เค้าบล็อกกันทำไม ???“ ก็ไม่อยากให้คนเห็น คนดู คนได้ยินได้กลิ่นไงเล่า “ เพื่อนกวนประสาทของผมโพล่ง ! แต่ไม่ใช่ครับ ก็บอกแล้วไม่ใช้บล็อค(Block) แต่เป็น บล็อก(Blog) แล้วคนที่เค้าทำบล็อกกันทำไม
การทำบล็อกของแต่ละคนก็มีเหตุผลต่างกันตั้งแต่ความอยากจนถึงทำให้มันสร้างเงินให้เรา ผมจึงขอสรุปเหตุผลที่คนส่วนใหญ่ทำบล็อกดังนี้
1. นำเสนอตัวเอง(Present yourself)
เพราะบล็อกเป็นเวทีเปิดกว้างครับ หากคุณอยากดัง อยากให้ตนเองเป็นที่รู้จักคงยากครับที่จะเดินไปหาเจ้าของสถานีโทรทัศน์ หรือ วิทยุ แล้วบอกว่า ” ช่วยออนแอร์เรื่องราวชีวิตของผม หน่อยเถอะ ผมอยากดัง ” ยิ่งค่าโฆษณาเดี๋ยวนี้ก็แพงหูฉี่ และถ้าทุนน้อยอย่างผมล่ะก้อ หมดสิทธิ หรือไม่อย่างนั้นคงต้องไปออกรายการเรียลตี้โชว์ ก็อีกนั่นแหละ กว่าจะคัดตัวผ่าน งั้นจะทำไงดีล่ะ ก็ทำ บล็อก ซิครับ ใช้คอมพิวเตอร์เป็น เล่นเน็ตได้ เล่าเรื่องเป็นก็ทำได้แล้วครับ อย่างที่บอกไว้ตอนต้น ของฟรีมีให้เลือก เยอะ ผมยังเห็นหลาย ๆ คนเปิดโอกาสให้ตัวเองในการนำเสนอ Resume ด้วย Blog ซึ่งก็สร้างความน่าสนใจได้ไม่น้อยครับ
2. ต้องการนำเสนองานเขียนของตนเอง
การจะตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่ง หรือ เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ แมกกาซีน หากสายป่านไม่ยาวหรือเขียนแล้วไม่เข้าตาพี่ บอ กอหนังสือพิมพ์ก็ยากครับที่จะนำเสนอผลงานของตัวเองให้เป็นที่ประจักษ์ แม้บางเรื่องเราคิดว่าจะถูกใจผู้อ่านแล้ว แต่ด้วยข้อดีของบล็อกที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ทำให้นักเขียนโนเนมก็มีสิทธิเกิดได้เหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม แม้บนบล็อกจะเป็นอิสระจากบรรณาธิการ มันก็ยังเป็นดาบสองคม เพราะการตีพิมพ์โดยไม่มีการตรวจสอบทำให้ข้อความหรือเนื้อหาของบล็อกบางบล็อก อาจไม่เหมาะสม ซึ่งผู้อ่านบล็อกก็ควรระวังในจุดนี้ครับ นอกจากนี้ สิ่งที่เราจะพบเจอบ่อยๆ บนบล็อกคือเรื่องของไวยกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม หากไม่ชำนาญในการใช้ภาษาหรือใช้คำหรือประโยคทีไม่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน Blog นั้นก็มีสิทธิดับได้เหมือนกัน
Blog เกิดขึ้นมาได้อย่างไรJorn Barger ในยุคแรก ๆ ของ Blog นั้นมันเป็นเพียง ออนไลน์ไดอารี่ ที่คนทั่วไปอยากเก็บบันทึกประจำวันไว้บนเว็บไซต์แทนการเขียนลงบนกระดาษดัง แต่ก่อน
คำว่า เว็บบล็อก ถูกบัญญัติขึ้นครั้งแรกโดย นายจอร์น บาจเจอร์(Jorn Barger -พี่เคราครึ้มในรูปนั่นแหล่ะครับ) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 เพื่อใช้อ้างอิงเว็บเพจซึ่งเขาได้รวบรวมเอาลิ๊งก์ของที่เขาสนใจไว้ในแต่ละ วัน ในเว็บไซต์ www.robotwisdom.com ของเขาเอง
Robotwisdom.com ที่ซึ่งคำว่า weblog ถือกำเนิด
