การทำการตลาด ด้วยอีเมล์ หรือที่ภาษาอังกฤษเค้าเรียกกันว่า Email Marketing นั้น ผมขออนุญาตลองแยกรายชื่ออีเมล์ ที่เราต้องการส่ง ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ดูนะครับ
กลุ่มแรก ขอเรียกว่า อีเมล์ที่ผู้รับยินยอมใ ห้เราส่งอีเมล์หาเค้าได้ นั่นก็คือ การที่เรามีฐานข้อมูล อีเมล์ของลูกค้า ที่เราเก็บรวบรวมมา หรือที่ลูกค้ามาสมัครรับข่าวสารจากเรา
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ขอเรียกว่า อีเมล์ที่เราได้มานั้น ผู้รับไม่ได้ยินยอม หรือไม่รู้ตัวว่าเราจะส่งอีเมล์ไปหา กลุ่มนี้เรามักจะได้รายชื่อมาจากการเ่ช่าฐานข้อมูลอีเมล์ หรือซื้อมาจากเว็บที่มักจะประกาศขายกันว่า กี่ล้านรายชื่อ ราคาไม่กี่บาทเป็นต้น
emailbox สิ่งที่อยากจะพูดในบทความตอนนี้ก็คือว่า ความสำเร็จของแคมเปญ email marketing ที่คุณจะส่งไปหาลูกค้านั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของรายชื่ออีเมล์ที่คุณได้มานั่นเอง จากประสบการณ์ของผม หากเราส่งอีเมล์ไปหาสมาชิกของเรา หรือส่งหากลุ่มที่ ลูกค้าได้อนุญาตให้เราส่งอีเมล์หาเค้าได้นั้น จะมีสถิติการเปิดอ่านที่ค่อนข้างสูง
แต่ถ้าหากว่า เราส่งอีเมล์ไปหากลุ่มคนที่เราไปเช่าฐานข้อมูลมานั้น ผลการเปิดอ่าน จะมีค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะหากว่า หัวเรื่องอีเมล์ ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมายนั้น ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้น ๆ ก็จะยิ่งมีผลการเปิดอ่านค่อนข้างต่ำมาก ๆ เรียกได้ว่าบางครั้ง อาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะนอกจากกลุ่มเป้าหมายจะไม่เปิดอ่านแล้ว อาจจะยังแจ้งว่าอีเมล์ของเราเป็น spam อีกด้วย เสียชื่อแถมเสียตังค์อีกด้วย
ดังนั้น จึงอยากแนะนำว่า หากเราสามารถสร้างกลุ่มผู้รับอีเมล์ หรือ mailing list ได้เอง ก็ควรทำอย่างยิ่งครับ เพราะเราจะได้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจในสินค้า หรือบริการของเราจริง ๆ เรียกได้ว่า แม้ฐานข้อมูลจะมีคนไม่เยอะ แต่ก็เป็นกลุ่มรายชื่อคุณภาพนั่นเองครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
ผมเคยมีลูกค้าชาวฮาวาย มาให้ช่วยทำ SEO ให้เค้า วันแรกที่ผมไปรับ brief งานนั้น ค่อนข้างงงกับวัตถุประสงค์ของเค้าเหมือนกัน กล่าวคือ เค้าอยากให้ช่วยทำ SEO ในคีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อของเค้าเอง เพราะว่าเค้าทำธุรกิจเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ แต่เมื่อมีการค้นหาชื่อของเค้าใน google แล้วจะพบว่า ผลการค้นหาอันดับหนึ่ง คือเว็บบอร์ดที่นักเขียนคนหนึ่ง ได้มาเขียนกระทู้ โจมตีนายคนนี้ไว้ เพราะเมื่อก่อนเคยมีกรณีพิพาทกันอยู่ เค้าบอกว่าแบบนี้เค้าทำธุรกิจลำบาก นั่นคือการทำงาน SEO ครั้งแรกของผม เพื่อทำการปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์ หรือบุคคล บนโลกออนไลน์
หากคุณต้องการทำแบบนี้ มีเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้ครับ อันดับแรก ต้องเลือกคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำก่อน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชื่อคน หรืือชื่อแบรนด์นั่นเอง หลังจากนั้น เราอาจจะต้องใช้โดเมนเนมหลาย ๆ ชื่อ เพื่อทำอันดับคีย์เวิร์ดที่เราต้องการ ให้ไปดันเว็บไซต์ที่โจมตีชื่อเสียงของแบรนด์เรา ให้ตกอันดับไป แล้วให้ของเราอันดับดีกว่านั่นเอง ถ้าเราทำแค่ url เดียว หรือโดเมนเดียว ก็จะทำได้แค่ดันอันดับเค้าให้ตกลงมาเท่านั้นเอง สิ่งที่ผมเคยทำให้ลูกค้าก็คือ ทำให้เว็บนั้นตกไปจากอันดับผลการค้นหา ในหน้าแรก โดยการใช้หลาย ๆ โดเมน มาช่วยกันดันอันดับเลยทีเดียว
ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
