A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


ในวงการธุรกิจ ไม่มีมิตรแท้ หรือศัตรูถาวร ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอยู่ในแวดวงไหน คุณก็จะมีคู่แข่งอยู่เสมอ เช่น ลองมองไปที่ธุรกิจน้ำมันรถยนต์ ประเทศต่าง ๆ ที่ผลิตน้ำมันได้ ก็เรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งกัน แต่ลองมองลึก ๆ ลงไป เช่นแลุ่มโอเปค เค้าเป็นประเทศที่ขายน้ำมันเหมือนกัน แต่กลับรวมกลุ่มกัน เพื่อกำหนดราคาน้ำมันเช่น ขายต่ำสุดไม่เกินราคาเท่าไหร่ เป็นต้น นี่คือการรวมกลุ่มกันของคู่แข่งที่กลายมาเป็นพันธมิตร

บล็อกก็เช่นกัน หากคุณพบบล็อกของคนอื่น ที่มีเนื้อหาเรื่องราวเดียวกับเรา อย่าไปคิดว่าบล็อกเหล่านั้นคือคู่แข่ง ลองคิดดูว่าบล็อกเหล่านั้นต่างหากที่เป็นพันธมิตร ด้วยลักษณะเด่นของบล็อกเอง ที่มีความคิดส่วนตัวของผู้เขียน แสดงออกมาในบทความที่มากอยู่แล้ว เหล่านั้นคือตัวตนมากกว่า

อย่างเช่นบล็อก wittybuzz.blogspot.com เขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำ blog แต่ผมเองก็สนใจเรื่อง internet marketing เรื่อง SEO เรื่องการทำ Google Adsense ด้วยเหมือนกัน บางครั้งผมเขียนเรื่องราวเหล่านี้ปนลงมาในบล็อกด้วย แน่นอนว่า เมื่อหันไปลองในโลกอินเตอร์เน็ต มีหลายบล็อกที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับบล็อกเช่นกัน ผมไม่ได้มองบล็อกเหล่านั้นว่าเป็นคู่แข่ง แน่นอนว่า ผมมองว่าบล็อกเหล่านั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เป็นกลุ่มคนที่รักชอบการเขียนบล็อก และต้องการนำเสนอเรื่องราวของการทำบล็อกเหมือนกัน บล็อกเหล่านี้มีมุมมองที่แตกต่างกันไป ผมชอบที่จะไปอ่านทุก ๆ บล็อก เพราะผมมักได้อะไรใหม่ ๆ ที่ผมไม่เคยรู้ หรือไม่เคยนึกถึงมันอยู่เสมอ

ผมมองว่าเนื้อหา (content) ในบล็อก ไม่เหมือนกับสินค้าที่เป็นของที่หมดไปได้ เช่น น้ำมัน หรือข้าวสาร แต่เนื้อหาของบล็อก ถ้ามีคนเสพย์แล้วมันมิได้หมดไป คนอื่น ๆ สามารถมาอ่านได้อีก ลักษณะการบริโภคสื่อของมนุษย์คือ บริโภคได้ไม่มีขีดจำกัด ผมอ่านทุกบล็อกที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับการทำบล็อก ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่าน ที่เคยอ่านบล็อกอย่าง BlogRhino, Make Many, I-morm, Idayblog, ThaiBlogger, poorblogging, PoorBlogger , Redtor ฯลฯ ก็เคยมาอ่านบล็อกของผมเช่นกัน ในทางกลับกัน คนที่มาอ่านบล็อกของผม ก็แวะไปอ่านบล็อกที่ผมกล่าวไปข้างต้นด้วย เพราะแต่ละคนเขียนบทความออกมาจากตัวตน และแนวความคิดที่แตกต่าง

คนอื่นอาจเชื่ออย่างอื่น แต่ผมเชื่อว่าการเขียนบล็อกนั้นไม่มีคู่แข่ง มีแต่พันธมิตร หรือเพื่อนกันทั้งนั้นครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาสายใยแห่งการพัฒนาด้านเนื้อหานั้น ยังมีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็นึกเสียดายที่ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบกับข้อมูลที่เป็บขยะมากกว่าข้อมูลที่ ได้ประโยชน์จริงๆ ถ้าท่านไม่เชื่อลองค้นหาข้อมูลอะไรก็ได้ผ่าน Google.co.th ของเราเองโดยใช้ภาษาไทยดูซิ คุณจะพบกับเว็บที่สร้างข้อมูลเท็จอย่างมากมายก่ายกอง ซึ่งเมื่อเราเข้าไปแล้วก็ต้องผิดหวังพอสมควรว่าไม่ได้มาซึ่งข้อมูลที่แท้ จริง ลองถามว่าในอนาคตที่เราเพียรพยายามพูดคุยว่าจะสร้างเนื้อหาเพื่อคนรุ่นหลัง นั้น เราได้วางแผนในการสอนคนรุ่นหลังอย่างไร แล้วเขาจะได้อะไรจากการที่ได้เข้าไปเรียนรู้ข้อมูลที่ผิดๆ หรือไม่ถูกต้องตลอดเวลาเหล่านั้น แน่นอนว่าเราสร้างเขาให้มีพฤติกรรมหรือวินัยในการทำข้อมูลที่ ไม่ได้สร้างสรรค์ต่อตนเองและสังคมในอนาคตเลยแม้แต่นิดเดียวครับ

