ค่าบิดสูงถึง $0.50 ต่อคลิกเลยทีเดียว จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพราะว่าในช่วงที่ผมลองค้นหานั้น ระบบของ Google อาจจะหยุดการโฆษณาชั่วคราวก็ได้ (อันนี้ผมคิดเองหนะครับ) ผมก็บิดเข้าไปที่ $0.53 ต่อคลิกคืออย่าให้โฆษณาของผมนั้นได้อันดับที่ดีหน่อยนั่นเอง

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


วันที่หนึ่ง
ผมเข้าไปยังเว็บไซต์ของ amazon.com แล้วก็ลองมอง ๆ ดูว่ามีอะไรที่ผมสนใจ (การเลือกสินค้าแล้วแต่ท่านหนะครับ อย่าเอาอย่างผม) แล้วก็ไปเจอสิ่งที่ผมสนใจพอดี ถามว่าทำไมผมจึงเลือกสิ่งที่ผมสนใจหละ คำตอบก็คือ “สิ่งที่ผมสนใจ จะทำให้ผมทุ่มเทกับมันได้ตลอดเวลา” นั่นแหละครับคือคำตอบ เหมือน ๆ กับที่ผมเองชอบการเขียนเว็บ การเขียนบล็อก ที่เขียนเป็นสิบ ๆ บล็อกจนอัพเดทไม่หวั่นไม่ไหวนั่นแหละครับ คล้าย ๆ กัน

เมื่อผมได้สินค้าที่ต้องการแล้วสิ่งที่ผมต้องทำต่อไปก็คือ การค้นหา Keyword ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเอามาโฆษณาด้วย Pay Per Click (PPC) นั่นเองครับก็ได้คำหลัก ๆ มา 3 คำเท่านั้นเอง จากนั้นก็เอามานั่งคิดว่าถ้าเราต้องการซื้อสินค้านี้เราจะใช้คำค้นหาว่าอะไร ? คำถามนี้แหละจะช่วยให้คุณสามารถขายสินค้าได้ง่ายขึ้น อันนี้จริง ๆ หนะครับ ไม่เชื่อลองดูครับ เพราะผมก็ใช้คำถามนี้ถามตัวเองเหมือนกัน เมื่อผมได้คำค้นหาที่คิดว่าผมจะเข้ามาเพื่อซื้อสินค้า ขอย้ำตรงนี้หนะครับเป็นคำค้นหาที่ผมใช้เพื่อเข้ามาซื้อสินค้าหนะครับ “ไม่ใช่เข้ามาเพื่อดูสินค้า” ตรงนี้ต่างกันครับ อ๊ะเริ่ม งง กันแล้วหละซิเนี่ยะ เอาหละอธิบายให้อีกทีแล้วกันครับ

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


ความเสี่ยงของการลงทุนด้าน Pay Per Click ก็คือ การโฆษณาสินค้าแล้วไม่สามารถขายได้ แม้คลิกจะเยอะก็ตามที ข้อกังขาที่ผมจะเอามาเล่าให้คุณได้ฟัง หรือ อ่านวันนี้ก็คือกรณีที่ผมเองได้ประสบมากับตัวเอง ก็เลยอยากจะเอามาถ่ายทอดให้เป็นความรู้สำหรับท่านอื่น ๆ ที่สนใจจะทำธุรกิจ Affiliate Marketing ทั้ง หลาย ผมขอบอกท่านก่อนว่าถ้าทำได้ถูกทางท่านอาจมีรายได้เป็นหลักแสนบาทต่อเดือน สบาย ๆ แต่งบประมาณเบื้องต้นนั้นท่านต้องควบคุมอย่างเหมาะสม และ เลือก Keywords ให้ดีดี เพราะบางครั้งการที่คุณได้ Keywords ที่มีคนค้นหามากมาย และ ได้คลิกมากมายแต่ไม่อาจมียอดขายได้แม้แต่ออเดอร์เดียว ข้อแนะนำของผมก็คือ ให้คุณ “ทิ้ง Keyword นั้นซะ” เพราะว่ามันคือตัวดูดเงินออกนอกกระเป๋าคุณ ไม่ใช่ตัวสร้างเงินให้คุณ