ไปอ่านเจอบทความของ Steve Rubel เจ้าของ blog ดังอย่าง Micro Persuasion เกี่ยวกับการที่เนื้อหาที่เป็นรูปแบบเป็นตัวอักษร หรือ text ถึงยังสามารถครองใจ นักท่องเว็บ ได้มากกว่าเนื้อหาที่เป็นวีดีโอ ผมลองอ่านดูแล้วก็เห็นด้วยทีเดียว กับแนวความคิดนี้
จากที่เราเห็นว่า ระยะหลังมานี้ เนื้อหาที่เป็นรูปแบบวีดีโอคลิป ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในแง่สาธารณูปโภค ที่ค่าใช้จ่ายในการใช้อินเทอร์เน็ตถูกลง และเว็บไซต์ youtube ก็ได้รับความนิยมในหมู่คนไทยมากขึ้นก็ตาม
ความเห็นของ Steve Rubel บอกว่า สิ่งที่ทำให้เนื้อหาแบบ text ยังคงอยู่ยั้งยืนยงมีดังนี้ครับ
1. เนื้อหาแบบ text สามารถอ่านได้ง่าย – จากรายงานของ Jacob Neilsen ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้าน web usability บอกไว้ว่า นักท่องเว็บมักจะอ่านเนื้อหาเพียงแค่ 28% ของเนื้อหาเว็บทั้งหน้า โดย 20% เป็นตัวเลข ซึ่งเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือ ก็ทำให้นักท่องเว็บที่มีเวลาน้อยนิด สามารถมองหรืออ่านแบบผ่าน ๆ ได้ง่าย
2. ทำ SEO ได้ง่าย – ในยุคนี้ ใคร ๆ ก็อยากมีอันดับผลการค้นหาที่ดี และตัวหนังสือ ก็สามารถช่วยให้คุณทำ SEO ได้ง่าย
3. อ่านง่ายในที่ทำงาน – เนื้อหาแบบตัวหนังสือ ทำให้พนักงานบริษัทที่มีเวลาจำกัด สามารถอ่านได้สะดวกใจกว่า ที่จะนั่งรอดูเนื้อหาแบบวีดีโอคลิปที่ยาวเป็นชั่วโมง ๆ
4. เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพา – เนื้อหาแบบตัวหนังสือ สามารถแปลงไปใช้งานกับ อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่อง PDA เป็นต้น
5. กระจายตัวได้ง่าย – ไม่มีเนื้อหารูปแบบไหน ง่ายเท่ากับตัวหนังสืออีกแล้ว ลองนึกถึงการ cut and paste แบบที่เราชอบใช้กัน บางครั้งนักท่องเว็บก็อาจจะอยากส่งต่อให้เพื่อนอ่านง่าย ๆ เพียงแค่ copy แล้วไป paste ใส่ไปในทางอีเมล์
ซึ่ง steve ยังบอกอีกว่า เนื้อหาที่กระจัดกระจายในโลกนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นตัวอักษร ตัวอย่างเช่นใน twitter หรือแม้ social network อย่าง facebook ซึ่งเว็บเหล่านี้มีเนื้อหาเป็นตัวอักษรเยอะทีเดียวครับ ดังนั้นเราน่าจะเห็นทิศทางว่า เนื้อหาแบบตัวหนังสือ น่าจะยังได้รับความนิยม ต่อไปอีกนานครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
ปี 2552 นี้นักการตลาดในอเมริกา เทงบไปที่ Online Video เยอะขึ้น จากการสำรวจของ Permission TV ในคำถามที่ว่า ปีนี้นักการตลาด จะเ้น้นการใช้งานอะไรในการใช้สื่อ digital marketing บ้าง
ซึ่ง Online Video มาแรงเกือง 70% เลยทีเดียวตามมาด้วย Social Media 41% และ Search 34% ตามลำดับ (Podcasts/Webcasts 32%, Rich Media 30.5%, Banner Ads 22.8%, Mobile 17.4%, Other (Please Specify) 6.8%)
ซึ่งถ้าผมลองดูแล้ว ก็สอดคล้องกับตลาดของไทยเช่นกัน โดยถ้าเรามองถึงการใช้ Online Video เราก็มักจะนึกถึง Youtube และถ้ามองกันตามสถิติ ในประเทศไทยตอนนี้ เว็บ Youtube เป็นอันดับ 4 ที่คนไทยเข้าใช้งานมากที่สุดด้วย
แนวโน้ม และโอกาสของ Digital Marketing ไทยในปี 2552 (ภาคจบ)
0 comments Posted by wittybuzz at 12:31 AM
4. Search Marketing ร้อนแรงไม่หยุด
ปี 2551 ที่ผ่านมา การโฆษณาผ่าน Search Engine อย่างเช่นการใช้ Google Adwords นั้นได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจประเภท ท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ซึ่งเป็นปกติของธุรกิจแบบนี้อยู่แล้ว เนื่องจากการโฆษณาผ่าน Search Engine มักจะได้ผลการ conversion หรือแปลงกลับไปเป็นยอดขายค่อนข้างสูง แต่ที่น่าจับตามองก็คือ ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ก็เข้ามาใช้ Search Engine Marketing มากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม ในตอนต้นปี 2552 ผมแอบเห็นคุณแก้วสรร หมายเลข 12 ใช้โฆษณา Adwords ในคีย์เวิร์ดคำว่า “เลือกตั้งผู้ว่า” !!