เมื่อเรามองถึงองค์ประกอบและภาพรวมของการทำ SEO กับการทำ Marketing Blog จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนั้นบ้านเรายังไม่ได้รับการพัฒนาแต่อย่างใด ยังคงสร้างรูปแบบที่เดิมๆ และยังใช้เทคนิคแบบเดิมๆ ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่ได้รับการยอมรับหรือ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งนี้อีกแล้ว ผมอยากจะมาจุดประกายแนวคิดในการสร้างเนื้อหาเพื่อให้เกิดความสามารถ ในการแข่งขันในทางการตลาดให้ดียิ่งขึ้น สำหรับประเทศของเราทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสามารถ หรือเสถียรภาพในอนาคตสำหรับคนรุ่นหลังที่ได้เรียนรู้และสามารถพัฒนาไปสู่การ แข่งขันในระดับนานาประเทศได้ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยมีอินเตอร์เน็ตใช้ แต่คนไทยขาดศักยภาพในการพัฒนาด้านข้อมูล เนื้อหาผ่านโลกออนไลน์

บทความเรื่องนี้อาจไม่ได้มีประโยชน์ในทางเทคนิคอะไร แต่ผมก็อยากให้หลายๆ ท่านช่วยๆ กันครับเพื่อให้ประเทศชาติของเรานั้นพ้นจากข้อกล่าวหาที่ว่า “เรื่องเสียๆ พี่ไทยเก่ง” กันเสียทีครับไม่เช่นนั้นแล้วในอนาคตเราจะเอาอะไรไปแข่งกับนานาประเทศเขาหละ ครับลองคิดดู แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ.

SEO & Marketing Blog (ภาค 1)
SEO & Marketing Blog (ภาค 2)
SEO & Marketing Blog (ภาค 3)
SEO & Marketing Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหาแบบ “เนื้อหาซ้ำๆ หรือการใส่คีย์ซ้ำๆ” (Content & Keyword Spamming) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อได้เปรียบในด้านอันดับ สิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยรวมเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะทำให้ทางผู้ให้บริการ Search Engine (SE) ต่างๆ นั้นทำการแก้ไขอัลกอริทึม (Algorithm) ใหม่อยู่บ่อยๆ ทำให้การทำอันดับโดยอาศัยเนื้อหาที่ดีนั้นไม่แน่นอนเสมอไป มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยคือขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวไม่ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบในระยะยาวสำหรับการดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมาก

จากสิ่งต่างๆ ที่ผมได้กลาวมานี้ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงปรับปรุงครับ เพียงแต่เราต้องอาศัยความร่วมมือทางสังคมและจิตสำนึกในการสร้างเนื้อหาอย่าง ถูกวิธีเพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการทำงาน และสามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้อย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น อย่าให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า เมื่อเราจะได้มาซึ่งอันดับที่แน่นอนนั้นจะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้ออันดับมาใน ลักษณะ “จ่ายค่าคลิก” (Pay Per Click (PPC)) เพราะการทำ SEO ในลักษณะนี้นั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการสร้างเนื้อหา แต่อาศัยความสามารถในการจ่ายเงินมาเพื่อให้ได้มาซึ่งอันดับที่ดีกว่าก็เพียง พอแล้ว แล้วเราจะเรียนรู้การทำ SEO ไปเพื่ออะไรกัน

SEO & Marketing Blog (ภาค 1)
SEO & Marketing Blog (ภาค 2)
SEO & Marketing Blog (ภาค 3)
SEO & Marketing Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Search Engine Optimization (SEO) คือพลังขับเคลื่อนที่ต้องอาศัยองค์ประกอบโดยรวมของเนื้อหา ภายในบล็อกหรือภายในเพจต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งการ Index และการจัดอันดับ (Ranking) ของบล็อกหรือหน้าเพจนั้นๆ ให้สามารถติดอันดับได้เมื่อมีลูกค้าหรือผู้คนค้นหาข้อมูลซึ่งตรงกับสินค้า และบริการของเรา หรือข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรานั่นเอง

ส่วนประกอบโดยรวมเหล่านี้ได้แค่ รูปแบบของเนื้อหา คีย์เวิร์ด และการสร้างเนื้อหาที่มีความสดใหม่อยู่เสมอ รวมไปถึงความต่อเนื่องจากการทำเนื้อหาต่างๆ ในบล็อกของเราอีกด้วย เราสามารถสร้างความได้เปรียบของอันดับ (Ranking) ได้โดยไม่ยากเย็นนักถ้าเนื้อหาเหล่านั้นเราได้จัดทำขึ้นมาเอง แต่กระนั้นก็เถอะครับ ในการขายสินค้าออนไลน์นั้นเราก็จะมีเนื้อหาของข้อมูลสินค้าต่างๆ ที่ซ้ำๆ กันอยู่เสมอๆ ด้วยเหตุที่ข้อมูลสินค้าเหล่านั้นไม่ได้มีข้อแตกต่างกันเลยแม้แต่น้อยนิด สิ่งเหล่านี้อาจได้รับการยกเว้นจาก Search Engine (SE) ผู้ซึ่งใช้ดุลยพินิจในการให้อันดับหรือการจัดอันดับในแต่ละเพจ หรือให้การแข่งขันเกิดความยุติธรรมสำหรับทุกๆ ฝ่ายที่ได้ทำงานอย่างหนักเหมือนๆ กัน โดยมององค์ประกอบโดยรวมที่แตกต่างกันออกไป แม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำอันดับที่ต่างกันได้แล้วนั่นเอง

