A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


หลายคนอาจเคยเห็นการจดชื่อโดเมนเนมเว็บไซต์เป็นภาษาไทยแล้วตามด้วย อักขระอังกฤษ".com"หรือ".co.th" แต่ล่าสุดคณะกรรมการกำหนดชื่อและเลขหมายสำหรับใช้บนอินเทอร์เน็ตอย่าง "ไอแคนน์ (ICANN)" กำลังพิจารณาอนุมัติให้ชื่อโดเมนเนมไม่ต้องมีอักขระภาษาอังกฤษเป็นส่วน ประกอบใดๆ โดยสามารถใช้อักขระภาษาอื่นเขียนแทนได้ทั้งหมด คาดว่าการอนุมัติจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2552 หลังจากทดสอบแล้วประมาณ 2 ปี

การอนุมัติกฎการตั้งชื่อที่อยู่เว็บไซต์หรือเว็บแอดเดรสโดยไม่ใช้ อักขระภาษาอังกฤษนั้นถูกมองว่าคือการเปลี่ยนแปลงด้านเทคนิคครั้งใหญ่ที่สุด ของวงการอินเทอร์เน็ตตลอดประวัติศาสตร์ 40 ปีที่ผ่านมา โดยประเด็นทั้งหมดจะถูกยกขึ้นมาพิจารณาในงานประชุมประจำปีของคณะกรรมการ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers หรือ ICANN (สำนักงานใหญ่อยู่ที่แคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ) ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

การปลดข้อจำกัดให้การเขียนเว็บแอดเดรสไม่ต้องอยู่ในรูปสคริปต์ภาษาละ ตินนี้เกิดขึ้นบนความหวังว่าชาวโลกที่ไม่มีความรู้เรื่องภาษาอังกฤษจะสามารถ เข้าเว็บด้วยการพิมพ์เว็บแอดเดรสในภาษาที่ตัวเองถนัดได้มากขึ้น เช่น ภาษาอาหรับ เกาหลี ญี่ปุ่น กรีก ฮินดี และภาษาไซรีลลิค (Cyrillic) ของชาวรัสเซีย โดยปีเตอร์ เดนเกต ธรัช (Peter Dengate Thrush) ประธานคณะกรรมการไอแคนน์เชื่อว่าจะมีการอนุมัติอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุม

****ภาษาไทยคงต้องรอก่อน

แนวคิดเรื่องการตั้งชื่อโดเมนเนมเป็นภาษาท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะธรัชกล่าวว่า ไอแคนน์ได้ทดสอบระบบแปลงสคริปต์ภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษให้เป็นแอดเดรส ปกติมานานกว่า 2 ปีแล้ว การทดสอบทำให้ไอแคนน์มีความพร้อมและมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ชาว โลกได้ประโยชน์และเป็นที่นิยม และการอนุมัติจะทำให้ไอแคนน์สามารถให้บริการระบบที่มีความพร้อมสุดขีดนี้ อย่างเต็มตัว

ชื่อโดเมนเนมแบบไร้ภาษาอังกฤษนี้รู้จักในชื่ออย่างเป็นทางการว่า IDN TLD (IDN ย่อมาจาก Internationalized Domain Names; TLD ย่อมาจาก Top Level Domain) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ บริษัทในประเทศไทยจะสามารถใช้ตั้งชื่อเว็บแอดเดรส์โดยลงท้ายว่า ".บริษัท" ได้แทน ".com" หรือ ".ประเทศไทย" ได้แทน ".th" โดยที่ผู้ใช้ซึ่งออนไลน์จากทั่วมุมโลกจะสามารถเข้าเว็บได้หากพิมพ์ภาษาไทย ได้ ต่างกับบริการชื่อโดเมนเนมภาษาไทยที่ให้บริการแล้วในขณะนี้