5. Gaming Advertising สนุกสุด ๆ
เรารู้กันว่า คนไทยฮิตเล่นเกมส์กันแบบระเบิดระเบ้อ จากข้อมูลรายงานคีย์เวิร์ดสุดฮิตในเมืองไทย ที่ว่าคำว่า เกมส์ นั้นติดอันดับ 1 ใน 5 ของคำที่คนไทยค้นหามาตลอดหลายปี และปีนี้ก็ยังอยู่ บวกกับเกมส์ใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการจับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ทำให้ปีนี้ การโฆษณาในเกมส์ออนไลน์ มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น คนที่เล่นเกมส์ก็จะได้เห็นโฆษณา ในสถานที่แปลก ๆ ในเกมส์มากยิ่งขึ้น
6. Brand Reputation Monitoring มีส่วนสำคัญ
ได้คุยกับเจ้าของสินค้าบางท่าน บอกว่าปี 2552 นี้เศรษฐกิจไม่ค่อยสู้จะดีนัก ดังนั้นเค้าจึงต้อง รักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ให้ดี ผมเลยมานึกว่า สิ่งไหนจะช่วยรักษาฐานลูกค้าให้เค้าได้บ้าง นอกจากการทำแค่ CRM ปกติแล้ว นั่นก็คือ การดูแลชื่อเสียงของ Brand ที่อยู่บนโลกออนไลน์นั่นเอง เพราะวันนี้ ข่าวหรือความคิดเห็น เกี่ยวกับ brand ที่ออกมาจากความรู้สึกของผู้บริโภคนั้น รวดเร็วมาก เพียงแค่ไม่กี่วินาทีหลังจากใช้บริการ ก็สามารถมาเขียนลงบนอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ดังนั้น การดูแลว่ามีใครพูดถึง brand เราบนโลกออนไลน์นั้น มีความสำคัญมาก หากไม่ดูแลหรือเฝ้าติดตามให้ดี ธุรกิจอาจพังได้ในชั่วพริบตา
7. ผู้โฆษณาเข้าใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นนักการตลาด และเจ้าของสินค้า (ผู้โฆษณา) เริ่มเข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตมากขึ้น คนเหล่านี้เข้าใจลักษณะนิสัย ของผู้บริโภคชาวไทย ที่มีการวิวัฒนาการในการบริโภคสื่อ และใช้ชีวิต ในโลกอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่สุดในปี 2552 นี้ เพราะผมเห็นเจ้าของสินค้า และนักการตลาดระดับสูงหลายท่าน หันมาใส่ใจการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น นี่คือสิ่งที่จะกระตุ้นโอกาสทางธุรกิจ ในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง
ที่มา : เก่งดอทคอม
แนวโน้ม และโอกาสของ Digital Marketing ไทยในปี 2552 (ภาค 1)
0 comments Posted by wittybuzz at 8:29 AM
สำหรับปี 2552 นี้ ตลาด Digital Marketing น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทย จะไม่ค่อยดี แต่ช่องทาง Digital กลับมีโอกาสโตขึ้นด้วยซ้ำ เพราะอาจมีผู้โฆษณาหลายราย โยกงบจากสื่ออื่น ๆ มาลงออนไลน์ มาดูกันดีกว่าครับ ว่าพอจะมีโอกาสดี ๆ ทางด้าน Digital Marketing ในปี 2552 อย่างไรบ้างในสายตาผม
1. โฆษณาทางอินเทอร์เน็ตโดยรวมโตขึ้น
ช่องทางโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต โตขึ้นเนื่องจาก จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทย มีมากขึ้นเพราะค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่นค่าอินเทอร์เน็ต ถูกลง ผมสังเกตเห็นได้จาก จำนวนผู้ใช้ ที่เ้ข้าไปใช้งานเว็บแต่ละแห่ง ของปีที่แล้ว เีทียบกับปีนี้ เห็นว่าโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างเ่ช่น sanook.com กลางปีที่แล้ว มีคนใช้ประมาณ 3 แสนคนต่อวัน แต่ตอนต้นปี 2552 เห็นเลยว่า sanook.com มีคนใช้เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนกว่าคนต่อวัน รวมแล้วเฉพาะ top 10 เว็บไซต์ไทย ก็มีผู้ใช้รวมกันกว่า 2 ล้านคนต่อวันแล้ว มีลุ้นที่งบโฆษณาจากสื่ออื่น จะไหลมาสู่อินเทอร์เน็ต
2. Mobile Marketing น่าลอง
สำหรับโอกาสแรกในปีนี้ เราได้เห็นข่าวว่า TrueMove ได้นำ iPhone แบบเป็นทางการ เข้ามาจำหน่าย เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย นั่นหมายถึงคนไทย จะได้ใ้ช้โทรศัพท์ iPhone กันมากขึ้นไปอีก ในต่างประเทศ เราได้เห็นกันรูปแบบของ application บน iPhone กันเยอะ เพราะว่าที่ต่างประเทศมีคนใช้ iPhone กันมาก ดังนั้นถ้าคนไทยใช้ iPhone กันเยอะ เราก็มีโอกาสได้ใช้ iPhone เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำ marketing ปัจจัยหลักอีกอย่างก็คือ การที่ระบบ 3G กำลังจะเริ่มให้เราได้ใช้แล้ว ถ้ามาจริงและสามารถแพร่หลายได้ ในปี 2552 นี้ ก็มีลุ้นให้ Mobile Marketing เกิด เพราะคนไทยเป็นเจ้าของมือถือกันเกิน 40 ล้านเครื่องแล้ว แถมบางคนถือคนเดียวหลาย ๆ เครื่องอีก จริง ๆ ปีที่แล้วก็ว่าน่าจะเกิดแล้ว แต่ก็ยังไม่เกิดซะที เลยคิดว่า ปีนี้โตขึ้นกว่าเดิมอีก พร้อมมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาให้ใช้กัน เลยคิดว่าปีนี้แหละ …. คอนเฟิร์ม ..เอ้ย ฟันธง!!