SEO & Marketing Blog (ภาค 1)
SEO & Marketing Blog (ภาค 2)
SEO & Marketing Blog (ภาค 3)
SEO & Marketing Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


เมื่อเราเปรียบเทียบการทำงานทุกอย่างในปัจจุบันไม่ว่าจะงานที่เราทำ หรือแม้แต่งานออนไลน์ก็ตามที ทุกอย่างมักมาคู่กันหรือเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อกันเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้รูปแบบของงานที่เราทำนั้นเป็นไปในทิศทางที่สามารถตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์ หรือตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบงานนั้นๆ

Marketing Blog มีองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยในการขับเคลื่อนความสำเร็จได้ เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญในการจัดการหลายหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เนื้อหา และรูปภาพต่างๆ และแน่นอนครับส่วนที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการ ทำงาน หรือการดำเนินธุรกิจในโลกออนไลน์นั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้กับเครื่องมือค้นหาซึ่งเป็นแหล่งที่จะส่งคนเข้ามายัง Marketing Blog ของเราหรือเพื่อมาดูสินค้าภายในร้านและบล็อกของเรา ที่ผู้คนมากมายต่างรู้จักกันในชื่อว่า Search Engine นั่นเอง การได้มาซึ่งอันดับ และการได้มาซึ่งการบันทึกข้อมูลจาก Search Engine (SE) นั้นเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นแต่มีปัญจัยต่างๆ ที่จะส่งผลให้ผลของการค้นหาต่างๆ จากลูกค้านั้นพบเจอเว็บ หรือบล็อกของเรานั่นซึงคือจุดสำคัญของการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างแท้ จริง

SEO & Marketing Blog (ภาค 1)
SEO & Marketing Blog (ภาค 2)
SEO & Marketing Blog (ภาค 3)
SEO & Marketing Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


ทำไมเราต้องทำ SEO ?
คำถามนี้อาจฟังดูแล้วธรรมดา แต่ในความรู้สึกผม ผมว่ามันไม่ธรรมดา การทำ SEO ต้องอาศัยทั้งทักษะและประสบการณ์มากมาย กับกฏเกณฑ์ที่ไม่ตายตัวของแต่ละ Search Engine อีกด้วย ถามว่าทำไมเราต้องทำ SEO ด้วยหละ ผมจะขอตอบแบบที่เข้าใจกันง่าย ๆ ก็แล้วกันครับ เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันตามประเด็นนี้มากขึ้น

1. เพื่อให้เว็บไซต์ของเราได้รับการจัดลำดับ ในอันดับที่ดีขึ้น (ยิ่งเป็นอันดับที่ 1 ใน Keyword นั้น ๆ ด้วยยิ่งดี)
2. เพื่อให้มีคนได้มีโอกาสเข้าเว็บเรามากขึ้นโดยการคลิกที่ลิงค์จากการค้นหาผ่าน Search Engine
3. เพื่อเป็นการประหยัดค่าโฆษณาเว็บไซต์ของเรา ที่ไปติดโฆษณาในที่ต่าง ๆ
4. เพื่อทำให้เว็บไซต์เราสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น (อันนี้เหมาะกับเว็บ e-Commerce และ e-Marketing ต่าง ๆ )
5. เพราะการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine มีคนใช้ถึง 81% เราต้องทำให้คนรู้จักเราให้ได้มากที่สุด
6. การทำ SEO เป็นการประหยัดเวลาระยะยาว (แต่ใช้เวลาทำนานไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
7. ถ้าคุณติดลำดับต้น ๆ ในหน้าแรกแล้วจะทำให้เกิดการคลิกและเข้าเว็บเรามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8. เพื่อเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการใช้งานโดยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่เรากับเพื่อนเรา
9. เหตุผลอื่น ๆ ที่คุณอยากให้เว็บคุณเป็น

จะเห็นได้ว่าการทำ SEO นั้นมีผลดีโดยรวมทั้งสิ้น ถึงแม้จะใช้เวลาในการพัฒนานานก็ตาม แต่ผลตามมาคุ้มค่ามาก เพราะหากคุณได้รับการ Index ในหน้าแรกของการค้นหาผ่าน Search Engine แล้วหละก็ผลดีดีต่าง ๆ จะตามมาหลาย ๆ อย่าง และอีกประการการทำ SEO นั้นมีผลดีในระยะยาว (แต่คุณต้องไม่ใช้วิชามารในการทำ SEO หนะครับเพราะถ้าทำอย่างนั้นไม่นาน Search Engine ต่าง ๆ จะเริ่มแบนคุณภายในไม่เกิน 1 ปีอย่างแน่นอน)

ข้อสำคัญอีกประการสำหรับการทำ SEO ถ้า คุณติดลำดับในหน้าแรกหรือหน้าที่สองแล้ว พยายามรักษาลำดับนั้น ๆ ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะนั่นคือ ลำดับที่ดีที่สุดสำหรับเว็บของคุณแล้วครับในเบื้องต้น.

SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 1)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 2)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


SEO มาจากคำว่า “Search Engine Optimization” ?หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เว็บไซต์ หรือ ชื่อเว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน Search Engine ด้วย Search Keyword ที่ เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ ข้อมูล เนื้อหา บทความ สินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ของเรา โดยรักษาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเสมอ (ปกติจะพยายามทำให้อยู่ในหน้าแรกของการค้นหา)

ทำ SEO ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ การทำ SEO ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดลำดับโดย Search Engine แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้เชี่ยวชาญนั้นในการทำ SEO นั้นต้องเสียแน่นอนครับ แล้วแต่ว่าจะมากน้อยเพียงใดตามข้อตกลง ถึงแม้คุณจะอยู่ในลำดับที่ 1 ในหน้าแรกก็ตาม แต่การทำ SEO นั้นจะต้องใช้ทักษะความรู้ ตลอดจนระยะเวลาในการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรก (โดยปกติหากมีทักษะอยู่แล้วไม่เกิน 6 เดือน)

SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 1)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 2)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


จะดีแค่ไหนถ้าเว็บคุณได้อยู่ในลำดับที่ 1 ของผลการค้นหาผ่าน Search Engine ด้วย Keyword ที่คุณกำหนดไว้และตรงกับสินค้าและบริการของคุณ

จะดีแค่ไหนถ้าการขายสินค้าและบริการของคุณลดต้นทุนด้านการโฆษณามากถึง 80% แต่กลับทำให้การขายสินค้าคุณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จะดีแค่ไหนถ้ามีคนเข้าเว็บของคุณวัน 1,000,000 คนจากทั่วโลกโดยคุณไม่เสียค่าโฆษณาเลยแม้แต่บาทเดียว ฯลฯ

ก็ได้มีโอกาสค้นหา Keyword ต่าง ๆ ผ่าน Search Engine ต่าง ๆ ด้วยชื่อสินค้าและบริการต่างๆ มากมาย ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าจริง ๆ เนื้อหาเรื่องนี้เรายังไม่ได้เขียนเลยนี่นา จะเป็นการดีถ้าเราจะนำมาเขียนให้ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาได้อ่านกันเพื่อเป็น ความรู้ และ สามารถนำไปใช้กับเว็บไซต์และองค์กรที่ต้องการทธุรกิจด้าน Internet Marketing หรือ ธุรกิจออนไลน์ ซึ่งเมืองไทยเราเริ่มเข้าสู่ยุคนี้กันแล้ว ครับก็พูดมากไปไม่ดี เรามาเริ่มทำความรู้จักเจ้า SEO กันเลยดีกว่าครับ.

ต่อคราวหน้าครับ

SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 1)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาค 2)
SEO คืออะไร ? เทก 2 (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม

CGM 2


CGM หรือ Consumer Generated Media ยุค 2 นั้นไม่จำกัดเพียงแค่เนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือเท่านั้น ด้วยความสามารถของApplication ที่ทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถนำเสนอ Content ทีอยู่ในรูป Rich Media หรือ Multimedia ได้อย่างง่ายๆ ด้วยเหตุนี้ CGM จึงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปนี้คือสิ่งที่เราเรียกเป็นส่วนหนึ่งของ CGM2

* Moblogs, photo sharing - Moblogs บล็อกผ่านมือถือ ซึ่งส่วนใหญ่มาในรูปของ Photo Sharing เป็นภาพปันกันดูนั่นเอง ซึ่งมือถือถ่ายรูปได้ จะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก การอัพบล็อกผ่านมือถือ ถือเป็นการเชื่อมเทคโนโลยีบนเว็บและมือถือเข้าด้วยกันจนทำให้การสร้าง เนื้อหาที่ทันสมัยทำได้ง่ายขึ้น อยากรู้ว่าสังคม moblog เป็นอย่างไร ลองเข้าไปที่ moblog.co.uk ดูซิครับ
* Vlogs/personal videos. Blog ที่นำเสนอ Clip Vdo ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมเพื่อให้เนื้อหาน่าชมขึ้น และเมื่อ youtube ได้กำเนิดขึ้นการทำให้การนำเสนอ clip vdo ผ่านบล็อกนั้นง่ายแสนง่าย ต.ย.ของ vlog ดังๆก็เช่น rocketboom.com , freevlog.com
* Podcasting. คงต้องขอบคุณ Feed Technology ทีทำให้เราได้รับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็วทุกครั้งที่มการอัพเดท และเมื่อ Multimedia + Feed = Podcast เพียงแต่คุณต้องบอกผู้ชม/ผู้อ่านถึงเหตุผลสมัครรับ Podcast ของคุณ หากคุณยังไร้จัก Podcast ลองเข้าไป download iTunes มาใช้และเข้าไปที่ Music stores>podcast จะมี Podcast ให้คุณดาวน์โหลดเพียบ

เนื่องจาก CGM เป็นสิ่งที่ยากจะควบคุมเนื่องจากเป็น เนื้อหาที่ผลิตจากผู้ใช้ นักการตลาดบางครั้งใช้มันเพื่อสร้างกระแสโดยการทำ Viral Marketing บางครั้งเฝ้าดูกระแสเพราะ CGM เป็นเสมือนเสียงสะท้อนจากลูกค้าที่น่าสนใจมากกว่าการทำ Focus Group นั่นเอง

ที่มา : ไทยเวปมาร์เก็ตติ้งดอทคอม


* Blog รูปแบบที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากของ CGM หลาย ๆ บริษัทนำมาใช้สื่อสารกับลูกค้าเช่น nokia n90 blog, hp blog ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่จะเปิดให้ผู้ใช้สินค้าของตนเองแสดงความคิดเห็นต่ตัวสินค้า หรือบริษัท ซึ่งข้อมูลที่ได้บางครั้งอาจจะได้มากกว่าการทำ Focus Group เสียอีก เพราะผู้ที่เข้ามาอ่านหรือเขียน blog comment ก็จะเป็นเหล่าสาวกหรือผู้สนใจในตัวสินค้าหรือบริการจริงๆ

* Webboard หรือ Forum CGM ที่มีมานานแล้วในบ้านเรา webboard เป็นเหมือนเสียงสะท้อนในของกลุ่มผู้มีความสนใจเหมือน ๆ กัน จะสังเกตุได้ว่า webboard ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกกำหนดหรือสร้างขึ้นโดยเจ้าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน เหมือน blog แต่เจ้าของสินค้า/บริการจากความคิดเห็นนั้นมาเป็นข้อมูลในการทำการตลาดต่อไป

* Rating and Review เป็นการจัดอันดับให้กับสินค้า บริการ หรือตัวเว็บไซต์เอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ amazon.com ซึ่งให้ผู้อ่านสามารถโหวตและแสดงความเห็นต่อหนังสือได้ การทำ rating หรือทำการ vote นี้เป็นการมุ่งสร้างความน่าเชื่อถือโดยการขอเสียงจากผู้ชมนั่นเอง

* Club site น่าจะเป็นวิธีที่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมและ ได้เสียงจากสาวกพอสมควร เพราะ website ประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกและรับรู้ความต้อง การของสมาชิกที่สนใจจริง ๆ

* Third-party Web sites. ในบ้านเรา น่าจะยังไม่มี website ประเภทนี้ website ที่ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือ ไม่พอใจจากสินค้าหรือบริการ สามารถโพสก์ประสบการณ์แย่ ๆ ที่มีต่อสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่บ้านเรามักจะแฝงอยู๋ในเว็บบอร์ดมากกว่า ตัวอย่างของเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น complaints.com, my3cents.com เป็นต้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของตน ผ่านเว็บประเภทนี้ได้เช่นกัน

ที่มา : ไทยเวปมาร์เก็ตติ้งดอทคอม


บริษัท Neilsen Buzzmetrics ผู้ให้บริการในด้านการทำวิจัยและวัดผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ CGM คาดการว่าแสดงความคิดเห็นโดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในสิ้นปี 2006 นี้จะมีอยู่กว่า 25 ล้านความคิดเห็นในรูปแบบต่าง ๆ ซึงรูปแบบที่ว่านี้เราเรียกสั้น ๆ ว่า ” CGM ” และการ แสดงความคิดเห็นนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางของนักการตลาดที่จะใช้ สื่ออินเตอร์เน็ตในการทำการตลาดอีกด้วย มาหาคำตอบกันครับว่า CGM คืออะไร

Consumer Generated Media หรือ CGM นั้น บริษัท Neilsen Buzzmetrics ได้ให้ความหมายของมันว่าเป็น
ความคิดเห็น ประสบการณ์ส่วนตัว ข้อเสนอ คำบอกเล่าต่างๆ ที่เหล่านักท่องอินเตอร์เน็ตที่จากเดิมเป็นเพียงผู้อ่าน ผู้ชม หรือผู้เฝ้าดู ได้กลายมาเป็นผู้นำเสนอ วิจารณ์ เล่าหรือบอกต่อ ความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อผลิตภัณฑ์ แบรนด์ หรือ ประเด็นต่างๆในสังคม CGM นั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น Online Consumer Word-Of-Mouth หรือ Online Consumer Buzz เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า พูดปากต่อปาก แต่ในแบบออนไลน์ นั่นเอง ใน wikipedia จัดให้ Consumer Generated Media เป็นประเภทเดียวกับ Consumer Generated Content (เนื้อหาออนไลน์เกิดจากผู้ใช้)

นักการตลาดออนไลน์ัปัจจุบัน ให้ความสนใจกับ CGM มากเพราะด้วยการเปิดกว้างของโลกออนไลน์ทำให้ผู้ใช้ได้เปิดเผยความต้องการที่ ไม่อาจสนองได้ในโลกออฟไลน์ เช่นการแสดงความคิดเห็นอย่างเิปิดเผย ในสื่ออินเตอร์เน็ต การบอกต่อความดีและไม่ดีของสินค้าและบริการเป็นต้น นักการตลาดหลาย ๆ ท่านพยายามเปิดเวทีเพื่อให้ลูกค้าของตนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้มาซึ่งการปรับปรุงสินค้าและบริการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ด Community Website เป็นต้น


