A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น

ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ

และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง

สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะครับ

Blog คืออะไร (ภาค 1)
Blog คืออะไร (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามผมบ่อย ๆ เวลาไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ว่า “Blog คืออะไร” กันดีกว่าครับ

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

Blog คืออะไร (ภาค 1)
Blog คืออะไร (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


ปัจจุบันนี้ บริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้หันมาจับตามอง Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่าย สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง

การที่ใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Buzz Marketing บางบริษัทอาจเลือกเจ้าของ Blog ให้เป็น presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่นเสนอสินค้า ให้เจ้าของ Blog นำไปเขียนวิจารณ์หรือเขียนถึงใน Blog ของตนเป็นต้น

บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเอง และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถฝาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำ ที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาด โดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย

นอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน , ร้านค้า , ฯลฯ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ข้อผิดพลาด 10 ประการในการิกแบบเว็บไซต์ประจำปี 2005 นั้นได้แก่

1. Legibility Problems คือปัญหาของการใช้ font ที่ทำให้ดูแล้วไม่สบายตาเช่นใช้ Font เล็กไปบ้างล่ะ Font กับ Background ดูแล้วไม่กลมกลืนบ้างล่ะ อะไรทำนองนี้
2. Non-Standard Links คือการทำลิ๊งก์ให้ไม่น่าคลิ๊ก การไม่สร้างความแตกต่างให้ visited and unvisited links เป็นต้น
3. Flash ใช้ Flash ไม่เหมาะสม เช่นบางไซต์ใช้ Flash ทั้ง site ทั้งๆ ที่ใช้ non-flash ในการนำเสนอเนื้อหา หรือการใช้ Flash ในระบบ Navigation หรือ Menu ซึ่งทำให้ผู้ใช้สับสน เป็นต้น
4. Content That’s Not Written for the Web คือ เนื้อหาที่ใส่เข้าไปในหนึ่งหน้าเว็บก็ควรจะเขียนเพื่อนำเสนอบนเว็บในแบบที่ กระชับ ตรงจุด แต่กลับเขียนเยิ่นเย้อ จนคนอ่านขี้เกียจอ่าน อะไรพรรค์นั้น
5. Bad Search ไม่มีระบบ Search หรือ ระบบ Search ที่ค้นหาแล้วไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
6. Browser Incompatibility ไม่ออกแบบให้รองรับ Browser หลากหลายยี่ห้อ เช่นบางเว็บแสดงผลถูกต้องก็เฉพาะ IE แต่เปิดด้วย Firefox หรือ Netscape แล้วไม่ได้ผลตามต้องการ
7. Cumbersome Forms ใน Form มีคำถามมากไป หรือ มี mandatory field เกินจำเป็น(Madatory Field คือ ช่องคำตอบที่ต้องกรอก มิฉะนั้นจะคลิ๊ก Submit ไม่ได้)
8. No Contact Information or Other Company Info ไม่มีรายละเอียดของบริษัท หรือ ไม่มี About Us หรือ Contact Us นั่นเอง
9. Frozen Layouts with Fixed Page Widths วางเลย์เอาท์เว็บแบบไม่ยืดหยุ่น หรือกำหนดค่าของเลย์เอาท์แบบคงที่ เช่นแทนที่จะกำหนดตารางเป็นค่า % กลับกำหนดเป็น Pixel เป็นต้น
10. Inadequate Photo Enlargement คือเมื่อผู้ใช้คลิ๊กขยายรูป แต่รูปที่ขยายไม่ใหญ่ตามหรือมีขนาดเล็กเกินไป

ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 1)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 2)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาคจบ)