มาดูเรื่องราวของผมกันดีกว่าครับว่าจริงอย่างที่ผมเกริ่นมาหรือไม่อย่างไร
เมื่อวัน xx/xx/xx ที่ผ่านมาผมได้เข้าสู่การทดสอบ วิธีการสร้างรายได้ด้วย Pay Per Click ของ Google Adwords อันที่จริงไม่ได้ขายสินค้าของ Google เหมือนอย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจหนะครับ เป็นเพียงการโฆษณาผ่าน Google เท่านั้นเองครับ ส่วนสินค้าหรือบริการเป็นของรายอื่นครับ ผมเองทำของ Amazon.com ครับเพราะเห็นว่ามีสินค้ามากมายหลายแสนรายการ ถึงแม้ว่าค่าคอมฯ จะแค่ 4% แต่ก็ยังดีมาก ๆ ถ้าสินค้านั้น ๆ สามารถขายได้เป็นประจำทุกวัน ตรงนี้ผมถือว่าสำคัญอย่างมาก เพราะว่ามันจะช่วยให้คุณมีรายได้ประจำวันตลอดเวลาถึงจะมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรายได้ที่ดีทีเดียว

Pay Per Click Management (ภาค 1)
Pay Per Click Management (ภาค 2)
Pay Per Click Management (ภาค 3)
Pay Per Click Management (ภาค 4)
Pay Per Click Management (ภาค 5)
Pay Per Click Management (ภาค 6)
Pay Per Click Management (ภาค 7)
Pay Per Click Management (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


การสร้าง Brand เป็นช่องทางการขยายฐานลูกค้า สร้างความผูกพันกับลูกค้า และความจงรักภักดีต่อสินค้าหรือบริการ ถ้าเราลองยกตัวอย่างด้าน Blog Brand ของบล็อกต่างๆ จะดูจากชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ผลงาน และความชอบส่วนบุคคล ความรู้ที่ได้รับความแตกต่าง และเหตุผลอื่นๆ ที่คิดว่านั่นแหละคือความแตกต่างของบล็อกแต่ละแห่ง ผมเองก็อ่านของคนอื่นๆ เหมือนกันครับแต่ว่าบางที่ผมเริ่มไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านเพราะว่า ผมมองในเรื่องนี้เช่นกันครับ ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการด้วยกันเช่น เนื้อหาที่ไม่ได้รับการพัฒนา (ซึ่งที่แห่งนี้ก็พยายามปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นอยู่หนะครับ) ความสมเหตุสมผลต่อเนื้อหา กรอบการนำเสนอซึ่งบางครั้งไม่ได้เป็น Niche อย่างที่บอก แต่ก็พอสร้างความรู้ให้ได้บ้างเล็กน้อย

จุดนี้จะเป็นตัววัดหรือบ่งชี้ให้คนอ่านรู้ได้ว่าจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่ บล็อกนำเสนอได้อย่างไรเป็นต้น เมื่อมีการสร้าง Blog Brand แล้ว ก็ต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก ให้สังคมได้รับรู้ ซึมทราบและเฝ้ามองดู จนเกิดความเชื่อถือใน Blog Brand ทำให้ Blog Brand เข้มแข็งและทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มอีก โดยอาจเป็นการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หรือนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ หรือถ้าตามหลักการของบล็อกแห่งนี้ก็ใช้วิธีการ Optimization (ตามหลักการ SEO) ?ระบบให้สามารถติดอันดับในผลการค้นหาอย่าง Yahoo!, Google, MSN เป็นต้น

