CASE STUDY#1 ในประเภทของตัวอย่างการออกแบบโลโก้วันนี้เป็นบทความจากเว็บ Spoon Graphics - How to Design a Logotype from Conception to Completion เป็นตัวอย่างของการออกแบบโลโก้ให้กับธุรกิจให้บริการด้านเว็บไซต์และงานออก แบบที่เกี่ยวข้องที่ชื่อ PurpleLemon (สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นกรณีศึกษาเฉยๆ) โดยในบทความนี้จะพูดถึงการทำงานตั้งแต่แนวความคิดจนถึงงานที่เสร็จสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้จริง
ในตัวอย่างนี้จะไม่พูดถึงรายละเอียดของที่มา เพราะเรื่องนี้เป็นส่วนที่นักออกแบบกับลูกค้าควรจะมีการตกลงกันเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่โลโก้สามารถใช้งานได้จริงและทำให้คนจดจำได้ ตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนี้จึงเป็นเพียงแบบคร่าวๆของการออกแบบโลโก้เท่านั้น และกฎที่ควรเอาไปใช้ในการออกแบบโลโก้คือ
1. ใช้โปรแกรม Illustrator ในการออกแบบให้เป็นภาพ Vector เสมอ (เป็นภาพที่คอมจะคำณวนเส้นที่ปรากฎเสมอเวลาที่เปิดดู ลักษณะจะไม่เห็นเป็นสี่เหลี่ยมต่อๆกันชัดอย่างภาพประเภท pixel เช่น ภาพไฟล์ JPG) ข้อดีของไฟล์ภาพกราฟฟิกที่เป็น Vector คือสามารถย่อขยายได้โดยที่ภาพไม่เสีย ไม่แตก และพิมพ์ลงวัสดุได้หลากหลายโดยยังคงความชัดเจนอยู่
2. อย่าลืมคิดถึงเรื่องของการพิมพ์โลโก้ลงบนสิ่งพิมพ์ที่ใช้ได้สีเดียวอย่าง Fax หรือการพิมพ์ลงบนพื้นหลังที่เป็นสีดำ และยังคงเอกลักษณ์ที่คนเข้าใจและจดจำได้อยู่
3. คิดถึงขนาดโลโก้ที่สามารถย่อจนมีขนาดเท่าตราไปรษณีย์ หรือลงนามบัตรได้โดยที่ยังสามารถเห็นได้ชัดเจนอยู่
4. จำกัด ขอบเขตของการใช้สีในโลโก้ที่ต้องการจะออกแบบโดยอิงจาก Pantone หรือ CMYK เพื่อให้สีที่พิมพ์ออกมาได้ถูกต้องตามต้องการและมีมาตรฐาน
5. ลักษณะตัวอักษร สี และรูปแบบ ควรจะสื่อถึงประเภทของธุรกิจและบริการได้ด้วย
จากปากกาจนถึงโลโก้พร้อมใช้งาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
ก่อนที่จะเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ใมนการออกแบบ จะเป็นการดีกว่าถ้าใช้การร่างด้วยมือก่อน ส่วนจะวาดลงที่ไหนก็แล้วแต่สะดวกหรือว่าแนวความคิดที่ออกมา มาตอนไหนและอะไรที่จะใช้บันทึกได้และอยู่ใกล้มือที่สุด บางทีการดึงรูปจาเน็ตมาใช้ก็ไม่ได้เป็นการละเมิดความคิดคนอื่นเสมอไป ถ้ามันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะใช้ในการออกแบบ หรือใช้เป็นแนวทางหรือแนวความคิด เช่น รูปสวยๆที่เจอ รูปที่น่าจะเป็นแนวทางได้ หรือตัวอย่างโลโก้ในสไตล์ที่จะทำ กระทั่งโลโก้ของคู่แข่งของลูกค้าที่ทำงานให้ก็ยังใช้เป็นแนวทางได้ ในที่นี้เลือกรูปเลมอนมาใช้ เป็นทั้งแนวความคิดและลักษณะรูปแบบของเลมอนที่ถูกต้อง
* เมื่อเปิดคอมฯ และเปิดโปรแกรม lllustrator มาแล้ว เลือกพื้นที่ทำงานโหมด CMYK ขึ้นมา วาดรูปที่ต้องการจะใช้เป็นโลโก้ จะเริ่มจากใช้เครื่องมือหัวปากกา ร่างโครงก่อนแล้วมาปรับด้วยรูปเครื่องมือหัวปากกาที่มีเครื่องหมายบวกหรือลบ จัดการปรับ เพิ่ม ลดจุดก็ได้ จะใช้ตัวเรขาคณิตสำเร็จ หรือเอาจากในส่วนของรูปทรงอิสระก็ได้ วาดให้เป็นรูปปิดและใส่สีทั้งรูปแบตัวเส้นโครงให้เรียบร้อย ถ้าไม่เอาเส้นโครงก็กดรูปกรอบสี่เหลี่ยมใต้แถบเครื่องมือให้โชว์เต็มๆอยู่ ด้านบนสี่เหลี่ยมอีกอัน และกดให้มีขีดสีแดงคาดทับก็ได้
* ในที่นี้ผู้เขียนเลือกรูปเลมอน ก็จะเริ่มจากรูปวงกลมสามวง วงเล็กสองวงที่เป็นส่วนปูดๆของผลเลมอน และวงใหญ่อีกวงวางระกว่ากลาง ใช้ Pathfinder รวมทั้งสามวงเข้าด้วยกัน
* จากนั้นใช้เครื่งมือรูปหัวปากกาในการวาดเส้นทับบนโครงที่ใช้วงกลมสามวง ปรับส่วนเว้นส่วนโค้งให้สวยงาม จะขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อดูราบละเอียดเฉพาะส่วนก็ได้ (แนะนำเพิ่มให้ว่า จะแยก layer ของวงกลมสามวงที่ทำเป็นโครงไว้ กับส่วนที่วางทับก็ได้) เพิ่มรายละเอียดของรูปเข้าไปตามต้องการ ส่วนนี้อาจจะไม่ต้องใส่ใจมากนักว่าถ้าพิมพ์ออกมาจะไม่เห็น เพราะโครงที่ทำไว้มันค่อนช้างชัดเจนอยู่แล้ว และส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือตัวอักษร (ที่ดูเหมือนว่าจะสำคัญที่สุดด้วยในการออกแบบโลโก้ประเภทนี้) ขั้นต่อมาคือการใส่สีให้รูป ในที่นี้จะใช้สีม่วงตามชื่อบริษัทที่ตั้งไว้เป้นโจทย์ในการออกแบบ และปรับรูปให้เอียง (ตามแบบที่ร่างมือไว้แล้ว ถ้าคิดว่าการปรับรูปให้เอียง หรือบิดรูปจะทำให้โลโก้ดูดีขึ้น หรือจดจำได้ง่านขึ้น)
* หลังจากรูปประกอบเรียบร้อยไปแล้ว คาราวนี้มาทำส่วนต่อไปบ้าง พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการและลองทำหลายๆรูปแบบ เช่น ตัวหนา ตัวเอียง หรือ หนาเอียง รวมทั้งชนิดของตัวอักษร แล้วแต่ความต้องการ (ตามที่วางแนวความคิดไว้แล้ว)
* แปลงตัวอักษรเป็นเส้น จากนั้นปรับความถี่ห่างตามต้องการ จะตกแต่งเพิ่มเติม ปรับสี ปรับขนาด ความหนาบางของเส้นก็แล้วแต่ว่าแนวคิดแบบไหนหรือ สไตล์ที่ต้องการ
* ใช้เส้นไกด์กำหนดตำแหน่งความสูงของรูปกราฟฟิกประกอบและตัวอักษรที่ใช้ ปรับให้ความสูงของทั้งรูปและตัวอักษรอยู่ระนาบเดียวกัน
* ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการใส่สีให้กับตัวอักษร และการตกแต่งเพิ่มเติม ที่สามารถใช้ได้กับเว็บทั้งในเวอร์ชั่นที่ไม่สนับสนุนลูกเล่นและที่รองรับ ลูกเล่นได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงการตั้งสีของโลโก้ในแบบสีเดียวด้วย
ลำดับท้ายสุดเป็นกาารเตรียมโลโก้เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยโลโก้จะถูกจัดเป็นกลุ่มของการนำไปใช้ในหลายๆรูปแบบ เช่น เครื่องเขียน, ใบปลิว, โฆษณา และเว็บไซต์
และแล้วเอาโลโก้ที่พร้อมใช้ไปลองใช้งานจริงดูเลยดี กว่า ให้เวลาสักระยะ เรื่องการหาจำนวนคนที่จดจำได้อาจจะวัดได้ลำบากเพราะใช้เวลาไม่น้อยในการจดจำ เปิดรับ Feedback ไปด้วยเลยว่าโอเคมั้ย น่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่าสำหรับนักออกแบบฝึกหัดล่ะนะ