คุณJakob เนี่ยมีงานเขียนเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดของการออกแบบเว็บไซต์(Web Design Mistakes) ออกมาเป็นตั้งแต่ปี 1996 แล้วแม้จะไม่ได้มีออกมาทุกปีแต่ถ้านับตั้งแต่ครั้งแรกที่เขียนเกี่ยวกับ เรื่องนี้มีอยู่ 5 ครั้งได้แก่ในปี 1996, 1999, 2002, 2003 และล่าสุดที่ผมจะเอาเล่าสู่กันฟังจะเป็นของปี 2005 นอกจากนี้ คุณ jakob ยังได้สรุป The ten very worst Web design mistakes ซึ่งรวมข้อผิดพลาดที่ไม่น่าอภัยเอาไว้สิบประการ ซึ่งก็เป็นการยกเอาข้อผิดพลาดฯที่พี่แกเคยเขียนไว้มาให้ดู แต่ส่วนที่ผมจะสรุปให้ฟังจะเป็นของปี 2005 ไว้วันต่อไปจะมาสรุป เรื่อง The ten very worst Web design mistakes ให้ฟังต่อแต่ถ้าใครใจร้อนก็นี่เลย ==> useit.com/alertbox/9605.html

ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 1)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 2)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาคจบ)


วันนี้ได้ลองไปค้นหาเรื่องของ Web Usability บทความอันนึงของ Dr. Jakob Nielsen เค้าคนนี้ได้รับฉายามากมายในเรื่องของ Web Usability มากมายแค่ไหนผมขอ copy มาให้ดูข้างล่าง จาก useit.com/jakob

* “the king of usability” (Internet Magazine)
* “the guru of Web page usability” (The New York Times)
* “the next best thing to a true time machine” (USA Today)
* “the smartest person on the Web” (ZDNet AnchorDesk)
* “the world’s leading expert on Web usability” (U.S. News & World Report)
* one of the top ten minds in small business (FORTUNE Small Business)
* “the world’s leading expert on user-friendly design” (Stuttgarter Zeitung, Germany)
* “knows more about what makes Web sites work than anyone else on the planet” (Chicago Tribune, March 6, 2000)
* “one of the world’s foremost experts in Web usability” (Business Week)
* “the Web’s usability czar” (WebReference.com)
* “the reigning guru of Web usability” (FORTUNE)
* “eminent Web usability guru” (CNN)
* “perhaps the best-known design and usability guru on the Internet” (Financial Times)
* “the usability Pope” (Wirtschaftswoche Magazine, Germany)
* “new-media pioneer” (Newsweek)

ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 1)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาค 2)
ข้อผิดพลาดในการออกแบบ website 10 ประการโดย Jakob Nielsen (ภาคจบ)


เอาหละครับ คงพอมองภาพกันออกหนะครับ ทีนี้เรามาดูว่า แล้วเจ้า “แบรนด์” ที่ว่านี้มันเกี่ยวอะไรกับ “Blog Marketing” กันหละหว่า ผมจะขอเล่าถึงประสบการณ์ของผมในการสร้างรายได้ออนไลน์ว่า ในช่วงที่ผมเองได้ลองผิดลองถูกอยู่ในโลก “การสร้างรายได้ออนไลน์” นั้นสิ่งที่ผมเองคอยสังเกตุก็คือ ถ้าหากเราใช้เครื่องมือใดๆ สร้างรายได้เราต้องให้ความมั่นใจกับเครื่องมือนั้นๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดี และมั่นใจในสิ่งที่เราได้พยายามทำอยู่นั้นด้วย เพราะคนที่จะทำให้เราเกิดรายได้คือ “ลูกค้า” นั่นเองครับ และสิ่งที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าก็คือ

1. ความแตกต่าง ที่ต้องมีมากกว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ รวมไปถึงข้อมูลต้องดี และน่าสนใจอีกด้วย
2. ความกลมกลืน รูปแบบข้อมูลที่นำเสนอนั้นต้องเป็นทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่แกว่งไป แกว่งมา ไม่มีจุดยืนชัดเจน ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกสับสน
3. แหล่งข้อมูลอ้างอิง อันนี้ถือได้ว่าสำคัญที่สุดครับ
4. ตราสัญลักษณ์ เครื่องมือสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า ว่าคุณเองก็ “มียี่ห้อ” เหมือนกันอันนี้สำคัญอย่างมากครับ
5. การพัฒนาการของ บล็อกเรารวมไปถึงการพัฒนาเนื้อหา แบรนด์ และ การออกแบบด้วยครับ