เอาหละคิดว่าหลายๆ ท่านคงพอเข้าใจถึงหลักการในการสร้าง Blog Brand กันบ้างแล้วนะครับ เดี๋ยวในตอนหน้าเราจะมาศึกษาข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Blog Brand กันมากยิ่งขึ้นว่ามีรูปแบบและกฏเกณฑ์อะไรกันบ้าง เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับทุกๆ ท่านในการนำไปสร้างความได้เปรียบเพื่อแนะนำสินค้าให้กับธุรกิจอันยิ่งใหญ่ ของตนเองต่อไปครับ

การสร้าง Blog Brand (ภาค 1)
การสร้าง Blog Brand (ภาค 2)
การสร้าง Blog Brand (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


ภาพลักษณ์ คือ การสร้าง Brand คำว่า Brand แปลว่า เครื่องหมายการค้า แต่ถ้าใช้หลักการบริหารจัดการ มาอธิบายจะมีความหมาย กว้างขวาง และลึกซึ้งทั้งที่เป็นรูปธรรม คือ ตัวสินค้าหรือบริการ(Product) “ก็คือข้อมูลที่นำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันนั่นเองครับ” สัญลักษณ์(Logo) “อันนี้ก็คือสัญลักษณ์ของบล็อกแห่งนี้คิดว่าหลายท่านคงจำได้ นั่นก็คือชื่อบล็อกและตราสัญลักษณ์ของบล็อกแห่งนี้” และที่เป็นนามธรรม คือ ค่านิยม(Value) เป้าประสงค์(Goal/Purpose) บุคลิกภาพ (Personality) จุดยืน(Stand for) วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งจะรวมเข้าไปในสินค้าหรือบริการด้วย การสร้าง Brand จึงต้องออกมาจากทุกคนในองค์กร มีการสื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน และทุกคนแสดงออกต่อผู้อื่นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกัน Brand ก็ต้องมีลักษณะเฉพาะของตนเอง แสดงถึงความต่างจากคนอื่นที่ให้บริการเหมือนกัน(Identify)

เมื่อกล่าวถึงผู้ใช้สินค้าหรือบริการ Brand ที่เราสร้างขึ้น จะเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้ผู้ใช้สินค้าหรือบริการที่เป็นประเภทเดียวกัน Brand จะสร้างความรู้สึก การจดจำ (Attribute) ความภาคภูมิใจ (Value) การได้รับคุณประโยชน์ (Benefit) เป็นบุคลิกภาพ (Personality) สถานภาพ (Status) ความน่าเชื่อถือ (Trust) ของผู้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เป็นการสร้างตลาดเฉพาะกลุ่ม(Niche Market คือ ตลาดที่ผู้ใช้สินค้าและบริการที่เหมือนๆกัน) ทำให้สินค้าหรือบริการดูดีกว่าคู่แข่ง เช่น คนใช้รถ BENZ หรือ BMW จะดูดี มีบุคลิกภาพมากกว่าคนใช้รถ HONDA หรือรถ TOYOTA เป็นต้น แต่ภาพลักษณ์ในปัจจุบันก็ทำให้ทั้งสอง Brand นี้พยายามพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จนสามารถมาแข่งขันได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะ Honda ซึ่งสามารถสร้างความมีบุคลิกภาพที่ดีสำหรับผู้ขับขี่ได้มากกว่า Toyota ในปัจจุบัน

การสร้าง Blog Brand (ภาค 1)
การสร้าง Blog Brand (ภาค 2)
การสร้าง Blog Brand (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


จากสิ่งดีดี สู่สิ่งที่ดีกว่าเสมอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ขอเพียงเรามี “ความหวัง ความตั้งใจ ความอดทน” ความสำเร็จไม่เคยหนีหายตายจากไปจากเราอย่างแน่นอน บ่อยครั้งที่ “ความสำเร็จ” มักอยู่กับที่แต่สิ่งที่หนีไปคือตัวเรา (อันนี้เขาเรียกว่า แพ้ทางกันด้วยตนเอง) ผมเองมีสิ่งหนึ่งที่คิดและติดตัวมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ “เราจงอดทนรอ และสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง อย่านั่งรอว่าเมื่อไหร่วาสนาจะสร้างความสำเร็จให้กับเรา” มีคนเขาบอกว่า ในเรื่องของความสำเร็จนั้นคนเรามีความแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ เรามักชื่นชมความสำเร็จของผู้อื่น แต่ไม่เคยคิดจะสร้างความสำเร็จให้ตน (แล้วใครเขาพูดกันหละเนี่ยะ)

วันนี้ผมเองจะมาพูดถึงเรื่องราวของ “การสร้าง Blog Brand” ซึ่งหลายๆ ท่านคงจะสงสัยและบางท่านถึงขั้นสงสัยม๊ากกกกกก ก็รออ่านให้จบทุกตอนก่อนหนะครับเพราะว่าเรื่องนี้ผมจะเขียนหลายตอนเมือนกัน ครับ เป็นอีกบทความหนึ่งสำหรับเป็นความรู้ทางวิชาการ ที่ไม่ค่อยวิชาการนักเพราะคนเขียนเป็นคนบ้านนอกธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นหนะ ครับ แต่ก็ทนๆ อ่านกันหน่อยแล้วกันฮะๆๆๆ เอาเป็นว่าผมจะพยายามค้นหาข้อมูลให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดมานำเสนอก็แล้ว กันครับในเรื่องนี้ว่าแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านแวะเวียนมาที่แห่งนี้ นั่นก็เพราะว่าจดจำได้ว่าที่แห่งนี้มีอะไร และต้องการนำเสนอสิ่งไหนเป็นหลัก เขาเรียกว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ (Brand Image) หรือการกำหนดกรอบของ Blog Brand ให้กับตนเองรวมไปถึงการกำหนดทิศทางข้อมูลเนื้อหา (Niche Content) ของการนำเสนอให้กับตนเองครับ แต่เราก็ยัง งงๆ กันอยู่ใช่หรือเปล่าครับว่า แล้วไอ้เจ้าภาพลักษณ์ที่ว่านั้นเขาทำกันอย่างไร หรือเป็นอย่างไร มันคืออะไรกัน เดี๋ยวเราไปดูกันก่อนเลยครับว่ามีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง

การสร้าง Blog Brand (ภาค 1)
การสร้าง Blog Brand (ภาค 2)
การสร้าง Blog Brand (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Nofollow หมายความว่า “ห้ามเข้าไปบันทึกข้อมูล หรือเก็บข้อมูลในลิงค์ปลายทางนี้” ในหลักการแล้วคือบอกว่าปลายทางนี้ไม่ได้สำคัญอะไร ไม่ต้องสนใจหรอก ไม่ต้องไปเก็บน๊ะ ซึ่งเราใช้ในการบอกให้ Spider หรือ Robot ของ Search Engine เข้าใจแต่จะเชื่อหรือไม่ว่า อะไรก็ห้ามไม่ได้หรอกครับ เพราะเจ้าแมงมุมที่เก็บข้อมูลยิ่งสงสัยมากยิ่งขึ้น และก็ยังวิ่งไปตามลิงค์ดังกล่าวอยู่ดี และทำการ Index ลิงค์ปลายทางนี้อีกด้วย ถึงตอนนี้ผมเชื่อว่าหลายท่านก็สงสัยอีกว่า “แล้วจะทำไปทำแมวอะไรกันหละงั้น” เพราะถึงทำก็ยังวิ่งไปเก็บอยู่ดี

ในความเป็นจริงแล้วการไต่ไปตามลิงค์ ของแมงมุมหรือ spider นั้นเป็นเรื่องปกติ ของการทำงานของระบบ ซึ่งจะตามลิงค์ไปเพื่อดูว่าลิงค์ปลายทางนั้นคืออะไร มีเนื้อหาเป็นอย่างไร และทำการ Index ลิงค์ปลายทางดังกล่าว แต่่ว่า
แมงมุม หรือ robot จะไม่นำเอาค่าของการทำลิงค์นี้มาคิดให้กับหน้าเพจนั้นๆ เพื่อจัดอันดับหรือเพิ่ม Ranking ให้กับหน้าเพจนั้นๆ แต่อย่างใด ฉนั้นการสร้างลิงค์แบบ Nofollow จึงไม่มีผลต่อการทำ SEO แต่อย่างใดแต่ให้ผลในเรื่องของการสร้างลิงค์เพื่อควบคุมลิงค์ออก ที่ถูกสร้างลิงค์ภายในเพจของเราเท่านั้นเอง (ไม่ได้ให้เครดิตลิงค์ปลายทางนะจ๊ะ)

ส่วนการสร้างนั้นก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรครับ รูปแบบลิงค์ก็จะเป็นดังนี้ครับ



แค่นี้เองครับ เพียงเท่านี้เราก็สามารถทำลิงค์แบบที่ไม่ต้องให้เครดิตหน้าเพจปลายทางแล้วละ ครับ เพื่อลดปริมาณการทำลิงค์ออกไปยังด้านนอกของเว็บเรานั่นเอง

เอาหละครับคิดว่าคงพอเข้าใจกันบ้างแล้วนะครับสำหรับ Nofollow Link ที่ทำให้หลายๆ ท่านสงสัยกันมานานแสนนาน ตอนนี้คงพอนึกถึงประโยชน์ของ Nofollow ได้แล้วนะครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความด้าน SEO ในครั้งหน้าครับขอให้ทุกท่านพบแต่ความสำเร็จตลอดไปครับ

รู้จักกับคำว่า Nofollow (ภาค 1)
รู้จักกับคำว่า Nofollow (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Nofollow กับการสร้างลิงค์แบบ Nofollow ในการทำ Search Engine Optimization (SEO) นั้นเรามักได้ยินศัพท์แสงต่างๆ ที่แปลกๆ สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่ไม่เคยทำงานผ่านระบบออนไลน์ก็มักจะมึนงง กันพอสมควรเนื่องจากคำเรียก หรือชื่อกิจกรรมต่างๆ ทางด้าน SEO นั้นค่อนข้างหลากหลายและมีความซับซ้อนพอสมควร เลยทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยเรียนรู้หรือได้เรียนรู้นั้น เกิดความรู้สึกสงสัยกันได้และก็ยังไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้วสิ่งนั้นหรือกิจกรรมนั้นคืออะไรกันแน่

ลิงค์แบบ Nofollow นั้นเป็นลิงค์ที่ไม่ได้แตกต่างจากลิงค์ปกติทั่วไปนัก เพียงแต่มีการกำหนดเงื่อนไขในการทำลิงค์เพื่อควบคุมปริมาณลิงค์ที่ออกไปจาก หน้าเพจ หรือหน้าบล็อกของเรา เฉพาะในทางปฏิบัตินั้นเราสร้างเพื่อลดปัญหาการทำลิงค์ออกเท่านั้น แต่คุณจะเชื่อหรือไม่ว่า Nofollow เป็นลิงค์ที่ทำให้เหล่าแมงมุมของ Search Engine สนใจเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากว่าการที่เรากำหนด Nofollow link ให้กับลิงค์ต่างๆ นั้นย่อมสร้างความสงสัยให้กับแมงมุมพอสมควร (คือนิสัยอยากรู้ว่าทำไมต้องห้ามเข้าไปเก็บ) เหมือนๆกับที่เราสงสัยนั่นเองครับ

รู้จักกับคำว่า Nofollow (ภาค 1)
รู้จักกับคำว่า Nofollow (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


ธุรกิจและการบริการต่าง ๆ ถ้าหากว่าต้องการความได้เปรียบในการค้าขาย หรือ การได้ลูกค้ามาเป็นจำนวนมาก ๆ ก็ต้องอาศัยทั้ง Advertising และ SEO ผสมโรงกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม แต่เมื่อสามารถติดอันดับในหน้าหลักได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Advertising ก็ได้อาจใช้แต่หลัก SEO เพียงอย่างเดียวก็น่าจะพอแล้ว เพราะนั่นจะช่วยให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาลงได้เป็นอย่างมาก