Justine Hall สำหรับ Blogger รุ่นแรกๆ ที่ผมอยากแนะนำให้รู้จักก็คือ จัสติน ฮอลล์ (Justin Hall ) นักข่าวอิสระชาวอเมริกันที่ถือกันว่าเป็น Blogger รุ่นบุกเบิกโดยเขาเริ่มเปิด ออนไลน์ไดอารี่ที่ชื่อ Justin’s Links from the Underground(www.links.net) ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการ แนะนำการท่องไปในเว็บและเน้นเรื่องราวชีวิตของตนเองในเวลาต่อมา
เรื่องการตั้งคำถามกับชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่าลืมว่าเพราะมี “คำถาม” จึงมี “คำตอบ”
เมื่อมี “คำตอบ” เราจึงเลือกเดิน พูดถึงเรื่องการตั้งคำถามผมนึกถึง”โสเครติส” เขาเป็นนักปรัชญาเอกของโลก
ที่สอนลูกศิษย์ด้วยการสนทนา ตั้งคำถามให้ลูกศิษย์ตอบ สร้างองค์ความรู้จาก “คำถาม”
กลยุทธ์ของ “โสเครติส” ในการสอนคือไม่ให้ความเห็นใดๆ แก่นักเรียน และทำลายความมั่นใจของ นักเรียนที่เชื่อว่าตนเองรู้
“โสเครติส” เชื่อว่าเมื่อเด็กตระหนักใน “ความไม่รู้” ของตนเองเขาจะเริ่มต้นแสวงหา “ความรู้ ”
แต่ถ้าเด็กยังเชื่อมั่นว่าตนเองมี “ความรู้” เขาก็จะไม่แสวงหา “ความรู้ “
การตั้งคำถามของโสเครติสจึงมีเป้าหมายโจมตีและทำลายความเชื่อมั่นในภูมิความรู้ของนักเรียน
เป็นกลยุทธ์เท “น้ำ” ให้หมดจากแก้ว เมื่อแก้วไม่มีน้ำแล้ว จึงเริ่มให้เขาเท “น้ำ” ใหม่ใส่แก้วด้วยมือของเขาเอง
“น้ำ” ที่ลูกศิษย์แต่ละคนเทลงแก้วด้วยมือตัวเองมาจาก “คำตอบ”ที่เขาค้นคิดขึ้นมาเอง
“คำตอบ” จาก “คำถาม” ของ “โสเครติส”
“โสเครติส” นิยามศัพท์คำว่า “คนฉลาด” และ “คนโง่” ได้อย่างน่าสนใจ
“คนฉลาด” ในมุมมองของ “โสเครติส” นั้นไม่ใช่คนที่รู้ทุกเรื่อง
แต่ “คนฉลาด” คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้
ส่วน “คนโง่” นั้น คือคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้ แต่ทำตัวราวกับเป็นผู้รู้
“ผมออกนอกกรอบตลอดเวลา” เขาบอก
เขาเคยพาเด็กวิศวะไปที่ริมสระว่ายน้ำ เรียนไปและดูนิสิตสาว ๆ ว่ายน้ำไปด้วย คาดว่าคงไปเรียนเรื่อง “คลื่น”
ระหว่างท่าฟรีสไตล์ กับท่าผีเสื้อ คลื่นที่เกิดขึ้นของท่าไหนถี่กว่ากัน ระหว่างชุดทูพีซกับวันพีซ แรงเสียดทานกับน้ำ ชุดไหนมากกว่ากัน
แนวการศึกษาน่าจะออกไปทำนองนี้ แต่ที่ชอบที่สุดคือตอนที่เขาออกข้อสอบ ข้อสอบของเขาสั้นและกระชับมาก
“จงออกข้อสอบเอง พร้อมเฉลย” โหย…เด็กวิดวะอึ้งกันทั้งห้อง คำตอบส่วนใหญ่เป็นการตั้งโจทย์แบบง่ายๆ เช่น ปั้นจั่นมีกี่ชนิด
ผลปรากฎว่า ได้ศูนย์กันทั้งห้อง เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ได้แสดงความคิดที่ลึกซึ้งสมกับที่เรียนมาทั้งเทอม
เหตุผลที่ ดร.วรภัทรออกข้อสอบด้วยการให้นิสิตออกข้อสอบเองเป็นเหตุผลที่ตรงกับใจผมมาก
“ชีวิตคนเราจะรอให้อาจารย์ตั้งโจทย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องหาโจทย์มาเอง คิดแล้วทำ ถ้าผิดแล้วอาจารย์จะปรับให้”
เขามองว่าเด็กรุ่นใหม่ติดนิสัยเด็กกวดวิชา รอคนคาบทุกอย่างมาป้อนให้ไม่รู้จักคิดเอง
“ถ้ารอและตั้งรับ คุณก็เป็นพวกอีแร้ง แต่พวกคุณแย่กว่าเพราะเป็นแค่ลูกอีแร้ง คือ รออาหารที่คนอื่นป้อนให้”
โหย…เจ็บ ผมเชื่อมานานแล้วว่าชีวิตของคนเราเป็นข้อสอบอัตนัยที่ต้องตั้งโจทย์เองและตอบเอง
ไม่ใช่ข้อสอบปรนัยที่มีคนตั้งโจทย์ และมีคำตอบเป็นทางเลือก ก-ข-ค-ง ถ้าใครที่คุ้นกับ “ชีวิตปรนัย” ที่มีคนตั้งโจทย์ให้และเสนอทางเลือก
1-2-3-4 คนคนนั้นชีวิตจะไม่ก้าวหน้า เพราะต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลาติดกับ “กรอบ”ที่คนอื่นสร้างให้
ไม่เหมือนกับคนที่รู้จักคิดและตั้งคำถามเอง
ได้รับ Forwarded email อ่านเล้วให้รู้สึกทุก ๆ วันนี้ เราทำ คิด อะไร ๆ แบบเดิมอยู่หรือปล่าว ถ้ายังคิด ทำ แบบที่เป็นมา ลองอ่านเรื่องนี้ดูครับ สะกิดใจดี
——————————————————————————
เคยได้ยินชื่อ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ไหมครับ??
เขาเคยเป็นวิศวกรขององค์การอวกาศนาซา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
เคยได้รับรางวัลงานวิจัยที่ดีที่สุดระดับโลกเกี่ยวกับเครื่องยนต์ไอพ่น ตัดสินใจกลับเมืองไทยเพราะ
1. อยากดูแลพ่อแม่
2. ไม่อยากเป็นพลเมืองชั้นสองในบ้านพักคนชรา
3. อยากเที่ยว และ
4. ชอบกินอาหารอร่อย
เคยเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง
ผมประทับใจบทสัมภาษณ์ของ ดร.วรภัทรใน “เสาร์สวัสดี” ของ “กรุงเทพธุรกิจ ” จำไม่ได้แหละว่าเมื่อไรนานมากแล้ว
คนอะไรก็ไม่รู้ ชีวิตมันส์เป็นบ้า ความคิดก็กวนเหลือหลาย ตอนที่เขาเป็นอาจารย์ วิธีการสอนหนังสือของเขาแปลกกว่าคนอื่น ถ้าใครเคยได้ฟังคลิปการสอนของอาจารย์น่ะ สุดยอดเลยแหละครับ ผมเชื่อว่าถ้าอาจารย์บางท่านนำวิธีการสอนของอาจารย์ไปปรับปรุงต่อยอดการสอนของตน คงทำให้การศึกษาเมืองไทยน่าสนุก และน่าสนใจมากกว่านี้แน่นอนน่ะผมคิดว่าอย่างนั่น
วันนึงผมได้เข้าฟังสัมมนาเรื่อง “Customer Retention and Loyalty Program ” ซึ่งจัดโดย Brand Maker Solution ซึ่ง บ.ในเครือหนังสือ Brandage ผมค่อนข้างติดใจประโยคๆหนึ่งซึ่งคุณ วรัตดา ภัทโรดม ผู้บรรยายในช่วงเช้าได้หยิบมาพูดคุยคือ การแข่งขันกับความคาดหวังของผู้บริโภค (Customer Expectation)
ผมอยู่ในธุรกิจบริการซึ่งต้องสัมผัสกับลูกค้าโดยตรง หลายครั้งที่เรามองเพียงว่าวันนี้ พรุ่งนี้ คู่แข่งของเราจะมีอะไรนำเสนอออกมาเพื่อดึงดูดลูกค้า เอาใจลูกค้า และเราก็พยายามจะ Offer สิ่งที่คิดว่าเหนือกว่าคู่แข่ง แต่สิ่งที่หลงลืมกันไปคือ แล้วลูกค้าหล่ะ เค้าคาดหวังจากการบริการของเราแค่ไหน แล้วเราได้ให้ในสิ่งที่เค้าคาดหวังแล้วหรือยัง หรือเราเสนอสิ่งที่เกินกว่าการคาดหวังของลูกค้าแต่จริงๆแล้ว ลูกค้าไม่ได้ต้องการอย่างนั้นซักกะหน่อย
การที่รู้จักลูกค้าของเรามากขึ้นเพื่อนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง ตรงใจ ลูกค้า จนทำให้ลูกค้าไม่จากเราไปเป็นเป้าหมายหลักในการทำ Customer Relationship Management หรือ CRM และในการนำคอนเซ็ปท์ของการทำ CRM มาใช้นั่นใช่เพียงแค่ซื้อซอฟแวร์ CRM มาใช้แล้วจบ แต่เป็นการนำข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย เป็นข้อมูลที่เกิดจากการที่ลูกค้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเรา นำมาวิเคราะห์ เพื่อให้ออกแบบกระบวนการให้บริการ หรือนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความคาดหวังของลูกค้ามากที่สุดเพื่อให้ลูกค้าอยู่ กับเรานานๆ หรือที่เรียกว่า “Customer Retention”