และนี่ก็คือสิ่งที่ผมได้จากการสังเกตุ ทั้งหมด ซึ่งผมเห็นว่าบล็อกใหญ่ๆ นั้นประสบความสำเร็จได้โดยมีจุดยืนที่ชัดเจน และสามารถสร้างข้อได้เปรียบในเรื่องข้อมูลได้ ส่วนบางแห่งที่ไม่ได้สร้างข้อได้เปรียบโดยอาศัยข้อมูลตนเอง ก็ต้องมีแหล่งอ้างอึงข้อมูลที่ดี เหล่านี้ก็ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกันครับ แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือ เราต้องมี “ตราสัญลักษณ์” เป็นของตัวเองเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เฉกเช่นกับที่เราขายสินค้าให้ Amazon เมื่อลูกค้ารู้ว่านี่คือสินค้าของ Amazon เขาก็เลยซื้อโดยที่ไม่ต้องลังเลใดๆ เลย

Blog Branding and Blog Marketing (ภาค 1)
Blog Branding and Blog Marketing (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Blog Branding คือ การสร้างสถานะของบล็อก ให้มีชื่อเสียงโดยอาศัยหลักการในการสร้างแบรนด์ มาเป็นตัวช่วยสร้างความจดจำ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบล็อก

Blog Marketing คือ การสร้างบล็อกเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ องค์กร หรือเพื่อตนเอง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการซื้อขายทั้งในแบบออนไลน์และออฟไลน์ แต่บล็อกการตลาดใน นิยามของ makemany.com นั้นคือการสร้างรายได้ออนไลน์โดยอาศัยเครื่องมือที่มีความสามารถสูง อย่างบล็อก มาเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และสร้างผลทางการตลาด โดยมีส่วนผสมสำคัญคือ Search Engine Optimization (SEO) มาเป็นตัวกลางขับเคลื่อน เชื่อมต่อระหว่างลูกค้ากับบล็อก

เมื่อพูดถึงการสร้าง Blog Branding นั้นหลายๆ คนอาจมองไปว่ามีคำจำเป็นน้อยอย่างมาก เพราะว่าคนไม่ค่อยสนใจ ความคิดแบบนี้อาจผิดก็ได้หนะครับ ความนิยมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจาก การจดจำตราสัญลักษณ์ เป็นส่วนสำคัญกับอีกกรณีหนึ่งก็คือ ชื่อที่เรียกติดปากนั่นเองครับ บล็อกที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในเชิง การค้า หรือแม้แต่ต้องการสร้างความได้เปรียบในเชิงวิชาการนั้น จำเป็นต้องสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ชื่อว่า “แบรนด์” เอาไว้เป็นของตนเอง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจดจำได้ง่าย และสามารถเอาไปพูดต่อๆ กันได้อีกด้วย สิ่งที่เราต้องมีในการสร้างแบรนด์ก็ได้แก่ “โลโก้” ส่วนนี้จะเป็นการบ่งบอกความเป็นตัวของเราเองอย่างชัดเจน และข้อสำคัญคือไม่ใช่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยังไงก็ได้หนะครับ ต้องอยู่ภายใต้กรอบที่เหมาะสมอีกด้วย

Blog Branding and Blog Marketing (ภาค 1)
Blog Branding and Blog Marketing (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


เราอาจไม่สามารถรู้จักกับชื่อสินค้า หรือจำยี่ห้อ ต่างๆ ได้หรือแม้แต่จดจำว่าเว็บนี้ บล็อกนี้นั้นชื่ออะไรมีสัญลักษณ์เป็นอย่างไร ถ้าขาดซึ่งค่ำว่า “Brand” มาเป็นตัวชี้นำตนเองว่าเราก็คือ เรา อย่างไรหละ

ครั้งก่อนผมได้เขียนเรื่องราวของ แบรนด์ (ไม่ใช่รังนก หรือซุ๊ปไก่หนะครับพี่น้อง) ซึ่งผมเองก็พยายามเน้นย้ำให้กับทุกๆ ท่านว่าเหตุใดเราจำต้องสร้าง และทำแล้วจะได้อะไร ถ้าหากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ (อันนี้เพื่อนแนะนำมาว่า ทำไมมีแต่เพื่อนๆ พี่ๆ แต่ไม่เห็นมีน้องๆ เลยอะ ก็เลยใส่ให้ซะหน่อยประเดี๋ยวน้องจะน้อยใจ อิอิอิอิ) เคยได้อ่านบทความเก่าๆ ของผม หรือได้สังเกตุความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของบล็อกแห่งนี้จะเห็นได้ว่า มีวิวัฒนาการในการพัฒนา “แบรนด์” มาโดยตลอด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างข้อแตกต่าง และการจดจำให้กับผู้อ่านว่านี่คือตัวจริงหรือไม่นั่นเอง