ครับไม่ว่าจะเป็นการ โฆษณา (Advertising) หรือ การทำ SEO ทั้งสองสิ่งนี้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ ณ. ปัจจุบันนั้นเป็นเช่นไร และการเลือกใช้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าพูดถึงการประหยัดแล้วหละก็ SEO นั้นประหยัดและคุ้มค่าที่สุดแน่นอนด้วยเหตุที่สามารถใช้ได้ยาวนาน และ ติดอันดับที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ หากจำนวนผู้เยี่ยมชมเข้าเยี่ยมชมเว็บของเรามากขึ้น และ ข้อสำคัญก็คือ ไม่ว่าจะใส่คำค้นหาอะไรลงไป คุณก็สามารถติดอันดับได้เฉกเช่นการ โฆษณาด้วย Pay Per Click นั่นเอง.

Advertising and SEO (ภาค 1)
Advertising and SEO (ภาค 2)
Advertising and SEO (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Advertising ได้รับความนิยมในหมู่ ธุรกิจค้าขายออนไลน์ ด้วยเหตุที่ต้องใช้เวลาอันสั้น และ ขายสินค้าให้ได้มากขึ้นซึ่งปัจจุบันที่ได้รับความนิยมสูงสุดเห็นจะเป็น Pay Per Click (PPC) ของ Google เพราะได้รับความนิยมในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในโลกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการมุ่งเน้นการทำอันดับใน Google มากกว่า Search Engine รายอื่น ๆ

Search Engine Optimization (SEO) คืออีกกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวน Traffic สำหรับเว็บหรือ blog และทำให้เป็นที่รู้จักสำหรับผู้ผ่านไปมาหลาย ๆ ชนชั้นด้วยคำค้นหาที่ตรงกับที่ผู้ใช้บริการค้นหาอยู่ การทำอันดับที่ดีส่งผลให้เกิดผู้คนมากมายเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือ บล็อกเราเป็นจำนวนมากในอนาคต การทำ SEO มีปัจจัยสำคัญคือ Keyword ที่ตรงกับเนื้อหาและข้อมูล หรือ ถ้าจะพูดง่าย ๆ ก็คือตรงตามความต้องการของเรา ในการนำเสนอนั่นเอง เช่นกลุ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ การกำจัดปลวก คำค้นหาสุดฮิตเห็นจะเป็น กำจัดปลวก นั่นแหละครับ

Advertising and SEO (ภาค 1)
Advertising and SEO (ภาค 2)
Advertising and SEO (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


ผมจะพยายามปรับปรุงเนื้อหาให้ได้บ่อย ๆ น่ะครับ โดยเฉพาะเนื้อหาหลัก ๆ ของบล็อกแห่งนี้ เช่น Marketing , Advertising , Business และ SEO ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ไม่ทำให้ขาดหายส่วนใดส่วนหนึ่งไปหนะครับ ก็คงไม่ว่ากันหนะครับ สำหรับบางเรื่องที่ยังค้าง ๆ กันอยู่ แต่ก็พยายามหาข้อมูลเพื่อมาสานต่อให้จบหนะครับ โดยเฉพาะเรื่อง Link Building และ Link Structure ต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกับการทำ SEO ให้กับบล็อก และ เว็บไซต์ทั่ว ๆ ไปครับ

เอาหละนอกเรื่องมาพอสมควร มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ นั่นก็คือ Advertising and SEO สองเรื่องใหญ่เหตุใดจึงคู่กัน อันนี้ก็ต้องมาดูกันหละครับ ว่าจริง ๆ แล้วอย่างไหนสำคัญกว่ากัน สำหรับในความคิดผมแล้วทั้งสองเรื่องสำคัญเท่าเทียมกัน สำหรับการสร้างเว็บไซต์หรือ บล็อก เพื่อให้บริการข่าวสารข้อมูล หรือ แม้แต่ค้าขายอย่างเช่น E-Commerce ก็ตามที

Advertising and SEO (ภาค 1)
Advertising and SEO (ภาค 2)
Advertising and SEO (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Internet Marketing หรือ Search Engine Marketing (SEM) เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่น่าจับตามองมากที่สุดในยุคปัจจุบัน เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการที่น้อย เพียงไม่กี่ร้อยบาทในการเริ่มต้น และประกอบกับสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก

หลักการทำงานของ Search Engine Marketing (SEM) ก็คือการแสดงผลการค้นหาในอันดับที่ดีที่สุด โดยอาศัยหลักการต่าง ๆ รวมไปถึงปัจจัยด้านเงินทองในการใช้ Search Engine เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ และสินค้า โดย ให้ผลการค้นหา หรือ Results Pages ของเราได้ติดในหน้าหลักของ Search Engine ด้วย Keyword ที่เราต้องการ โดยมีความจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือดังต่อไปนี้

1. Search Engine Optimization (SEO)
2. Pay Per Click
3. Paid Inclusion

ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและบทความเกียวกับเรื่อง Search Engine Marketing ได้จาก Blog แห่งนี้ตามอัธยาศัยครับ

เหอๆๆๆ แวะมาสร้างความอยากก่อนตอนนี้กำลังเรียบเรียงครับ เดี๋ยวได้อ่านกันแบบเต็ม ๆ ครับรับรองไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนครับ

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม

Online Advertising


เมื่อ Online Advertising เข้าสู่ยุ่งเริ่มรุ่งเรื่อง นักการตลาดที่ชาญฉลาดก็จะเริ่มหันหัวเรือมาที่ Internet เพื่อเตรียมสร้างฐานข้อมูลและสร้างฐานทางการตลาดออนไลน์ (Online Marketing)

ธุรกิจ Online เมื่อครั้งในอดีตนั้นที่จะต้องมีการลงทุนทางด้านโฆษณานั้นส่วนใหญ่มักเป็นเว็บไซต์จำพวก e-Commerce ที่สร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์เป็นหลักแต่ในยุคปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของรูปแบบการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์เปลี่ยนไป เมื่อสารสนเทศบางประเภทมีมูลค่า จากที่ผมเองได้ศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ตเมืองไทย สิ่งหนึ่งที่เริ่มเห็นเข้ามาก็คือ การให้บริการด้านข้อมูลในรูปแบบสมาชิก e-Service โดยคิดค่าบริการต่าง ๆ ธุรกิจอีกประเภทที่แรงไม่เคยตกเลยมาสองปีเต็มก็คือ e-Learning

รูปแบบการโฆษณาจากในอดีตได้เปลี่ยนไป คือจากเมื่อก่อนนั้นการโฆษณามุ่งเน้นที่กลุ่ม e-Commerce เพียงอย่างเดียวแต่ปัจจุบัน มุ่งไปกับเว็บไซต์ต่าง ๆ มากขึ้นด้วยเหตุที่ว่า เริ่มมีเว็บไซต์จำนวนมากเกิดขึ้นทุกวัน และ ก็มีอีกหลาย ๆ เว็บไซต์ปิดตัวลงทุกวันเช่นกัน ในสังคมออนไลน์สิ่งหนึ่งที่ต้องการมากที่สุดก็คือผู้บริโภค ฉนั้นถ้าคุณต้องการผู้บริโภคแม้ข่าวสารข้อมูลเพียงอย่างเดียว คุณจำเป็นต้องพึ่งการโฆษณาเพื่อให้เกิดจำนวนการใช้งาน Traffic มากขึ้น

Online Advertising จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจแค่ไหน ตอนนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลให้ละเอียดก่อนแล้วจะนำเสนอให้ได้อ่านกันครับ เพราะต่อไปไม่แน่สิ่ง ๆ ต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นกลุ่มรายได้หลักให้กับเว็บหรือ blog ของเราอย่างมาหาศาลก็ได้ในอนาคต ถ้าหากว่าเราไม่ตกขบวนความสำเร็จเสียก่อน.

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home