3. Social Network ยังอยู่ในกระแส
คนใช้ facebook มักจะบอกว่า ใช้แล้วสนุกกว่า Hi5 แต่ในเมืองไทย facebook ไม่ฮิตเท่าเมืองนอก ที่โตกันโครม ๆ แต่เมืองไทยยังไม่แรงเท่า แต่หลังจากที่นั่งแอบมอง จำนวนผู้ใช้คนไทยใน facebook แล้วเห็นว่ามีอัตราการเติบโตที่ ค่อนข้างสูงและเร็วเหมือนกัน เมื่อปลายปีที่แล้ว ช่วงซักประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ผมลองดูจำนวนสมาชิก facebook ที่เป็นคนไทย เห็นว่ามีอยู่ประมาณ 120,000 คน แต่ต้นปี 2552 พบว่ามีสมาชิกคนไทย เพิ่มขึ้นเป็น 160,000 คนแล้ว facebook ในไทยยังโตได้อีกใช่ไหม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้คนคนหนึ่ง มี account ของ social network หลายแห่งยั้วเยี้ยไปหมด การที่จะสร้างอะไรขึ้นมาอำนวยความสะดวก ให้กับคนที่ใช้หลายๆ social network ให้สะดวกขึ้น ก็น่าสนใจทีเดียว
ที่มา : เก่งดอทคอม
Forrester Research ได้ทำการสำรวจ เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ของ Social Network แล้วพบว่า ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 75% ได้มีส่วนร่วม หรือมีการสมัครสมาชิกไว้กับ Social Network อย่างน้อยหนึ่งแห่ง โดยการสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่า ผู้ที่อ่าน blog และเขียนรีวิวเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าอื่น ๆ มีมากขึ้นจากเดิม 48% กลายเป็น 69%
ถ้ามามองในเมืองไทยกันบ้าง เราจะพบว่า มีข้อมูลหลายตัว ที่บ่งบอกว่า Social Web ต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมในหมู่คนไทย ก็เริ่มที่จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยยกตัวอย่างเช่น hi5 ซึ่งเป็นเว็บที่ฮิตที่สุด เป็นอันดับสอง รองจาก Google ตามรายงานจาก alexa รวมไปถึงเว็บที่ให้บริการพื้นที่ blog อย่าง exteen และ bloggang ก็สามารถเกาะกลุ่มติดอยู่ในท็อปเท็น ของเว็บไซต์ไทย ที่เป็นที่นิยม ตามรายงานจาก TrueHits
สิ่งเหล่านี้ นักการตลาด ควรที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ กันอย่างรอบคอบ เพราะว่าหากเว็บไซต์ Social Web เหล่านี้ เริ่มมีการพัฒนาการไปเป็นสื่อกระแสหลักได้ ลองคิดดูสิครับว่า จะสามารถประหยัดงบโฆษณาใน TV ลงได้เยอะขนาดไหน ถ้าหากผันงบ มาทำการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ประเภท Social Web อย่างนี้ดูบ้างครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
ผมว่าทุกท่านคงรู้จักกับ Bar Code กันแล้ว เพราะทุกสินค้า และห้างร้านบ้านเรา ก็มักจะใช้ตัว Bar Code เพื่อกำกับสินค้า ว่าสินค้าตัวนั้น มีชื่อว่าอะไร ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้อ่าน และประมวลได้อย่างรวดเร็ว แต่คุณ Bar Code ยังดีไม่พอทำให้มนุษย์เรา พยายามคิดสิ่งที่จะสามารถอ่านค่า ได้เร็วกว่า Bar Code ขึ้นมาอีก สิ่งนั้นคือ QR Code ครับ
โดย QR Code ก็คือรหัสชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่า two-dimensional bar code หรือใครจะเรียกว่า 2D bar code ก็แล้วแต่ โดยหลายชื่อนี้ ก็คือ QR Code เหมือนกันครับ ซึ่ง QR Code นี้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก ทำให้เรามักจะเรียกว่า 2D Bar Code กันแทนเพื่อเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า QR Code นั้น ได้ถูกนิยามความหมายว่าเป็น Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งตัวสัญลักษณ์ QR Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปุ่นไปแล้ว