ฉะนั้น เพื่อตอบสนองความคาดหวังที่ไม่หยุดนิ่งของลูกค้า เราเองก็ต้องไม่หยุดนิ่งที่ศึกษาลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเอาชนะใจลูกค้า ได้ตลอดเวลาเช่นกัน
ผมได้ยินเรื่องของ blackle.com ซึ่งเป็น Search Engine ที่อ้างว่าสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า Search Engine อื่นเพราะ Blackle อ้างว่าการใช้สีดำทั้ง Background และตัว text ในไซต์ซึ่งเป็นสีที่จะทำให้คุณประหยัดพลังงานมากขึ้น
วันนี้ น้องที่ Office ส่ง email เรื่องของ blackle.com มาให้ว่าประหยัดพลังงานมาก ก็เลยลองเข้าไปดู ในหน้าแรกของ Blackle นั้นแสดงตัวเลขของการประหยัดพลังงานถึง 184,839.528 วัตต์ และเป็น Search Engine ที่ Powered by Google
แต่ด้วยความขี้สงสัย ก็อยากรู้นี่ว่า มันประหยัดจริงมั้ย ก็ลองค้นดูใน Google ว่า Blackle เนี่ยมันประหยัดจริงง่ะ ก็ได้คำตอบจาก techlogg.com ซึ่งได้ทดลองกับมอนิเตอร์ CRT 27 ตัว และ LCD อีก 23 ตัวได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วหากใช้ Blackle.com กับมอนิเตอร์ CRT ประหยัดแน่แต่ไม่ใช่ 15 วัตต์ อย่างที่ blackle เคย Claim ไว้ และถ้าใช้กับ จอ LCD โดยเฉลี่ยแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นแต่อย่างใด และแม้ว่าจะใช้ LCD ที่มีขนาดมากกว่า 24 นิ้วจะสามารถลดพลังงานได้แต่ก็ไม่ได้มากนัก
ถ้าอยากทราบรายละเอียดมากกว่านี้ก็ลองเข้าไปอ่านที่ http://techlogg.com/content/view/360/1/ ในนั้นจะมีตารางเปรียบเทียบผลการทดลองใช้ Google และ Blackle เมื่อใช้กับจอแบบต่าง ๆ ว่าประหยัดพลังงานมากแค่ไหนครับ
บล็อกซอฟต์แวร์
บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ใน ด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี
บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก
รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ
* ดรูปาล (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* เวิร์ดเพรสส์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
* สแลช (เพิร์ล)
* ไลฟ์ไทป์ (พีเอชพี/มายเอสคิวแอล)
[แก้] ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก
รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง
* บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
* ไทป์แพด
* เวิร์ดเพรสส์
* ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)
* วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
* มายสเปซ
* มัลติไพล
[แก้] ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก
* Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างเดียว
* เอ็กซ์ทีน
* GotoKnow
* Bloggoo
* learners.in.th
* บล็อกแก๊ง
* โอเคเนชั่น
นอกจากนี้ทางเว็บที่นิยมของไทยอย่าง สนุก.คอม, กระปุก.คอม หรือผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้มีการเปิดให้บริการบล็อก
ความนิยม
บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนใน หลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่าย น้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
การใช้งานบล็อก
ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือน การใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที
ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก
สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลง ทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น
ผมเคยเสนอความหมายของ blog ( บล็อก ) จากความคิดของผมไปแล้ว วันนี้ผมเลยนำความหมายของ blog ( บล็อก ) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีกันบ้างเพื่อให้เปรียบเีทียบกันน่ะครับ
บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอใน หลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก
Blogger.com และ Blogspot.com ซึ่งให้บริการ Blog ฟรีโดย Google ที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมในหมู่คนไทยมาในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติมากมาย การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ Google ที่จะช่วยเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ได้ถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบริการ Blogger-Blogspot การใช้งานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะกับผู้ใช้งานทุกคน แม้แต่ Blogger ที่อาจเรียกได้ว่าอายุมากที่สุดก็ได้ ยังใช้บริการของที่นี่เลย คนนั้นก็คือ Donald Crowdis ผู้เฒ่าอายุ 92 ปี ดู Blog ของเขาได้ที่ dontoearth.blogspot.com เห็นแล้วอึ้งใช่มั้ยละครับ ถึงแก่แต่ก็ยังมีไฟ แล้วคุณล่ะ มี Blog กันแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เข้าเรื่องต่อกันเลย
1. เข้าไปทีเว็บไซต์ Blogger.com จะปรากฏหน้าจอแบบนี้นะครับ ให้คลิกที่ Create Your Blog Now เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไปเลยครับ
2. กรอกรายละเอียดต่างให้ครบทุกช่อง ซึ่งประกอบด้วย อีเมล์ รหัสผ่าน ยืนยันรหัสผ่าน และกรอกตัวอักษรที่ปรากฏขึ้นมา พร้อมติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง I accept the Terms of Service เพื่อยอมรับข้อตกลงต่างๆ ตามลำดับ เสร็จแล้ว Continue เพื่อไปขั้นตอนต่อไป
3. กรอกรายละเอียดเล็กน้อยเกี่ยวกับ Blog กรอกชื่อ Blog (URL ของ Blog ที่เราต้องการ) คลิก Continue ไปสู่ขั้นตอนต่อไป