ในการสร้างรายได้ของผมก็เช่นกันครับ สิ่งหนึ่งที่ผมเน้นย้ำมาโดยตลอดและสามารถทำเงินให้กับผมได้เพิ่มขึ้นจริงๆ นั่นก็คือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี หรือเราอาจรู้จักในชื่อว่า Brand นั่นเองครับ เอาหละวันนี้ผมแค่มาเกริ่นนำก่อนก็แล้วกันครับเพราะติดธุระครับ ยังไงเดี๋ยวจะมาเขียนต่อให้ได้อ่านกันในเรื่องนี้ เอาแบบซีรี่ยาวเหมือนหนังเกาหลีเลยก็ว่าได้ แล้วพบกันครับ ไปก่อนหละ…

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


แนวคิดดังกล่าวทำให้ Nintendo หันมาวิเคราะห์สิ่งที่เรียกว่า “ความแตกต่าง” มากยิ่งขึ้นก็พบกับจุดอ่อนของเจ้าใหญ่ที่ว่ามานั้นอยู่มากมายก่ายกองเลย แน่นอนครับสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ สนนราคานั้นแสนแพง กับวัสดุและอุปกรณ์เสริมที่มีราคาแพง อันนี้เขาเรียกว่ากลยุทธ์การแข่งขันทางราคา แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ Nintendo ต้องการเอามาแข่งขันครับ กลับเป็นอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ เขาต้องผลิตเครื่องเล่นเกมส์ที่มีราคาพอๆ กับสองรายนี้แต่วัสดุและอุปกรณ์เสริมต้องสามารถหาได้ง่าย และราคาไม่แพงมากนัก แนวคิดนี้ทำให้เกิดการสร้างน่านน้ำแห่งใหม่ขึ้นนั่นก็คือ Nintendo Wii หรือ Wii ที่เราๆ รู้จักกันนั่นเองครับ Wii (วี) สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดได้อย่างสง่าผ่าเผยเพราะไร้ซึ่งคู่แข่ง ด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่ราคาถูกกว่า และรองรับกับเกมส์แนวใหม่ๆ ได้มากกว่า นอกจากนั้นยังเล็กกว่าไม่เกะกะ และทำให้คอเกมส์สามารถเล่นเกมส์ได้อย่างสบายอกสบายใจ ไม่โดนแม่ด่าว่า ทำไมบ้านฉันมันรกอย่างนี้ (เหอๆๆๆ)

Wii สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากที่สุดโดยใช้เวลาน้อยที่สุดในประวัติ ศาสตร์ของโลกแห่งเกมส์ เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น Wii ก็สามารถครองอันดับหนึ่งในโลกของ Video Game ได้สำเร็จเรียกเอาได้ว่า สร้างน่านน้ำใหม่โดยไม่ต้องไปแข่งกับทะเลเลือดที่ห่ำหั่นกันอย่างรุนแรงของ สองยักษ์ใหญ่ในโลกแห่งเกมส์อย่าง Sony และ Microsoft (ซึ่งปัจจุบันนี้สองรายนี้เขาก็ยังต้องแข่งขันกันไปอย่างดุเดือดครับ)

เอาหละเอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันครับ เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะมาเล่าต่อว่า เหตุการณ์ที่พลิกผันให้ Nintendo ต้องสร้างน่านน้ำแห่งใหม่นั้นเขาวิเคราะห์กันอย่างไร และทำไมผมจึงให้ชื่อเรื่องนี้ว่า “แตกต่างเพื่ออยู่รอด” แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ

แตกต่างเพื่ออยู่รอด (ภาค 1)
แตกต่างเพื่ออยู่รอด (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