ยุคนี้หันไปทางไหนใคร ๆ ก็พูดกันถึง CRM หรือ Customer Relationship Management ราว กับว่ากลยุทธ์นี้มันจะช่วยแก้ปัญหาได้สารพัด บางบริษัทฯถึงขั้นลงทุนซื้อ Software ราคาแพงระยับเพื่อให้ได้คำตอบสุดท้ายว่า ลูกค้าของฉันต้องอยู่กับฉันตลอดไป

จริง ๆ แล้ว CRM นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าคำว่า ” เอาใจใส่ ลูกค้าอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ” ด้วยประโยคนี้ แม้แต่แม่ค้าขายข้าวแกงก็ทำ CRM ได้ใช่มั้ยครับ ? ผมขอเล่า Case ที่เพิ่งเจอมาสด ๆ ร้อนๆ วันนี้

ผม มีร้านอาหารตามสั่งประจำแถวบ้าน ซึ่งตอนเย็น ผมมักจะไปสั่งอาหารใส่กล่องที่ร้านนี้เสมอๆ เรียกได้ว่า อาทิตย์นึงไปซื้อร้านนี้ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง ที่ไปร้านนี้ประจำก็เพราะ ใกล้ และรสชาดพอดีๆ ซึ่งก่อนที่ร้านนี้จะมาตั้ง ห่างออกไปอีก 2-3 คูหา ก็มีอีกร้านที่ขายทั้งข้าวแกงและอาหารตามสั่ง ซึ่งรสดีเช่นกัน แต่เพราะความขี้เกียจเดิน ผมจึงอุดหนุนร้านประจำในปัจจุบัน แต่มาวันนี้ ผมเริ่มรู้สึกไม่ค่อยชอบร้านนี้เสียแล้วซิ ทำไมนะหรือ ??? ลองฟังกันต่อครับ

อาหารที่เรียกได้ว่ามาร้านนี้ต้องสั่งคือ ข้าวราดกะเพราใส่เจียวหรือไม่ก็ไข่ดาว เพราะเป็นอาหารจานโปรด แต่สิ่งที่ผมต้องร้องขอเป็นประจำจากแม่ค้าคือ ซอสพริกไว้กินกับไข่(ไม่ว่า ดาวหรือเจียว) แต่สิ่งที่ผมเริ่มไม่ค่อยชอบก็คือ การไม่เอาใจใส่ในสิ่งที่ผมมักร้องขออยู่เสมอ นั่นคือ ” ซอสพริก ” ผมไม่เข้าใจว่าทำไมทุกครั้งที่สั่งไข่เป็นเครื่องเคียง ผมจะต้องเดินหันหลังกลับมาขอ ” ซอสพริก ” จาก แม่ค้าทุกครั้งไป อ้อ..มีอยู่ครั้งเดียวเอง ที่มีข้าวกล่องของผมมาพร้อมซอส ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับพี่แม่ค้าคนนี้ ผมเลยคิดในใจว่า “ครั้งหน้า ตูสั่งข้าวพร้อมไข่เมื่อไหร่ แล้วไม่มี ซอสให้ ตูจะเปลี่ยนไปกินร้านเดิมแน่ ๆ ว่ะ ”

เห็นมั้ยล่ะครับว่า เป้าหมายของการทำ CRM คือการให้ลูกค้าประจำอยู่กับเรานาน ๆ และการทำให้ได้อย่างนั้น สิ่งสำคัญก็คือการเอาใจใส่ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แม้ลูกค้าจะไม่ได้บอกออกจากปาก และหากเฝ้าสังเกตุ วิเคราะห์ลูกค้าอยู่เสมอเพื่อให้รับรู้ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง แม้เป็นแม่ค้าขายข้าวแกงก็ทำ CRM ได้


สาเหตุที่เลือก Blog มาเป็นตัวขับเคลื่อนอันหนึ่งคือเรื่องของการสร้าง Community แบบไม่สะเปะสปะ ไม่หว่านแต่ให้ตรงกลุ่ม แน่นอนกระบวนการในการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมอาจจะซับซ้อนขึ้นอีกนิดแต่ไม่ ยากที่จะมีส่วนร่วม นอกเหนือจากเหตุผลนี้แล้วยังมีอีกเหตุผลมากมายที่ไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะ เป็นความลับของบริษัท

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังอยู๋ในขั้นร่าง Sitemap/Specification/Technical Requirement และคนในทีมก็เห็นด้วยกับการนำ Blog มาใช้แทนการสร้าง Community แบบเก่าที่ให้สมัครสมาชิกเข้ามาแล้วสมาชิกไม่ค่อยได้อะไรกับไป ขั้นต่อมาคือการนำเสนอผู้บริหารระดับสูง และขายไอเดียนี้ให้กับ Product Manager ในบริษัทฯ ซึงหากการนำ Blog มาใช้ผ่านและไซต์ใหม่ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง เราก็จะได้เห็นการทำ Blog Marketing แบบนำไปเป็น Case Studies หนึ่งของไทยได้ทีเดียว แต่อย่างที่บอกด่านที่ต้องผ่านให้ได้คือ ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งไม่คุ้นเคยกับ Web 2.0 หรือ การสร้าง Use-Generated Content ซึ่งอาจจะต้องอธิบายกันยาวหน่อย

งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การทำ E-Marketing Training ให้กับ กลุ่มผู้บริหารที่ทำการตลาดสินค้าและหน่วยงานขายในบริษัทเพื่อให้เข้าใจเรื่องของ E-maketing หรือ Digital Marketing มากขึ้น


ภาระ กิจสำคัญของปี 08 ของผมก็การนำพาบริษัทที่ทำอยู่เข้าสู่ Digital World และนำเครื่องมือ Digital Marketing ไม่ว่าจะเป็น Internet Marketing หรือ Mobile Marketing หรือทำให้สิ่งที่ต้องการสื่อออกไปแปรสภาพไปเป็นดิจิตอลและนำสิ่งที่แปรสภาพ นั้นออกสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิด Brand Recognition และ Brand Awareness บนโลกดิจิตอล

งานแรกที่กำลังเริ่มคือการปรับปรุงเว็บไซต์ปัจจุบันที่แสนจะใช้ยาก ให้ง่ายขึ้น ใกล้ชิดกลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น เพราะช่วงที่ผ่านมาได้รับคำติจากคนในและลูกค้าเรื่องความยากของการใช้งาน การเข้าถึงเนื้อหา ซึ่งเว็บไซต์ปัจจุบันนั้นทำมาได้2-3 ปี ซึ่งโจทย์ในขณะนั้นคือผู้สร้างต้องการสร้างเว็บให้ตอบโจทย์ของ Brand ที่สะท้อนถึงความทันสมัย นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ ทำให้เว็บไซต์ดูสวยงาม เป็นลักษณะของ Flash Site + Web Application จนได้รางวัลถึงเมืองนอกเมืองนา แต่กลับไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ซึ่งเว็บที่มีอยู่ปัจจุบันนี้ สร้างตอนผมยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ในขณะนั้น ผมยังทำงานFreelance เป็น Internet Marketing and CRM Consultant อยู่ แต่ก็เข้าใจว่าคนที่ทำว่าครั้งนั้นยังไม่มีเครื่องมือที่ให้เลือกใช้เพื่อทำ Internet Marketing ได้มากมายเท่าปัจจุบัน รวมทั้งโจทย์ก็ไม่เหมือนกันด้วย

มาครั้งนี้ โจทย์ใหม่จึงไม่ใช่แค่ตอบโจทย์เรื่อง Brand Image/Personality ของสินค้าและบริษัท แต่ยังรวมถึงความง่ายในการใช้งาน การทำให้กลุ่มเป้าหมายใกล้ชิดมากขึ้น

Blog จึงถูกเลือกมาประกอบเป็นหนึ่งในโครงสร้างของเว็บไซต์ที่กำลังเตรียมการกัน อยู่ นอกเหนือไปจากการนำเสนอ Profile ของบริษัท หรือ Product ของบริษัท

ต่อกันคราวหน้าน่ะครับ


เมื่อคร้ั้งที่แล้วเราคุยกันเรื่อง เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog ตอนแรกไป 5 ข้อแล้ว มาว่ากันต่ออีก 4 ข้อกันเลยครับ

6.ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ทุกครั้งที่ลูกค้ามีปัญหาเรื่องการใช้งานคอมพิวเตอร์ บริษัท Architel บริษัทผู้ให้บริการด้าน IT Support ที่ผมเคยเล่าไว้่โพสก์ที่แล้ว จะนำปัญหานั้นขึ้นไปโพสก์ฺไว้เป็นโพสก์ใหม่ของ Blog เพื่อให้ลูกค้าเข้าไปในเว็บไซต์ของ Architel เพื่อให้ลุกค้าได้แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องโทร.เข้ามาหาส่วน IT Support นั่นทำให้บริษัทลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาของลูกค้า และแก้ปัญหาได้รวดเร็ว

7.Blog on a regular basis.
เขียนอย่างสม่ำเสมอการ เขียน Blog อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้่คุณตามความเคลื่อนไหวของธุรกิจในวงการของคุณ และยังเป็นการรักษาความสม่ำเสมอในการติดต่อกับลูกค้าของคุณผ่านBlog นอกจากนี้ การเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ บนBlog อยู่เสมอเปรียบเสมือนกับการป้อนอาหารให้ Search Engine อย่างสม่ำเสมอ นั่นย่อมส่งผลต่อการขึ้นอันดับสูงๆ ใน Seach Engineอย่างไรก็ดี การติดตาม ตอบคำถามต่อ Comment จากโพสก์เก่า ยังเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะ แม้บางเรื่องในBlog ของคุณผ่านมาระยะแต่ยังมีลูกค้าที่สนใจฝากcomment ไว้ เพราะการตอบปัญหาลูกค้านั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของคุณที่มีต่อ ลูกค้า

8.ไม่เขียน Blog เมื่อไหร่
เมื่อคุณไม่มีเวลาเขียน Blog อย่างสม่ำเสมอน่ะซิครับ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เขียนโพสก์ใหม่เลย แต่การกำหนดความถี่ในเขียนเป็นสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ลูกค้าของคุณทราบบ้างน่าจะเป็นการสมควรในการติดต่อ ลูกค้าผ่าน Blog เป็นระยะๆ หรือในกรณีที่ลูกค้าของคุณนิยมข่าวแบบ Word-Of-Mouth หรือประเภทเมาส์กันสนั่นเมืองและก็ไม่ค่อยสนคอมฯด้วย ความถี่ในการเขียน Blog ก็อาจลดลงไปโดยปริยาย