4. เลือกรูปแบบ (Theme-Template) ที่เราต้องการครับ มีให้เลือกเยอะดี เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ
5. เสร็จเรียบร้อยสมดังตั้งใจ คลิกที่ Start Posting เพื่อเริ่มเขียน Blog เลยครับ
ไม่ยากอะไรใช่ไหมล่ะครับ เริ่มเขียนกันเลย ง่ายเหมือนเล่น Word เลย
ที่มา : ไอ้เดย์บล็อคดอทคอม
หากคุณลองค้นหาเว็บไซต์ที่อยู่ใน Industry หรือ เว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเว็บไซต์ของคุณ จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว โครงสร้างและเนื้อหาในเว็บไซต์ไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่เป็น Corporate Website แล้ว แนวทางในการนำเสนอข้อมูลในเว็บก็หาความแตกต่างได้ยาก
จากประสบการณ์ที่ได้ผ่านเว็บไซต์ประเภท Corporate Website มาก็หลาย Website ทำให้ผมหวลคิดถึงวิธีที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในอดีต หลายๆครั้งผมมักจะใช้ website ของคู่แข่งในการเป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบผสมผสานกับการระดมความคิดจากเจ้าของ Content อย่างเช่นถ้าเจ้าของ content เป็นฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ ทางผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ก็จะนำข้อมูลสินค้าออกมานำเสนออย่างที่ผู้ดูแลต้องการ หรือ ผู้บริหารระดับสูงอยากนำข้อมูลสำคัญที่ผู้ชมเว็บควรรู้ก็จะนำเสนอออกมาอย่าง ตรงไปตรงมา จนบางครั้งละเลย ความต้องการที่แท้จริงของผู้ชมเว็บไซต์ ซึ่งการสร้างเว็บไซต์โดยวิธีนี้ ผมขอเรียกมันว่า การสร้างเว็บไซต์แบบ Inside-Out ซึ่ง เป็นการสร้างเว็บไซต์โดยผ่านความคิดของกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งผลที่ได้นั้น เมื่อผู้ชมเข้าเว็บไซต์แล้วกับไม่ได้ทำให้ผู้ชมติดตามเว็บไซต์ต่อหรืออ่าน หน้าเว็บเพียงผ่านไป เหตุผลก็เพราะ สิ่งที่เรานำเสนอนั้นจริง ๆ แล้วถูกใจเรา แต่ไม่ได้ถูกใจผู้ชมเสมอไป
ดังนั้น การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยวิธีกลับกันจึงเกิดขึ้นซึ่งผมขอมันเรียกว่า ” การสร้างเว็บไซต์แบบ Outside-In “ การสร้างเว็บไซต์แบบนี้เป็นการมุ่งสร้างแรงดึงดูดให้กับเว็บไซต์ และทำให้ผู้ชมอยู่กับเว็บไซต์เรานานขึ้น แต่การที่จะทำให้เกิดจุดนั้นได้ เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ด้วยการตั้งคำถามว่า หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมาย คุณอยากรู้อะไร อยากได้อะไรจากเว็บไซต์ของเรา
แน่นอน มันคือความท้าทาย เพราะเราจะต้องเริ่มถอดความคิดของเราออกมาแล้วให้กลุ่มเป้าหมายมาอยู่ในความ คิดเราแทน แต่สำหรับ webmaster หรือ Web Developer มันก็น่าท้าทาย ใช่มั้ยครับ
ครั้งนึงผมได้นั่งคุยกับอดีต CMS Developer ซึ่งเข้ามาเป็นพนง. ใหม่ในบริษัท เขาได้ทำการวิเคราะห์ website ของบริษัทที่ผมทำงานอยู่ปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่เขาวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ตรงกับที่ผมได้เคยทำไว้ มีอยู่ข้อหนึ่งที่ผมและทีมไม่เคยนึกมาก่อนคือเรื่องการออกเสียง Domain Name