ทุกวันนี้ QR Code นอกจากจะเอาไว้ใช้ในวงการค้าขายสินค้า หรือขนส่งแล้ว ยังเป็นที่นิยมนำเอามาใช้ในการตลาดด้วย เราจะเป็น QR Code ไปโผล่อยู่ตามโฆษณา ในแมกกาซีน หรือป้ายโฆษณา Bill Board เป็นต้น ซึ่งเราสามารถให้ QR Code นี้ เก็บข้อมูล url ของเราได้ และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เราสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับอ่าน QR Code หรือ 2D Bar Code นี้ไว้ในโทรศัพท์มือถือได้ง่าย ๆ แล้ว เมื่อพบ QR Code ในแมกกาซีน หรือป้ายโฆษณา Bill Board ก็สามารถเอามือถือไป scan เพื่อรับข้อมูลนั้นมาได้ โดยสะดวกง่ายดายครับ ซึ่งตัว QR Code นี้สามารถเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ wap url , web url หรือไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
ที่มา : เก่งดอทคอม
ปัญหาของ blogger หลายท่าน คือไม่รู้จะเอาเวลาตอนไหน มาอัพเดท หรือเขียน blog ของตนเองดี ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่เจอปัญหานี้ครับ ช่วงแรก ๆ เขียนไม่เยอะ ก็ไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ แต่เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เริ่มมีบทความเยอะขึ้น และบวกกับหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้เวลาในการ อัพเดท blog มีน้อยมาก ต้องแบ่งเวลาให้ดี เพื่อที่จะได้ทำให้ blog ของเรายังดู สด ใหม่ อยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ คือเทคนิคต่าง ๆ ที่ผมใช้ เพื่ออัพเดท blog ของ wittybuzz.blogspot.com ในช่วงที่มีเวลาน้อย ๆ ครับ
1. คิดหัวข้อเรื่อง เตรียมไว้ล่วงหน้า
ใน WordPress จะมีฟังค์ชั่นให้เขียนบทความ แล้วบันทึกเป็น draft เก็บไว้ได้ แต่ผมมักจะใช้งานมันเพื่อบันทึก หัวข้อเรื่องที่จะเขียน เช่นระหว่างไปทานข้าวเที่ยง นึกหัวข้ออะไรออก ก็จะมาบันทึกหัวข้อ เก็บเป็น draft ไว้ก่อน แล้วค่อยไปเขียนทีหลัง เพราะจะได้ไม่ลืม ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี
2. เขียน blog ตอนตื่นนอน
เวลายามเช้า เป็นช่วงที่สมองจะสดชื่นมาก ๆ คิดงานอะไร ก็สามารถคิดออกได้ง่าย ดังนั้น ตื่นเช้ากว่าปกติ สักครึ่งชั่วโมง แล้วตื่นขึ้นมาปั่นงาน ส่วนใหญ่แล้ว เวลาครึ่งชั่วโมงนี้ ผมมักจะหมดไปกับการเขียนบทความ และการทำภาพประกอบบทความ ดังนั้น การคิดหัวข้อเรื่อง ผมมักจะคิดเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า
3. เขียน blog ตอนก่อนนอน
หากใครไม่ชอบตื่นเช้า ก็ยังพอมีเวลาก่อนนอนครับ ผมเองใช้เวลาก่อนนอน เพื่อออนไลน์ และเขียน blog บ่อยที่สุด คืออัพเดททิ้งไว้เลย พอเช้ามาผู้อ่านก็จะเห็นบทความของเราพอดี หรือบางคนอาจจะใช้ระบบตั้งเวลา เพื่ออัพเดท blog ไว้ก็ได้ เช่น เขียนกลางคืน แต่ตั้งให้มันแสดงบทความใน blog เราตอนเที่ยงของวันถัดไป เป็นต้น แต่ข้อเสียของการเขียน blog ก่อนนอน คือมันง่วงครับ ผมเคยเขียน blog แล้วหลับคาเครื่องคอมพิวเตอร์ บ่อย ๆ ครับ
4. เลือกรูปแบบของบทความให้เหมาะสม
สำหรับผู้ที่มีเวลาเขียนน้อย อย่างเช่นตัวผมนี้ ผมจะเลือกบทความประเภทที่ ไม่ต้องบริโภคเวลา ในการหาข้อมูลเขียนบทความเยอะนัก โดยเฉพาะข้อมูลประเภทข่าว ค่อนข้างใช้เวลาในการเตรียมข้อมูลค่อนข้างเยอะ ไหนจะต้องไปอ่านข่าวจากเว็บต่าง ๆ ไหนจะต้องมานั่งแปล และเขียนให้เป็นสำนวนตัวเอง ส่วนใหญ่พวกบทความข่าวนี้ ใช้เวลาเตรียมการณ์เยอะ ไม่ค่อยเหมาะกับผม ที่มีเวลาน้อยมาก ๆ ดังนั้น บทความส่วนใหญ่ของผม จะออกเป็นบทความแนวที่เขียนขึ้นมาเอง เรียกว่าทุกอย่างมันอยู่ในหัว นึกขึ้นมาได้เรื่อยๆ เขียนจากประสบการณ์ และความเข้าใจ ผมมักจะเขียนบทความแบบนี้ ตอนช่วงก่อนนอน และช่วงเช้า ส่วนบทความประเภทข่าว หรือแบบที่ต้องเตรียมข้อมูลนาน ๆ นั้น ผมจะใช้เวลาเขียนตอนวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เพราะจะได้มีเวลาเตรียมตัวนานหน่อย