9.ฺเครื่องมือสร้าง Blog พร้อมด้วยระบบ E-Commerce
จะหาได้่ที่ไหนกันล่ะ ? ตอบยากครับ เพราะยังไม่เห็น Blogging Software ตัวไหนที่จะมีระบบ Shopping Cart หรือ ระบบE-Commerceเต็มรูปแบบ

ถึงตรงนี้ได้ข้อคิดที่น่าสนใจ ก็ลองนำข้อคิดในการใช้ Blog กับธุรกิจของคุณดูครับ

เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog (ภาค 1)
เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog (ภาคจบ)


ไม่ขอมากความครับ เข้าเรื่องเลย ต่อไปนี้เป็นวิธีเชื่อมสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog โดยนาย Doug Varga ที่ไปอ่านเจอใน cnet.com มาดูดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

1. มีเว็บไซต์แล้ว ก็เสริมด้วย Blog ซิ
นอก เหนือไปจากการบอกกล่าวกับลูกค้าของคุณว่า คุณมีสินค้าใหม่อะไรบ้าง หรือเปิดร้านใหม่ที่ไหนยังไง ในหน้าสินค้าอย่างที่เคยเป็นมา เรายังสามารถใช้ Blog นี่แหละเป็นช่องทางในการบอกกล่าวได้อีก แถมยังดูเป็นมิตรมากกว่าที่จะ hardsell แบบโท่งๆ ในหน้า Products นอกจากนี้ ความเห็นจากผู้อ่าน Blog ยังนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการของเราอีกด้วยครับ

2. องค์กรไม่มีเว็บ ก็ใช้เครื่องมือสร้าง Blog ทำเว็บไซต์
บริษัท Architel ผู้ให้บริการด้าน IT หรือ IT Outsourcing สร้างเว็บไซต์ของบริษัททั้งไซต์ด้วย Wordpress โดยแบ่งออกเป็นส่วนของหน้าเว็บไซต์บริษัท ส่วนของ News และส่วน Blog ของ CEO คุณ Alexander Muse ประธานบริหารของบริษัทกล่าวว่า การใช้ Blogging Software จะช่วยให้เว็บไซต์ เป็นมิตรกับ Search Engine ได้ดีกว่าการใช้เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อย่างของ Macromedia แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ต้องพึ่งพา Designer ในการออกแบบ แต่ Designer จะความจำเป็นในขั้นตอนที่จะต้องออกแบบเว็บ เมื่อเว็บไซต์ได้เผยแพร่แล้ว เราจะคุยกับ Designer อีกครั้งเมื่อต้องการเปลี่ยน Design ของเว็บไซต์

3. หาเงินเข้า Blog
Affiliate campaigns เช่น Amazon Associates หรือ Google Adsense คืิอทางเลือกหนึ่งในการหาเงินเข้า Blog ครับ ไม่จำเป็นต้องรอให้จำนวนคนเข้าเยอะ ๆ หรอกครับ ทำไป แล้วค่อยๆปรับปรุงวิธีการหาเงินผ่าน Affiliate แต่คงต้องเลือกให้เหมาะสมครับ เพราะอาจจะทำให้่ดูเป็นการทำการค้ามากไปจนกลายเป็นการหาเงินผ่าน Affiliate แทนการขายของของตัวเอง

4. นำเนื้อหาสำคัญอยากเผยแพร่ไว้หน้าแรก
ลักษณะสำคัญอันหนึ่งของ Blog คือ โพสก์ล่าสุดจะถูกนำเสนอในหน้าแรกของ Blog นั่นคือโอกาสที่คุณจะได้นำเสนอเนื้อหาที่คุณอยากโปรโมท หากคุณบอกผู้เยี่ยมชมว่าสินค้าเก่าดีกว่าสินค้าใหม่ในท้องตลาดอย่างไร คุณก็เขียนเป็นโพสก์เพื่อให้มันอยู่หน้าแรกซะ และทิ้งมันไว้ระยะหนึ่งก่อนจะเขียนโพสก์ใหม่ หรือหากยังไม่ต้องการทิ้งประเด็นที่ต้องการบอกกล่าว แต่ก็ยังคงต้องรักษาความต่อเนื่องในการอัพเดทข่าวสารใหม่ ๆ คุณก็ทำ Link ไปยังโพสก์ที่ว่านั่น เพื่อไม่ให้ประเด็นตกลงไป

5. เครื่องมือฟรีที่ไม่อาจมองข้าม
Blogger.com หรือ Wordpress เป็นเครื่องมือฟรีๆที่ใช้ในการสร้างบล็อกอย่างทรงอานุภาพ ถึงคุณจะมีความรู้ด้านการสร้างเว็บไซต์ไม่มากนัก แต่เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยคุณอย่างมากในการจัดการสร้างและจัดการบล็อกของ คุณได้ในระดับหนึ่ง ประหยัดเวลาในการเขียนระบบบริหารบล็อกขึ้นมาเอง และยังมีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการกับบล็อกได้ดีพอสมควร

เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog (ภาค 1)
เสริมความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย Blog (ภาคจบ)

Newer Posts Older Posts Home