หลายบริษัทที่กำลังบุกตลาดต่างประเทศ มักจะจดชื่อบริษัทหรือชื่อสินค้าที่เป็นภาษาไทยเป็น Domain Name เช่น Bumrungrad.com เป็นของรพ.บำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นเว็บที่เขาทำให้ในส่วนของ International, mahaphant.com เป็นของกลุ่มบริษัทมหพันธ์ เจ้าของสินค้าห้าห่วงและไม้เฌอร่า หรือ ถ้าสมมติ sanook จะ go inter กับเขาบ้างแต่ยังใช้ Domain Name เดิมคือ sanook สิ่งที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายต่างชาติอาจฉงน เมื่อเจอกับชื่อเว็บเหล่านี้ได้แก่ การออกเสียงที่อาจจะไม่ตรงกับที่เจ้าของ domain name อยากให้ออกเสียง
อย่างคุณฝรั่งพนักงานใหม่นี้ ทีแรกแกออกเสียง bumrungrad เป็น บำ-รุง-แรด (ขออภัยครับถ้าออกเสียงหยาบ) หรือ mahaphant แรกๆแกก็อ่าน มะ-หะ-แฟน ไม่ยักรู้ว่าคุณฝรั่งมีแฟนอยู่แถวๆที่เราคุยกันหรีอไงก็ไม่ทราบ แต่สำหรับตัวอักษร PH ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเทียบได้กับตัว ฟ.ฟันของไทยเรา ไม่เชื่อคุณก็อ่านคำนี้ดูซิ “Elephant”, “Philosophy”
วิธีแก้ของคุณฝรั่งคนนี้ก็คือ ใส่คำอ่านเข้าไป และใส่ความหมายของคำนั่นเข้าไปด้วยทำให้ domain name ดูมีความหมายมากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่หน้า About US ของ bumrungrad.com ก็จะเห็นประโยค
” What does ‘Bumrungrad’ mean? This Thai word - pronounced Bahm-roong-RAHT - means “care for the people”
เห็นมั้ยล่ะครับว่า การใส่วิธีการออกเสียง หรือที่เรียกว่า ” Pronunciation ” เข้าไปทำให้ Domain Name ดูมีความหมายลึกซึ่งและสื่อถึง Brand แค่ไหน
This summary is not available. Please click here to view the post.
ผมเริ่มจากการส่ง SMS ไปขอบคุณหลังจบงาน จากนั้นส่ง email campaign แรกออกไปหลังจากจบ Event 1อาทิตย์(ถูกกาล) เพื่อขอบคุณและขอข้อมูลที่อยู่เพิ่มเติมโดยมีข้อแม้ว่า หากตอบรับ email และกรอกที่อยู่ให้เราเพิ่มสิ่งที่คุณจะได้คือ หนังสือที่รวบรวมแบบบ้านอย่างสวยงามที่สร้างจากผลิตภัณฑ์ของบริษัท ความหนาของหนังสือก็พอสมควร(ถูกใจ) ทำไมต้องที่อยู่ เพราะในการส่งของที่เป็น physical gift หรือของขวัญแบบจับต้องได้ต้องมีที่อยู่ที่ชัดเจนเพื่อจะได้ส่งถึงผู้รับได้ ถูกต้อง ผลจากการส่ง email เกินคาดครับ มีผู้สนใจติดต่อกับเรา เกือบ 15 % ซึ่งปกติแล้วหากส่ง DM หรือ e-DM ออกไป ผลตอบรับเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1-5% ครับ
จะเห็นว่าผมเลือกส่งในเวลาที่ยังคงมีควันหลงของ EVENT ซึ่งถือว่าถูกกาลและเลือก Offer อย่างเช่นหนังสือแบบบ้าน ซึ่งเหมาะกับกลุ่มมืออาชีพ ซึ่งก็ถือว่า ถูกใจ ปัจจุบัน Offer ที่ผมเสนอให้ส่งออกไปนานแล้ว ผู้ที่ได้รับก็ชื่นชมพอสมควร มีอยู่รายหนึ่งได้รับหนังสือแล้วแต่ปรากฏว่า เนื่องจากหนังสือถูกบรรจุในซองกระดาษ ทำให้หนังสือเปียกเพราะไปรษณีย์สอดไว้ที่ตู้รับหน้าบ้านทำให้หนังสือโดยฝน เปียกน้ำไปด้วย ลูกค้าท่านนั้นก็โทร.มาขออีกครั้งและออกปากชมหนังสือที่เราส่งไปให้
ขั้นต่อมาคือการส่ง database ให้หน่วยงานขายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการค้าขายกันเกิดขึ้นครับ
สำหรับใครที่สนใจหลักทั้ง 3 ก็ไม่ว่ากันใครมีประสบการณ์ด้านการตลาดแบบนี้ก็บอกเล่ากันมาบ้างจะตามไปอ่าน แลกเปลี่ยนความรู้กันบ้างครับผม
ผมขอเล่าประสบการณ์ที่เพิ่งผ่านไม่นานนี้เองครับ โดยนำหลัก 3 หลักนี้มาใช้ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทที่ผมทำงานอยู่ได้ไปออกงาน Event ซึ่งเป็นงานที่กลุ่มคนรักการตกแต่งบ้าน สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการบ้าน คอนโด หรือผู้อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะไปชมงานเพื่อหา Idea ในรังสรรค์บ้าน ตึก หรือโครงการของตนเอง รวมทั้งหาคู่ค้าหรือ Supplier ที่เหมาะสม บริษัทที่ผมทำอยู่ออก Event ทุกปีครับ แต่ปัญหาที่เกิดคือ หลังจากจบงาน แม้เราได้ Database กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจากการเข้าลงทะเบียนชมBooth แต่ไม่ได้การทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเนื่อง ทำให้ฐานข้อมูลที่ได้มากลายเป็นขยะข้อมูล
มาในปีนี้ เป้าหมายหนึ่งของการเก็บฐานข้อมูลผู้เข้าชม booth คือการสร้างฐานข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แยกกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่มหลัก(เราเรียกกลุ่มนี้ว่า มืออาชีพ)และกลุ่มรอง ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการแยกย่อยออกมาเองเพื่อที่ในการทำ CRM และเพื่อให้ได้ Lead ที่ชัดเจน แต่ผมคงไม่ขอพูดว่ากลุ่มย่อยมีอะไรบ้าง จากนั้นเริ่มทำแคมเปญที่ต้องผ่านสืออิเล็คทรอนิกส์(e-Marketing Campaigns)อย่างต่อเนื่อง
ในขั้นแรกที่ทำคือการเก็บฐานข้อมูล ผู้ที่เข้าชมบู๊ทของบริษัทจะต้องกรอกข้อมูลชื่อเบอร์/โทร.มือถือ/email /อาชีพ จะสังเกตุว่า ผมไม่เก็บข้อมูลที่อยู่ ทำไมน่ะหรือ ??? ก็จะได้มีลูกเล่นต่อไงล่ะครับ เดี๋ยวได้รู้กันครับว่าทำไง
หลังจากจบ Event และการคีย์ข้อมูลเข้าระบบแล้ว ผมก็เริ่ม Campaign แรกเลยกับกลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่คนสร้างบ้านอยู่แต่กลุ่มที่ออกไอเดียเพื่อการสร้าง หรือสร้างเพื่อให้คนอื่นอยู่ โดยการทำครั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมายและเป็นการเช็ค ว่าหากบริษัทเราทำการติดต่อกับกลุ่มเหล่านั้น เขายินดีที่จะติดต่อกับเรามั้ย จะเห็นว่าผมเลือกเฉพาะกลุ่มที่น่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตจริง ๆ ไม่อยากส่งแบบหว่าน เพราะความต้องการในการติดต่อของกลุ่มหลักกับกลุ่มรองไม่เหมือนกัน (ถูกกลุ่ม)