เอาหละมาดูกันว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร “แตกต่างเพื่ออยู่รอด” เป็นแนวคิดหนึ่งที่ผมเองได้ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม” ซึ่งผมเองได้เคยนำเสนอให้ได้อ่านกันไปแล้ว และยังไม่ได้เขียนต่อก็มาขอเล่าต่อกันหน่อยก็แล้วกันครับ เพื่อเป็นวิทยาทานและแนวคิดให้ได้นำไปประยุกต์ใช้กันครับ

กรณีศึกษานี้ผมจะขอพูดถึง Nintendo ผู้ซึ่งเข้ามาในสนามแห่งการแข่งขันในโลกของ “เกมส์” สนามชัยที่มียักษ์ใหญ่อย่าง Sony และ Microsoft เป็นเจ้าพ่อและเจ้าแม่อยู่ บางท่านอาจจะงงๆ ว่าเอแล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับสองเจ้านี้ เอาหละครับผมจะขอย้อนความอีกสักนิดก็แล้วกันครับ สนามชัยในโลกของเกมส์ที่ว่านี้ก็คือ วีดีโอเกมส์ นั่นเองครับซึ่งเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงรู้จักกับ PlayStation กันหนะครับซึ่งปัจจุบันก็คือ PlaStation 3 หรือ PS3 นั่นเองครับเจ้าเครื่องนี้เป็นสินค้าที่ผลิตโดยยักษ์ใหญ่ที่ชื่อว่า Sony

Xbox คือสินค้าของ Microsoft ซึ่งผลิตมาแข่งขันกับ PlaStation โดยปัจจุบันนั้นก็มี Xbox 360 ที่ต้องบอกว่าครองส่วนแบ่งของตลาดมากกว่า PS3 ในอเมริกา Nintendo ผู้มีความน้อยแต่ตัวก็ต้องคิดถึงกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะสร้าง Video Game มาแข่งกับเจ้าแห่งตลาดสองรายนี้ เนื่องจากเป็นตลาดในระดับสูง จึงทำให้ Nintendo ต้องคิดให้รอบคอบและต้องสามารถสร้างความแตกต่างจากทั้งสองเจ้านี้ให้ได้ (ถ้าเป็นคุณ จะคิดออกว่ายังไง) แม้ว่า Nintendo เองจะสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดในส่วนของวีดีโอเกมส์ในระดับล่างอย่าง Nintendo DS ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย แต่งานนี้ต้องบอกว่าหินสุดๆ เลยก็ว่าได้แต่ก็น๊ะ เมื่อมีเจ้าในท้องทะเลอันแดงฉานก็ต้องมีเจ้าแห่งท้องทะเลใหม่

แตกต่างเพื่ออยู่รอด (ภาค 1)
แตกต่างเพื่ออยู่รอด (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


วันนี้ผมมีทางออกให้ครับเพื่อที่ท่านจะได้มีโอกาส เข้าสู่สนามแข่งขันที่ให้ประโยชน์ กับตนเองบ้าง นั่นก็คือ ?กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม? อย่างที่ว่านี่ไงหละครับ คือการหันมาสร้างรายได้แบบใช้ทุนน้อย และ อาจได้กำไรตลอดกาล (นานมาก ๆ ) แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการใช้เวลา และ ความอดทนในการ ?สร้างสนามชัยแห่งใหม่? ของเราเอง สิ่งแรกที่คุณต้องคิดก็คือ การหา ?Niche? ให้พบและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างต่อมาคือการนำเอา ?Niche? ที่ว่านี้มาสร้าง aStore ของคุณให้เป็นที่รู้จัก (บางท่านอาจงง ว่า aStore คืออะไร ลองมอง ๆ บทความอื่นดูก่อนก็ได้หนะครับว่าคืออะไร) และทำการโปรโมทอย่างถูกวิธี (ทำ SEO) นี่แหละคือ ?น่านน้ำสีคราม? ที่ผมพูดถึง

Blue Ocean Strategy (ภาค 1)
Blue Ocean Strategy (ภาค 2)
Blue Ocean Strategy (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม คือคำตอบ ที่ทำให้เราต้องคิดว่า ในเมื่อมีการแข่งขันกันรุนแรงและเราต้องไปแทรกในตลาดที่มีการแข่งขัน (อย่างหนัก) อย่างที่ว่านั้น ทำไมเราไม่คิดใหม่เสียหละ (นี่แหละประเด็นหลัก ๆ หละ) การคิดใหม่ในโลกของ Affiliate Marketing นั้นก็คือการหา Niche (อ่านว่า ?นิช? หนะครับ) นั่นเองครับเพราะนั่นแหละคือ ?น่านน้ำสีคราม? ที่คุณยังไม่เคยทราบมาก่อน (อ้าว…แล้วผมรู้มาจากไหนกันหละเนี่ยะ) อันที่จริงแล้วรูปแบบของ ?กลยุทธ์? นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ทำไปผมไม่นำมาพูดถึง มาพูดทำไมเกี่ยวกับ ?กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม? กันหละ ก็เพราะว่าเราอยู่ในโลกออไลน์ อย่างไรหละครับ (กลยุทธ์อื่นคงใช้ได้แต่น้อยมาก)

ในโลกออนไลน์นั้นการทำธุรกิจต้องมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำอันดับ (ในทาง Search Engine Optimization (SEO) นั่นแหละครับ) การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ และการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ของเรา (โดยเฉพาะ Affiliate Marketing) อย่างหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ รูปแบบและหลักการที่ไม่คงที่ รวมไปถึงการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่งในหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางรูปลักษณ์ของสินค้า การเปลี่ยนรุ่น การมียีห้ออื่น ๆ มาแข่งขัน และยังมีอีกหลายรูปแบบ ที่เราอาจคิดไม่ถึงว่าจะมีอยู่จริง ๆ (แต่มันจะมีแน่นอนครับ) ตรงส่วนนี้เองครับทำให้เกิดแรงต้าน และ ทำให้เราท้อแท้อย่างรุนแรง หลาย ๆ คนเอาดีกับการสร้างรายได้ในรูปแบบการทุ่มทุนเพื่อทำการโฆษณาสินค้าใน Affiliate Marketing โดยใช้ Pay Per Click (PPC) และประสบปัญหาอย่างหนักในการสร้างรายได้ ในเรื่องของการไม่คุ้มทุน และการแข่งขันที่ไม่สร้างกำไรให้กับเรา

Blue Ocean Strategy (ภาค 1)
Blue Ocean Strategy (ภาค 2)
Blue Ocean Strategy (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม


Blue Ocean Strategy คือรูปแบบการบริหารจัดการในแบบใหม่ หรือ แนวคิดใหม่ (เรียกว่า แนวคิดน่านน้ำสีคราม) โดยมุงเน้นในเรื่องของการสร้างความคิดใหม่ ๆ และ การไม่ยอมอยู่ในกฏเกณฑ์เดิม ๆ (น่านน้ำสีแดง) ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในธุรกิจ

แนวคิดนี้ถือว่าเป็น ?วิธีการสร้างสนามชัยแห่งใหม่ โดยไม่ต้องแข่งกันไปตาย? ในสนามแบบเดิม ๆ (แหม๋…อาจดูรุนแรงหนะครับ แต่ว่านีคือกลยุทธ์ใหม่นั่นเองครับ) ผมจะขอท้าวความ (ยาวสักนิด) ว่า ในโลกของการบริหารจัดการ หรือ โลกการตลาดนั้น (การตลาดออนไลน์ด้วยน๊ะขอบอก) โดยทั่วไปเราจะประสบปัญหาหนัก ๆ ก็คือเรื่องของการต่อสู้ (สนามรบทางการตลาด) ที่รุนแรงเสมอ และการต่อสู้เหล่านี้คือรูปแบบการทำตลาดในแบบเดิม ๆ ซึ่งทำให้เกิดการแก่งแย่งชิงส่วนแบ่งกันอย่างรุนแรง (เรียกว่า ?ทะเลสีเลือด?) ทำให้ผู้ที่มาทีหลังอย่างเช่นเรา ๆ ท่าน ๆ เหมือนในโลกออนไลน์ (บางท่านเคยถามว่า “Affiliate Marketing“ ยังพอมีทางทำได้หรือไม่) มานั่งกังวลว่าเราจะสามารถแทรกเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ได้ส่วนไหน ?

Blue Ocean Strategy (ภาค 1)
Blue Ocean Strategy (ภาค 2)
Blue Ocean Strategy (ภาคจบ)

ที่มา : เมกเมนนี่ดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home