อักขระภาษาอังกฤษนั้นใช้เขียนแสดงที่อยู่เว็บไซต์ในเครือข่ายอิน เทอร์เน็ตมาตั้งแต่ยุคระบบปิดซึ่งใช้งานเฉพาะในกลุ่มมหาวิทยาลัยและกองทัพ อเมริกันในปี 1969 จนถึงช่วงปี 1990 ที่เริ่มเข้าสู่ระบบเปิด จุดนี้ร็อด เบคสตรอม (Rod Beckstrom) ประธานและซีอีโอคนใหม่ของไอแคนน์ระบุว่าหากไอแคนน์อนุมัติให้เว็บแอดเดรสไม่ ต้องใช้อักขระภาษาอังกฤษ ไอแคนน์ก็จะเริ่มรับรองแอปพลิเคชันที่ใช้ชื่อโดเมนเนมเป็นภาษาอื่น เข้าสู่ระบบแอดเดรสของไอแคนน์อย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเต็มตัวได้ในช่วงกลางปี 2010

อย่าง ไรก็ตาม ไอแคนน์ยังไม่ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุมัติชื่อโดเมนเนมภาษาท้องถิ่น ครั้งนี้ แต่จากการประกาศทดสอบระบบเมื่อปี 2550 ระบุว่าจะนำร่องโครงการก่อนในบางภาษา โดยเลือกจากสังคมออนไลน์ที่แสดงความสนใจ และต้องการใช้โดเมนเนมที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษมากที่สุดก่อน ซึ่งยังไม่มีรายงานว่ามีภาษาไทยอยู่ในรายการด้วยหรือไม่

****แนวโน้มจำเป็น

เบคสตรอมระบุว่าในจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้อักขระภาษาอื่นที่ไม่ใช่ละติน โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงเป็นสิ่งจำเป็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน ปัจจุบันนี้ แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้รายใหม่ในอนาคตที่จะหันมาใช้อินเทอร์เน็ตกัน มากขึ้น

ขณะที่บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจขายโดเมนเนมให้กับภาคธุรกิจ คาดว่าโดเมนเนมภาษาท้องถิ่นจะเป็นผลดีกับธุรกิจมากขึ้น อาจจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่หลังจากที่ผ่านมา รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจนี้มาจากการจดทะเบียนชื่อตามรหัสประเทศเป็นส่วนใหญ่

ในส่วนเจ้าของเว็บไซต์ เชื่อว่าโดเมนเนมชื่อท้องถิ่นจะทำให้ลิงก์เว็บไซต์ปรากฏบนหน้าสืบค้นข้อมูล ได้ดีขึ้น เพราะผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่มักจะป้อนคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหาในเสิร์ชเอน จิ้นเป็นภาษาท้องถิ่นด้วย

มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย โดเมนเนมภาษาท้องถิ่นนั้นยังมีข้อจำกัดในขณะนี้ เช่น การไม่สามารถใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โปรแกรมเบราว์เซอร์รุ่นเก่า ขณะเดียวกัน ผู้สังเกตการณ์ในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตบางกลุ่มเคยออกมาแสดงความไม่เห็น ด้วยกับการตั้งโดเมนเนมในภาษาอื่นนอกจากอังกฤษ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าหากมีการใช้ชื่อโดเมนเนมเป็นภาษาอื่นอย่างกว้างขวาง จะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตแตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆเฉพาะในพื้นที่ แทนที่จะใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลและเปิดกว้างให้ชาวโลกติดต่อกันได้ทุก ประเทศ

อย่างไรก็ตาม เบคสตรอมระบุว่า ที่ผ่านมากลุ่มคนบางกลุ่มในหลายพื้นที่ทั่วโลกล้วนทำงานผ่านแอดเดรสภาษาท้อง ถิ่นกันแล้ว ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า การอนุมัติและวางแนวทางการเติบโตของโดเมนเนมภาษาท้องถิ่นอย่างจริงจังนั้น เป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต

ที่มา : เมเนเจอร์ดอมซีโอดอททีเฮช

0 Comments:

Post a Comment



Newer Post Older Post Home