5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์
ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของคุณ แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูครับว่า ถ้าวันใดที่คุณมีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่คุณต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่คุณเคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว
6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก คุณอาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อคุณเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ ของคุณเช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คนนะครับ ว่าคุณสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเองดูีครับ
7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ (มั่วจริง ๆ เลยผม) ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ ดูนะครับ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งทกินทรัพยากรของระบบ และบล็อกของคุณมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพดังนี้ครับ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองดูเป็น gif นะครับ
ที่มา : เก่งดอทคอม