ผมคิดว่า แนวทางการอัพเดท blog ของผม คงมีประโยชน์กับหลาย ๆ ท่าน ให้ลองเอาไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ ท่านใดมีแนวทาง หรือเทคนิค ในการบริหารจัดการเวลาในการเขียน blog ก็ลองแนะนำกันมาทางระบบ comment ได้เลยนะครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น Hi5 หรือว่า Facebook ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
เมื่อหันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอโดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูปภาพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้่
ที่มา : เก่งดอทคอม
สำหรับ blog หรือเว็บเล็ก ๆ ที่ยังมี traffic หรือคนเข้าเว็บไม่เยอะ แต่หากต้องการจะขายโฆษณา จะตั้งราคาค่าโฆษณาของเรา อย่างไรดี คำถามนี้เป็นคำถามที่ค่อนข้างจะตอบได้ยาก เพราะหากว่าเราตั้งราคาถูกไป ก็ไม่คุ้ม ตั้งแพงไป ก็ไม่มีคนซื้อ ดังนั้นการตั้งราคาค่าโฆษณา ที่เหมาะสม น่าจะเป็นคำตอบที่สวยหรูที่สุด
การตั้งราคาแบนเนอร์โฆษณา ที่เหมาะสมนั้น ย่อมต้องมีเหตุผลที่มาที่ไป เรามารู้จักราคาค่าโฆษณากันซักสองแบบก่อน ที่ผมเห็นบ่อย ๆ มักจะมีการขายค่าโฆษณากันอยู่สองแบบใหญ่ ๆ ในเมืองไทย ก็คือการขายโฆษณาแบบตั้งราคาขายเป็น CPM หรือเราอาจจะเข้าใจกันง่าย ๆ ว่า cost per thousand ก็คือราคาขาย ต่อหนึ่งพันหน่วยนั่นเอง เช่นเราอาจจะเคยเห็นเว็บแห่งหนึ่ง ตั้งราคาขายว่า CPM ละ 300 บาท นั่นหมายถึงราคาขาย 300 บาท จะแสดงแบนเนอร์ได้ 1,000 ครั้ง (impression) นั่นเอง การตั้งราคาในรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับ blog หรือ เว็บที่มี traffic คนเข้าเว็บเยอะแล้ว สามารถแบ่งขายเพื่อให้แบนเนอร์นั้น rotate หมุนสลับกันไปเรื่อย ๆ จะทำให้เราสามารถรับโฆษณาได้หลายเจ้า ในตำแหน่งเดียวกัน
อีกรูปแบบหนึ่ง ของการตั้งราคาขายแบนเนอร์ ก็คือการตั้งราคาแบบ Fixed Position หรือราคาเหมานั่นเอง การขายแบนเนอร์ในลักษณะเหมาจ่าย จะเป็นการแสดงแบนเนอร์เพียงเจ้าเดียว ในตำแหน่งนั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งราคาแบบเหมา แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองใช้วิธีนี้ครับ ลองดูจำนวน page views ของเว็บเรา เช่นเดือนหนึ่งจะมีคนดูเว็บประมาณ 10,000 page views ก็ลองหาร 1,000 ดูก่อนครับ ตัวเลขจะได้ 10 หน่วยของ CPM แล้วลองตั้งราคาของเราเทียบกับ CPM เช่น ถ้าสมมติเราขาย CPM ละ 300 บาท ดังนั้นเมื่อเราต้องการขายแบบ fixed เราก็จะได้ราคา CPM x จำนวนหน่วย (จากตัวอย่างนี้คือ 300 x 10) เราจะได้ราคาขายออกมาคือ 3,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น การคิดราคาแบบนี้ ค่อนข้างจะคิดได้ง่าย แหละมีหลักการณ์ในการคิดที่ัชัดเจน ไม่ใช่การนั่งเทียนตั้งราคา เหมาะสำหรับเว็บเล็ก ๆ ที่ยังมี traffic ไม่เยอะนัก พอเว็บเรามีคนเข้าเยอะเมื่อไหร่ ค่อยเปลี่ยนไปขายโฆษณาเป็นแบบ CPM ก็ได้ครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
ทำอย่างไร ให้วงการโฆษณาออนไลน์ของไทย โตขึ้นจาก 0.8% เป็น 2%
0 comments Posted by wittybuzz at 8:50 AM
ก่อนอื่น คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการโฆษณา อาจจะงงกับตัวเลข 0.8% หรือ 2% มันคืออะไร ผมขออธิบายอย่างง่าย ๆ ได้ว่ามันคือ จำนวน 0.8% ของเม็ดเงินมูลค่าการซื้อโฆษณา ทั้งหมดของประเทศไทย คือถ้าเทียบร้อยเปอร์เซ็น จะพบว่า งบโฆษณาส่วนใหญ่ ไปตามสื่อกระแสหลัก เช่น โฆษณาในโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์เป็นต้น ยิ่งเป็นโฆษณาทีวีด้วยแล้ว กินเงินไปเยอะเชียวครับ แต่เม็ดเงินจำนวนแค่ 0.8% ที่มาซื้อออนไลน์นั้น ยังถือว่าน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียแปซิฟิค
ดังนั้น วงการโฆษณา Digital Marketing รวมทั้งวงการเว็บมาสเตอร์ ต้องการที่จะเห็นเม็ดเงินโฆษณา ไหลเข้ามาสู่สื่อ Digital มากยิ่งขึ้น เลยมีคำถามออกมาว่า “ทำอย่างไร ให้การใช้เงินโฆษณาออนไลน์ โตจาก 0.8% ไปเป็น 2%”
ผมตอบไปในงานจิบกาแฟ อย่างคร่าว ๆ ว่า ต้องเป็นความร่วมมือกันหลายฝ่าย มันถึงจะดันให้ตลาดโตขึ้นมาได้ โดยแบ่งเป็นสามฝ่ายใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ฝ่ายเจ้าของเว็บ
เราสามารถเรียกเว็บต่าง ๆ ได้ว่าเป็นสื่อแต่ละยี่ห้อนั่นเอง ทางเจ้าของเว็บเอง ต้องทำให้เว็บไซต์มีเนื้อหาที่ดี และมีประโยชน์ให้กับผู้เข้าชมอย่างชัดเจน ไม่ทำการสร้างทราฟฟิคหลอก ๆ ขึ้นมา เช่นการใช้เทคนิคด้านมืด โกงให้ตัวเลขคนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้มีคนมาลงโฆษณา หากเจ้าของเว็บทำแบบนี้แล้ว และมีคนมาลงโฆษณาจริง แต่พอเมื่อจบแคมเปญ จะพบว่าเว็บที่ตัวเลขคนเข้าเว็บเยอะ แต่ไม่ได้มีคนเข้ามาจริง ๆ ผู้โฆษณา หรือผู้กุมเงิน ก็จะผลตอบแทนอย่างที่ควรจะเป็น สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ ของคนกำเงิน (หรือผู้ซื้อโฆษณานั่นเอง) หากผู้โฆษณาไม่เชื่อถือ สื่ออินเตอร์เน็ท ก็จะทำให้ตลาดไม่โตเท่าที่ควร
2. ฝ่ายเอเจนซี่โฆษณา
ฝ่ายนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวกลาง ทำให้ผู้ซื้อโฆษณา มาเจอกับเจ้าของเว็บ หน้าที่ของเอเจนซี่คือ การวางแผนให้แคมเปญต่าง ๆ ของลูกค้า ประสบความสำเร็จ มีบทบาทสำคัญคือ ต้องวางแผน และให้คำแนะนำกับทั้งเจ้าของเว็บ และผู้ซื้อโฆษณา ได้อย่างดี เพราะการวิเคราะห์ที่ผิดพลาดต่าง ๆ ก็จะทำให้ผู้ซื้อโฆษณา ไม่ได้รับแคมเปญโฆษณาที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ดังนั้นทางฝ่ายเอเจนซี่ ก็ต้องทำงานวางแผน digital marketing ให้ดี และก็ต้องมีสอนให้ลูกค้า รู้จัก และเข้าใจสื่อ digital media มากยิ่งขึ้น
3. ฝ่ายผู้ซื้อโฆษณา
เรามักจะแอบเรียกฝ่ายผู้ซื้อโฆษณาว่า “ลูกค้า” ซึ่งลูกค้าเอง ก็ต้องเข้าใจในมุมของ Digital Marketing ว่า มันสามารถทำแคมเปญโฆษณา ได้ตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการได้จริง ๆ
โดยทั้ง 3 ฝ่าย ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ซึ่งทั้งสามฝ่าย ก็มีงานที่หนักในส่วนของตัวเองกันทั้งนั้น ดังนั้นก็คงต้องร่วมมือกัน ในทุก ๆ ส่วนครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
เจ้าของเว็บต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง
เมื่อเรารู้แล้ว ว่าเอเจนซี่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ ทางเว็บเอง ก็ต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ ไว้ด้วยเหมือนกัน เช่น
1. ข้อมูลสถิติคนเข้าเว็บ
ก็ควรจะเตรียมไว้ เรามักจะเห็นว่าเว็บใหญ่ ๆ ติดตัววัดสถิติของ TrueHits.net ซึ่งเว็บไซต์ในไทย ส่วนใหญ่จะติดกัน ทำให้เอเจนซี่ (ไม่) มีทางเลือก และต้องพิจารณาจากข้อมูลสถิติของ TrueHits เพราะเป็นตัววัดเดียว ที่เว็บต่าง ๆ ใช้ ทำให้เทียบกันได้ง่าย ในมาตรฐานเดียวกัน หลายคนถามว่า Google Analytics ไม่ดีเหรอ ผมตอบได้ว่า Google Analytics เป็นตัววัดสถิติที่ดี และผมเองก็ใช้วัดเว็บผม แต่ว่า เอเจนซี่ไม่สามารถเอาข้อมูลจาก Google Analytics ของคุณ ไปเทียบกับ ข้อมูลเว็บอื่น ที่ไม่ได้วัดด้วย Google Analytics นั่นเอง
2. ข้อมูล Demographic
สิ่งต่อมาที่เอเจนซี่และลูกค้า อยากจะรู้ ก็คือข้อมูล Demographic ว่าเว็บของคุณ มีใครเข้ามาบ้าง เป็นชายกี่เปอร์เซ็น หญิงกี่เปอร์เซ็น กลุ่มอายุไหนกี่เปอร์เซ็นบ้าง ทางเว็บเอง ก็ต้องหาข้อมูลเหล่านี้ มาเตรียมไว้ วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ก็คือ การทำ Survey ในเว็บเลยครับ หรือไม่ก็อาจจะใช้ข้อมูล จากฐานสมาชิกของเราเองแทนก็ได้ สามารถดึงออกมาแปลงเป็นข้อมูล demographic ได้เช่นเดียวกัน
3. จุดเด่นและข้อมูลอื่น ๆ ของเว็บ
ข้อมูลในส่วนอื่น ๆ เช่น ข้อมูล lifestyle ของคนเข้าเว็บคุณ หรือข้อมูลว่า ส่วนไหนในเว็บไซต์ของคุณ มีคนเข้าเยอะ เข้าน้อย เป็นต้น และนอกเหนือจากนี้ ข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือ ข้อมูล profile ของเว็บ ว่าเว็บไซต์คุณทำเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้เอเจนซี่ และ ลูกค้า ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม
การที่มองเห็นจากหลายมุม ทำให้พอมองภาพออกว่า เว็บไซต์เล็ก ๆ มักจะถูกมองข้าม จากเอเจนซี่ โฆษณา และลูกค้าเอง แต่ก็ต้องขอบอกว่า ไม่เสมอไป เพราะว่าเคยมีเว็บไซต์เล็ก ๆ ที่มีเอเจนซี่โฆษณา ติดต่อเข้ามา ขอลงโฆษณาหลายแห่ง บางคนบอกว่า เพราะลูกค้าบอกมาว่าจะลงเว็บนี้ ทำให้เอเจนซี่เอง ก็ต้องติดต่อมาเหมือนกัน เรียกได้ว่า โอกาสเริ่มเปิดกว้าง ให้กับเว็บเล็ก ๆ เช่นกัน แต่ก็ต้องบอกว่า เว็บเล็ก ๆ นั้น ก็ต้องมีจุดที่น่าสนใจ เช่นเนื้อหาเฉพาะทาง หรือเป็น niche market นั่นเอง
เอเจนซี่และลูกค้า เลือกซื้อโฆษณาอย่างไร
เรื่องการซื้อโฆษณาในเว็บ หรือ blog สำหรับลูกค้าแล้ว มักจะเห็นว่า เว็บเล็ก ๆ อย่าง SMEs นั้นอาจจะวางแผนซื้อสื่อโฆษณาเอง แต่สำหรับแบรนด์สินค้าใหญ่ ๆ มักจะเลือกใช้เอเจนซี่โฆษณา เจ้าของเว็บบางท่าน ที่เคยไปลองเสนอขายพื้นที่โฆษณา กับเจ้าของแบรนด์โดยตรง อาจจะเคยได้รับคำตอบประมาณว่า ให้ไปคุยกับเอเจนซี่ ที่แบรนด์นั้นใช้อยู่ เป็นต้น
เมื่อเอเจนซี่ จะมองหาเว็บไซต์ เพื่อซื้อโฆษณา ให้กับลูกค้า ที่เป็นแบรนด์ใหญ่ ๆ ก็มักจะต้องมีข้อมูล ไปสนับสนุนการขายโฆษณา เช่นสถิติจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ ข้อมูล demographic ว่าเว็บนี้เว็บนั้น มีคนกลุ่มไหนมาเข้าเว็บมากน้อยแค่ไหน เช่นกลุ่มอายุ 12-15 ปี เข้าเว็บนี้กี่เปอร์เซ็น เป็นต้น
ที่มา : เก่งดอทคอม
หลายท่านได้ตั้งหน้าตั้งตา ทำ Search Engine Optimization (SEO) ให้กับเว็บของตัวเอง แต่รู้ไหมว่า หน้าไหนบ้าง ที่ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะมันไม่ค่อยมีผลอะไรซักเท่าไหร่
ไปอ่านเจอมาจากบทความที่ชื่อ Search Engine Optimization Time Waster เค้าบอกว่า มีอยู่บางหน้า ที่เราไม่จำเป็นต้องไปเน้น ทำ Search Engine Optimization มันก็ได้ครับ ซึ่งหน้าเว็บเหล่านั้นมีดังนี้
About Me
หน้า About Me หรือ About us นั้น ไม่จำเป็นต้องทำ Search Engine Optimization ก็ได้ ยกเว้นเสียแต่ว่า หน้า About me นี้สำคัญมาก ๆ ต่อธุรกิจคุณ หรือเป็นกลยุทธสำคัญ ในการเรียกคนเข้าเว็บ โดยใช้เทคนิค Search Engine Optimization
Contact Us
หน้า contact us นี้เป็นหน้าที่ไม่จำเป็นต้อง ให้คน Search พบใน Search Engine ก็ได้ เพราะผู้ชมมักกจะเข้ามาในเว็บไซต์เรา แล้วก็อาจจะแวะไปหน้า contact us เพียงครั้งเดียว เมื่อเค้าต้องการติดต่อเรา
Privacy Pages
หน้า Privacy นี้ยิ่งไม่จำเป็นต้องให้ค้นหาเจอจาก Search Engine เลยด้วยซ้ำไป
Disclosure Page
ถ้าเว็บในประเทศไทย เราก็จะเปรียบเทียบได้ว่าเป็น หน้านโยบายของเว็บ หรือข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายเป็นต้น หน้านี้ไม่ต้องการทำ Search Engine Optimization เช่นกัน
Sitemap
ก็เป็นหน้าที่ใส่ข้อมูลทุกหน้าในเว็บไซต์ไว้ด้วยกัน ซึ่งหน้า Sitemap นี้ก็ไม่ต้องการ การจัดอันดับ จาก Search Engine
สิ่งที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นถึงหน้าเว็บ ที่เราไม่จำเป็นต้องไปใช้เวลาในการทำ Search Engine Optimization กับมันมากนัก เพราะการทำ Search Engine Optimization นั้นเป็นการทำงานที่ค่อนข้าง ใ้ช้เวลามาก ดังนั้น เอาเวลาไปเน้น กับหน้าที่เราต้องการหวังผล จากการทำ Search Engine Optimization ให้มากที่สุดดีกว่าครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม