* Blog รูปแบบที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากของ CGM หลาย ๆ บริษัทนำมาใช้สื่อสารกับลูกค้าเช่น nokia n90 blog, hp blog ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่จะเปิดให้ผู้ใช้สินค้าของตนเองแสดงความคิดเห็นต่ตัวสินค้า หรือบริษัท ซึ่งข้อมูลที่ได้บางครั้งอาจจะได้มากกว่าการทำ Focus Group เสียอีก เพราะผู้ที่เข้ามาอ่านหรือเขียน blog comment ก็จะเป็นเหล่าสาวกหรือผู้สนใจในตัวสินค้าหรือบริการจริงๆ
* Webboard หรือ Forum CGM ที่มีมานานแล้วในบ้านเรา webboard เป็นเหมือนเสียงสะท้อนในของกลุ่มผู้มีความสนใจเหมือน ๆ กัน จะสังเกตุได้ว่า webboard ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกกำหนดหรือสร้างขึ้นโดยเจ้าของสินค้าหรือบริการอย่างชัดเจน เหมือน blog แต่เจ้าของสินค้า/บริการจากความคิดเห็นนั้นมาเป็นข้อมูลในการทำการตลาดต่อไป
* Rating and Review เป็นการจัดอันดับให้กับสินค้า บริการ หรือตัวเว็บไซต์เอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ amazon.com ซึ่งให้ผู้อ่านสามารถโหวตและแสดงความเห็นต่อหนังสือได้ การทำ rating หรือทำการ vote นี้เป็นการมุ่งสร้างความน่าเชื่อถือโดยการขอเสียงจากผู้ชมนั่นเอง
* Club site น่าจะเป็นวิธีที่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมและ ได้เสียงจากสาวกพอสมควร เพราะ website ประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกและรับรู้ความต้อง การของสมาชิกที่สนใจจริง ๆ
* Third-party Web sites. ในบ้านเรา น่าจะยังไม่มี website ประเภทนี้ website ที่ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย หรือ ไม่พอใจจากสินค้าหรือบริการ สามารถโพสก์ประสบการณ์แย่ ๆ ที่มีต่อสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่บ้านเรามักจะแฝงอยู๋ในเว็บบอร์ดมากกว่า ตัวอย่างของเว็บไซต์ประเภทนี้เช่น complaints.com, my3cents.com เป็นต้น ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของตน ผ่านเว็บประเภทนี้ได้เช่นกัน
ที่มา : ไทยเวปมาร์เก็ตติ้งดอทคอม