สำหรับ blog หรือเว็บเล็ก ๆ ที่ยังมี traffic หรือคนเข้าเว็บไม่เยอะ แต่หากต้องการจะขายโฆษณา จะตั้งราคาค่าโฆษณาของเรา อย่างไรดี คำถามนี้เป็นคำถามที่ค่อนข้างจะตอบได้ยาก เพราะหากว่าเราตั้งราคาถูกไป ก็ไม่คุ้ม ตั้งแพงไป ก็ไม่มีคนซื้อ ดังนั้นการตั้งราคาค่าโฆษณา ที่เหมาะสม น่าจะเป็นคำตอบที่สวยหรูที่สุด
การตั้งราคาแบนเนอร์โฆษณา ที่เหมาะสมนั้น ย่อมต้องมีเหตุผลที่มาที่ไป เรามารู้จักราคาค่าโฆษณากันซักสองแบบก่อน ที่ผมเห็นบ่อย ๆ มักจะมีการขายค่าโฆษณากันอยู่สองแบบใหญ่ ๆ ในเมืองไทย ก็คือการขายโฆษณาแบบตั้งราคาขายเป็น CPM หรือเราอาจจะเข้าใจกันง่าย ๆ ว่า cost per thousand ก็คือราคาขาย ต่อหนึ่งพันหน่วยนั่นเอง เช่นเราอาจจะเคยเห็นเว็บแห่งหนึ่ง ตั้งราคาขายว่า CPM ละ 300 บาท นั่นหมายถึงราคาขาย 300 บาท จะแสดงแบนเนอร์ได้ 1,000 ครั้ง (impression) นั่นเอง การตั้งราคาในรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับ blog หรือ เว็บที่มี traffic คนเข้าเว็บเยอะแล้ว สามารถแบ่งขายเพื่อให้แบนเนอร์นั้น rotate หมุนสลับกันไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราสามารถรับโฆษณาได้หลายเจ้า ในตำแหน่งเดียวกัน
อีกรูปแบบหนึ่ง ของการตั้งราคาขายแบนเนอร์ ก็คือการตั้งราคาแบบ Fixed Position หรือราคาเหมานั่นเอง การขายแบนเนอร์ในลักษณะเหมาจ่าย จะเป็นการแสดงแบนเนอร์เพียงเจ้าเดียว ในตำแหน่งนั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งราคาแบบเหมา แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองใช้วิธีนี้ครับ ลองดูจำนวน page views ของเว็บเรา เช่นเดือนหนึ่งจะมีคนดูเว็บประมาณ 10,000 page views ก็ลองหาร 1,000 ดูก่อนครับ ตัวเลขจะได้ 10 หน่วยของ CPM แล้วลองตั้งราคาของเราเทียบกับ CPM เช่น ถ้าสมมติเราขาย CPM ละ 300 บาท ดังนั้นเมื่อเราต้องการขายแบบ fixed เราก็จะได้ราคา CPM x จำนวนหน่วย (จากตัวอย่างนี้คือ 300 x 10) เราจะได้ราคาขายออกมาคือ 3,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น การคิดราคาแบบนี้ ค่อนข้างจะคิดได้ง่าย แหละมีหลักการณ์ในการคิดที่ัชัดเจน ไม่ใช่การนั่งเทียนตั้งราคา เหมาะสำหรับเว็บเล็ก ๆ ที่ยังมี traffic ไม่เยอะนัก พอเว็บเรามีคนเข้าเยอะเมื่อไหร่ ค่อยเปลี่ยนไปขายโฆษณาเป็นแบบ CPM ก็ได้ครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม