1. มีเว็บไซต์แล้ว ก็เสริมด้วย Blog ซิ
นอก เหนือไปจากการบอกกล่าวกับลูกค้าของคุณว่า คุณมีสินค้าใหม่อะไรบ้าง หรือเปิดร้านใหม่ที่ไหนยังไง ในหน้าสินค้าอย่างที่เคยเป็นมา เรายังสามารถใช้ Blog นี่แหละเป็นช่องทางในการบอกกล่าวได้อีก แถมยังดูเป็นมิตรมากกว่าที่จะ hardsell แบบโท่งๆ ในหน้า Products นอกจากนี้ ความเห็นจากผู้อ่าน Blog ยังนำมาปรับปรุงสินค้าและบริการของเราอีกด้วยครับ
2. องค์กรไม่มีเว็บ ก็ใช้เครื่องมือสร้าง Blog ทำเว็บไซต์
บริษัท Architel ผู้ให้บริการด้าน IT หรือ IT Outsourcing สร้างเว็บไซต์ของบริษัททั้งไซต์ด้วย Wordpress โดยแบ่งออกเป็นส่วนของหน้าเว็บไซต์บริษัท ส่วนของ News และส่วน Blog ของ CEO คุณ Alexander Muse ประธานบริหารของบริษัทกล่าวว่า การใช้ Blogging Software จะช่วยให้เว็บไซต์ เป็นมิตรกับ Search Engine ได้ดีกว่าการใช้เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อย่างของ Macromedia แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่ต้องพึ่งพา Designer ในการออกแบบ แต่ Designer จะความจำเป็นในขั้นตอนที่จะต้องออกแบบเว็บ เมื่อเว็บไซต์ได้เผยแพร่แล้ว เราจะคุยกับ Designer อีกครั้งเมื่อต้องการเปลี่ยน Design ของเว็บไซต์
3. หาเงินเข้า Blog
Affiliate campaigns เช่น Amazon Associates หรือ Google Adsense คืิอทางเลือกหนึ่งในการหาเงินเข้า Blog ครับ ไม่จำเป็นต้องรอให้จำนวนคนเข้าเยอะ ๆ หรอกครับ ทำไป แล้วค่อยๆปรับปรุงวิธีการหาเงินผ่าน Affiliate แต่คงต้องเลือกให้เหมาะสมครับ เพราะอาจจะทำให้่ดูเป็นการทำการค้ามากไปจนกลายเป็นการหาเงินผ่าน Affiliate แทนการขายของของตัวเอง
4. นำเนื้อหาสำคัญอยากเผยแพร่ไว้หน้าแรก
ลักษณะสำคัญอันหนึ่งของ Blog คือ โพสก์ล่าสุดจะถูกนำเสนอในหน้าแรกของ Blog นั่นคือโอกาสที่คุณจะได้นำเสนอเนื้อหาที่คุณอยากโปรโมท หากคุณบอกผู้เยี่ยมชมว่าสินค้าเก่าดีกว่าสินค้าใหม่ในท้องตลาดอย่างไร คุณก็เขียนเป็นโพสก์เพื่อให้มันอยู่หน้าแรกซะ และทิ้งมันไว้ระยะหนึ่งก่อนจะเขียนโพสก์ใหม่ หรือหากยังไม่ต้องการทิ้งประเด็นที่ต้องการบอกกล่าว แต่ก็ยังคงต้องรักษาความต่อเนื่องในการอัพเดทข่าวสารใหม่ ๆ คุณก็ทำ Link ไปยังโพสก์ที่ว่านั่น เพื่อไม่ให้ประเด็นตกลงไป
5. เครื่องมือฟรีที่ไม่อาจมองข้าม
Blogger.com หรือ Wordpress เป็นเครื่องมือฟรีๆที่ใช้ในการสร้างบล็อกอย่างทรงอานุภาพ ถึงคุณจะมีความรู้ด้านการสร้างเว็บไซต์ไม่มากนัก แต่เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยคุณอย่างมากในการจัดการสร้างและจัดการบล็อกของ คุณได้ในระดับหนึ่ง ประหยัดเวลาในการเขียนระบบบริหารบล็อกขึ้นมาเอง และยังมีเครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการกับบล็อกได้ดีพอสมควร
หนึ่ง - ความเป็นมืออาชีพเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ครั้งแรกที่ คนอื่นจะมองคุณ และไม่มีโอกาสที่ 2 สำหรับการพบกันครั้งแรก หากคนเขาเจอเรา แบบไหนในครั้งแรก เขาก็จะจดจำเราไปแบบนั้นนานเลย ฉะนั้น ภาพแรกที่ทำให้คนเพิ่งรู้จักได้เห็น จะปรุงแต่งอย่างไร ขึ้นอยู่กับคุณ! ฉะนั้น จงพร้อมอยู่เสมอสำหรับครั้งแรก เพราะเราไม่รู้ไปซะทุกครั้งว่า ครั้งแรกจะมีเมื่อไหร่
สอง - เรื่องของการตรงต่อเวลา แค่ผมไปทำงานสาย ก็หมดคุณลักษณะของ Professional แล้วหรือนี่
สาม - เลิกเดา อันนี้ แน่นอน คงไม่มีใครอยากได้ความเห็นจากเราอีกแน่ หากครั้งหนึ่งเราเคยมั่ว!
สี่ - อย่าด่วนสรุป หากยังไม่เข้าใจในประเด็นหรือข้อมูลยังไม่ครบถ้วน
ห้า - รับปากน้อยๆ ทำให้มากๆ
หก - แก้ปัญหาให้สุดความสามารถ แบบที่เรียกว่า ไม่เสร็จแบบเจ๋งๆ ไม่เลิก
เจ็ด - ฝึกฝนการวิเคราะห์ เมื่อรับรู รับฟังแล้วต้องหัดวิเคราะห์สิ่งที่ได้รับรู้ รับฟัง ไม่ใช่ฟังหู ซ้ายทะลุหูขวา
แปด - เชื่อมั่นที่จะแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับคนอื่น จะเป็นอะไรไป ในเมื่อสมองของไม่ได้ห่อหุ้มด้วยกหัวเรา ความคิดก็ต่างกันได้ แต่อย่าแตกแยก ทะเลาะกันก็พอ
เก้า - พูดจาสื่อสารให้ชัดเจนตรงประเด็น
สิบ - ยืนยันความคิดของเรา เพราะคนอื่นไม่ได้ถูกเสมอไป การยืนยันความคิดอย่างถูกต้องย่อมแสดงถึงความมั่นใจ และความเป็นมืออาชีพโดยแท้
บทความนี้นำมาจาก มืออาชีพ (Professional) มีลักษณะอย่างไร ในหนังสือพิมพ์ Post Today
การใช้ CSS ในการกำหนด layout และตกแต่งเว็บไซต์แบบ Tableless ในบ้านเราถือว่ายังไม่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่ยังคงใช้คำสั่ง Table ในการกำหนด Layout ของเว็บ ถึงแม้จะนำ CSS มาใช้บ้างแต่ก็เป็นการผสมผสานกับการใช้ Table แต่ปัญหาที่ผมมาเมื่อครั้งยังใช้ table เป็นหลัก คือหากผมต้่องการปรับเปลี่ยน Layout หรือ หน้าตาเว็บโดยยังคงเนื้อหาเดิมไว้ ผมกลับต้องรื้อ layout ทั้งหมด และเมื่อเห็นหลายๆ เว็บของต่างประเทศที่นำ CSS มาใช้ในการทำเว็บและลองทำดูปัญหาที่เคยเจอก็หมดไป นอกจากข้อดีที่ว่าแล้ว CSS ยังมีข้อดีข้อเด่นอะไรอีกบ้าง เรามาลองดูกันครับ
จุดเ่่ด่น 5 ประการของ CSS ที่ Russ Weakley ผู้เขียนหนังสือ CSS in 10 Minute ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกๆที่ผมซื้อมาเพื่อศึกษาการใช้ CSS ครับ
* สามารถควบคุม Typography ได้ดีกว่า นั่นก็หมายความว่า การใช้ CSS ทำให้คุณกำหนดรูปแบบการแสดงผลของ Font จากไฟล์ CSS ได้ดีขึ้นเพราะหากเว็บของคุณมีรูปแบบของ fontที่เหมือนกันในทุกเว็บเพจ คุณก็กำหนดรูปแบบการแสดงผลของ Font ทั้งหมดไว้ในไฟล์ CSS และเรียกใช้มันแทนการเขียน Tag ในแต่ละเว็บเพจ
* ขนาดของไฟล์เล็กลง เพราะเมื่อคุณใช้ CSS ในการกำหนดรูปแบบหน้าตาของเว็บ จากเดิมที่ใส่ tags อย่าง font size=”+2″ , style=….color… ,หรือ table align=”center” bgcolor=”…”……. ,ฯลฯ (อย่าลืมเติม < > ด้วยล่ะ) เต็มไปหมดในเอกสาร HTML คุณก็สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลไว้ไฟล์ CSS ต่างหาก ซึ่งก็จะทำให้ ขนาดไฟล์ HTML เล็กลง
* ปรับเปลี่ยนง่าย เมื่อคุณกำหนดรูปแบบการแสดงผลของเว็บเพจ ไว้ในไฟล์ CSS คุณก็สามารถแก้ไขรูปแบบการแสดงผลได้จาก ไฟล์ CSS แทนที่จะแก้ไขในเอกสาร HTML หลายๆหน้าเหมือนการใช้ Table
* กำหนดรูปแบบการแสดงผลของสื่อหลากชนิด ด้วยการใช้ CSS คุณสามารถกำหนดให้การแสดงผลของเว็บแสดงออกมาในรูปแบบที่เหมาะกับสื่อชนิด ต่างๆไม่ว่าจะเป็น ให้เว็บเพจหนึ่งหน้าแสดงผลที่ Browserในรูปแบบเว็บเพจบนหน้าจอแต่แสดงผลใน Mobile Device อีกแบบหนึ่งเพืื่อให้เหมาะสมหน้าจอบน PDA ที่เล็กกว่าได้ ฯลฯ โดยที่ยังคงเนื้อหาเช่นเดิม
* เพิ่ม Accessibility ให้เว็บ Accessibility หรือการเข้าถึงข้อมูลเว็บนั้นเรามักจะนึกถึงการเข้าถึงข้อมูลเว็บของผู้มี ปัญหาทางผิดปกติทางร่างกายเช่น คนตาบอด ผู้พิการอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งคนเหล่านี้จะใช้ Software ช่วยเหลือเช่น Screen Readers(สามารถ ดาวน์โหลด trial screen readers software ได้ที่ freedomscientific.com/fs_downloads/jaws.asp เมื่อ install แล้ว ให้ลองหลับตาหรือปิดมอนิเตอร์ เพื่อให้ Software อ่านให้เว็บให้เราฟัง) หลายจุดในเว็บเพจที่มีการใช้ Table ซ้อน Table อาจจะทำให้ Screen Readers อ่านข้อความผิดพลาดได้ แต่หากใช้ CSS เป็นตัวกำหนดรูปแบบ และ กำหนดเนื้อหาตัวหนังสือใน HTML เมื่อถอดตัว CSS ออกจาก HTML เอกสารก็จะแสดงผลไม่ต่างกับ Microsoft Word ที่อ่านง่ายขึ้น ทำให้การอ่านผลของ Screen Readers อ่านตัวหนังสือได้ถูกต้องยิ่งขึ้นหากคุณอยากรู้ว่าเมื่อถอด CSS ออกแล้วเป็นอย่างไร ทำได้โดยหากคุณใช้ Firefox(download) ไปที่ Toolbar เลือก View > Page Style >No Style สำหรับ IE 7 ทำได้เพียง Ignore Font size ,color และ font style เท่านั้น จึงขอแนะนำให้ใช้ Firefox ดีกว่า
ที่จริงผมก็ไม่มีประสบการณ์โดยตรงกับเรื่องนี้ มามากเท่าไร่ อาศัยแค่การอ่านและศึกษาตามอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ บล็อก กระดานข่าว ที่แชร์ความรู้ด้านนี้มาเท่านั้น ดังนั้นบทความนี้ จึงเกิดขึ้นจากแหล่งความรู้ ที่มีอยู่แล้วบนอินเตอร์เน็ต ผสมกับแนวความคิดเพียงเล็กน้อยของผมปนลงไป จากนั้นกลั่นกรองข้อมูลนิดหน่อย ผลสรุปที่ได้จึงออกมาเป็นครึ่งๆ กลางๆ แบบนี้ ให้นำไปต่อยอดประยุกต์ใช้เองนะครับ
1. คำถาม (Ask a Question) การเริ่มต้นด้วยคำถาม โดยใช้วาทศิลป์ (อันสูงส่ง) หว่านล้อม ช่วยกระตุ้นต่อมความอยากรู้อยากเห็น ของผู้อ่านเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ได้ฉันใด การเริ่มต้นด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านพัวพัน หมกมุ่น อยู่กับเรื่องราวที่ตนอยากรู้ ไปจนจบเรื่องได้ฉันนั้น (ครับ)
2. แชร์เกร็ดเล็กๆน้อยๆ (Share Tips) เรื่องนี้ต้องพึ่งประสบการณ์ (บารมี) ที่คุณมีอยู่แล้วล่ะครับ โดยดึงความรู้นั้นออกมาใช้ เผยแพร่ แนะนำให้คนอื่นรู้ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อผู้อ่านได้อ่านเจอเรื่องราว ในรูปแบบเช่นนี้แล้ว จะยิ่งชอบ และนับถือ ชวนให้อยากติดตามผลงานเรื่องต่อไปครับ
3. ปลุกจินตนาการ (Imagine) “แม้แต่ จอห์น เลนนอน ก็ยังร้องเพลง Imagine จินตนาการว่ามวลมนุษย์ จะอยู่ กันอย่างสันติ” (เพลงคาราบาว) “นวัตกรรมใหม่เกิดจากจินตนาการที่ไม่รู้จบของมนุษย์” อย่าแปลกใจที่ผมโยงเรื่องไปมา ชวนให้วกวน ไม่มีอะไรหรอกครับ แก่นแท้มันอยู่ที่ “จินตนาการ” คำเดียวเท่านั้น แต่สรุปง่ายๆ กับได้ 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกเขียนเรื่องราวที่อ่านแล้ว มองเห็นมโนภาพ หรือจินตนาการตามได้ อาจจะเขียนเป็นบทละครใช้ภาษาง่ายๆ เข้าใจกันได้ทุกคนก็ได้ครับ ประเด็นที่สอง คือเขียนเรื่องราวในเชิงจินตนาการ แฟนตาชี มหากาพย์ (อะไรกัน นึกว่า Pirate’s of the Caribbean) ถ้าเขียนได้ จะน่าติดตามมากๆ
John Lennon - Imagine
4. เปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัย (Simile or Metaphor) ลองยกตัวตัวอย่างของสิ่งของสองสิ่ง มาเปรียบเทียบกัน ถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อเด่น และข้อด้อย กันดูสิครับ เช่นเอาเครื่องเล่น MP3 สองยี่ห้อมาเปรียบเทียบกัน จากคุณสมบัติ ราคา ฟังก์ชันในการใช้งาน วิเคราะห์เรื่องดีเรื่องเด่นออกมา เขียนเป็นเรื่องให้คนอ่าน คิดดูสิครับ จะน่าติดตามเพียงใด (อย่าใช้ในทางที่ผิดเพื่อขายสินค้า ของตนแล้วกัน)
5. อ้างถึงสถิติ (Statistic) ตัวเลขหรือข้อมูลทางสถิติ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทำให้บทความใน Blog คุณน่าเชื่อถือขึ้นได้ ยิ่งถ้าข้อมูลนั้นเป็นที่โจษจันมากเพียงใด Blog คุณก็จะเป็นที่ยอมรับได้มากเพียงนั้น ดังนั้นแล้ว ประโยชน์สูงสุดที่ได้รับในข้อนี้ คือความน่าเชื่อถือของ Blog นั่นเองครับ
Bonus “50 คำ ตอนเริ่มบทความ มีผลต่อผู้อ่าน ว่าจะอ่านหรือไม่อ่านต่อดี” ถ้าใครเคยร่างต้นฉบับ ส่งสำนักพิมพ์คงรู้จักกันดี เพราะนี้เป็น หนึ่งในเทคนิคการเขียนบทความกันเลยทีเดียวครับ ตอนเริ่มขึ้นบทความใหม่ๆ ต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อไป และต่อไป จนจบเรื่อง ผู้อ่านก็อยากติดตาม ต่อไป และต่อไป จนจบเรื่องเหมือนกัน (ท่าดีทีดี ไม่ใช่ท่าดีทีเหลว)
ที่มา : ไอเดย์บล็อคดอทคอม
วันนี้มา พร้อมเทคนิคเล็กๆน้อยๆ ให้นำไปใช้กัน ในเรื่องของการอัพเดต Blog ให้ถูกเวลาเพื่อเพิ่ม Traffic ทั้งนี้็เกิดจากความคิดเห็นส่วนตัวที่ใช้กับ Blog แห่งนี้ ที่พยายามอััพเดตให้ได้ประมาณ 2 วันครั้ง (หรือใครอยากอัพมากกว่านี้ก็ได้น่ะครับซักวันละ 2 - 3 บทความก็ได้) ลองคิดดูแล้วกันครับ บทความ 1 บทความที่คุณเขียน ยาวเท่าไร ผู้ใช้เข้ามาอ่านบทความนั้นใช้เวลาเท่าไร สมมุมิว่าใช้เวลาอ่าน 15 นาทีแล้วกันครับ เพราะการอ่านผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์มันจะอ่าน ยากกว่าปกติ และถ้าคุณอัพเดต 10 บทความ ผู้ใช้ที่ตามอ่านก็ใช้เวลาในการอ่าน กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ไม่รวมเวลาที่โหลดข้อมูลครับ บางคนเข้ามาอ่าน Blog คุณวันนี้ อีก 3-4 วันค่อยกลับมาใหม่อีกรอบ ถ้าคุณอัพเดตวันละ 10 บทความ ดังนั้นบทความที่คุณเขียนวันนี้ อีก 3-4 วันคงตกไปอยู่ที่หน้า 3-4 เป็นอย่างน้อย ใช่ไหมละครับ และถ้าให้ติดตามอ่านจนหมดในวันนั้น คงใช้เวลาในการอ่านมากกว่า 10 ชั่วโมง ไม่ต้องทำอะไรเลยวันนั้น ถูกต้องมั้ยครับ ผมว่าถ้าคุณอยากอัพเดต Blog หลายๆบทความในวันเดียว และมีคนเข้าอ่านตลอด ควรเขียนอยู่ในเรื่องเดียวกัน โดยทำการแบ่งเป็นตอนๆ ชัดเจน แบบนี้จะง่ายหน่อยสำหรับการติดตามครับ หรือถ้าคุณอยากอัพเดต blog หลายๆ บทความ และเรื่องแต่ละเรื่องไม่เกี่ยวกันเลย ควรมีการแบ่งหมวดหมู่ชัดเจน ใครอยากติดตามหมวดหมู่ไหนก็เลือกอ่านได้ ไม่หลงทางครับ
เอาล่ะครับ เดี๋ยวหาว่าผมโม้ไป ทุกอย่างมันต้องมีสถิติและแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาประกอบ มันถึงจะสมบูรณ์ จากสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ในประเทศไทย เวลาที่มีคนเข้าเยี่ยมชม มากที่สุดคือ 15.00-15.59 น. และเวลาที่มีคนเยี่ยมชมน้อยที่สุดคือ 04.00-04.59 น. (ข้อมูลอ้างอิงจาก Truehit.net ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2549) เห็นช่วงเวลาแล้ว ผมขอแนะนำให้คุณอัพเดต Blog ในช่วงเวลา 04.00-04.59 น. ครับ ทำไมหรือ ก็เพราะว่าช่วงนี้คนเข้าน้อยสุด แสดงว่าช่วงเวลาถัดไปต่อจากนั้นก็มีคนเข้า blog มากขึ้น และไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่คุณเพิ่มลงไป ส่วนตัวผมทำไม่ได้หรอกครับ วินัยในการเขียน blog ยังไม่ดีเท่าที่ควรครับ
ที่มา : ไอเดย์บล็อคดอทคอม
อะไรมาดลใจนาย Jorn Barger ให้คิดคำศัพท์แปลกๆออกมา ว่า Weblog ซึ่งเกิดจากการรวมกันของคำสองคำ คือ Web+Log แปลได้เป็นนัยว่า การบันทึกบนอินเตอร์เน็ตเวิร์ลไวด์เว็บ แต่ก็ดีเหมือนกันที่นาย Peter Merholz มาจับย่อให้สั้นลงเป็น Blog จะได้จำได้ง่ายๆหน่อย ไม่ยืดยาว
ส่วนศัพท์อย่าง Diary ก็แปลได้คร่าวๆว่า การบันทึกเรื่องราวส่วนตัวนั่นเอง ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การเข้ามาของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น คนเขียน Diary ก็อยากเขียนบันทึกลงบน อินเตอร์เน็ตเวิร์ลไวด์เว็บบ้าง จึงมี Diary Online เกิดขึ้น แล้วมันแตกต่างจาก Blog ตรงไหนล่ะครับ
ความแตกต่างมันอยู่ตรงที่ว่า Blog นั้น เป็นการเขียนบันทึกเรื่องราว ในรูปแบบกว้างๆ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว ของตนเอง อาจจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษา กีฬา นันทนาการ หรืออื่นๆ สุดแล้วแต่ใจปรารถนา และ Diary นั้นอาจจำกัดอยู่ในวงแคบๆ อย่างการเขียนเรื่องราวส่วนตัวเท่านั้น “เอ๊ะถ้างั้น Diary ก็จัดเป็น Blog ประเภทหนึ่งละสิ” ใช่แล้วครับ พูดง่ายๆ ได้ว่า Diary จัดเป็น Blog ประเภทหนึ่งจริงๆ ซึ่งมีหลายต่อหลายท่าน ให้คำจำกัดความออกมาได้อย่างนี้
“แล้วพูดอีกทำไมล่ะ ถ้ามีแค่นี้ ก็มีคนอื่นพูดไว้หมดแล้วไม่ใช่เหรอครับ” ความคิดในอีกมุมหนึ่งของผม คิดว่า Diary นั้นก็คือส่วนหนึ่งของ Blog นั่นละครับ ไม่ได้แยกออกมาเป็น Blog แต่ละประเภทหรอก เพราะเรื่องราวที่คุณเขียนลง Blog นั้น มันก็คือส่วนหนึ่งของตัวคุณ เป็นส่วนผสมหนึ่งที่ทำให้ Blog คุณลงตัวมากขึ้น สมมุติแล้วกันครับว่า ถ้าคุณเป็นคนอีสาน เวลาคุณทานส้มตำที่ไม่ใส่ปลาร้า จะรู้สึกได้ว่ามันขาดอะไรสักอย่างแน่ๆ เปรียบเทียบกับเวลาคุณอ่าน Blog คนอื่น ถ้าขาดความเป็นตัวตนของคนเขียน มันก็ไม่น่าอ่าน บทบาทของคนเขียนก็ลดลงไปนั่นเองครับ บางคนเขียนสนุก ได้อารมณ์ บางคนเขียนแบบเอาจริงเอาจัง วิชาการ แล้วคุณเขียนสนุกได้วิชาการก็ดี แล้วแต่เทคนิคการเล่าเรื่องของแต่ละคนครับ สรุปได้ว่า ส้มตำต้องใส่ปลาร้า เขียน Blog ต้องใส่ตัวตน แต่อย่าลืมจรรยาบรรณคนเขียน Blogนะครับ
ที่มา : ไอเดย์บล็อคดอทคอม
2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก
2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก
2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com
2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ
2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น
2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ
2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน
2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง ๆ ประเภท HOW-TO
2.10 บล็อกท่องเที่ยว(Travelling Blog) เป็นบล็อกที่จะพาคุณเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการเดินทาง
2.11 บล็อกเกี่ยวกับศาสนา(Religious Blog) เป็นบล็อกที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านคำสอนต่าง ๆ ของศาสนา
2.12 บล็อกธุรกิจ(Business Blog)เป็นการประยุกต์ใช้บล็อกในเชิงธุรกิจ เชิงการตลาด หรือประชาสัมพันธ์
2.13 วีบล็อกเพื่อคนหูหนวก(Deaf vlogs) เป็นvlog ครับซึ่งเป็นของสมาชิกกลุ่มคนหูหนวกโดยใช้สื่อวิดีโอ ในการสื่อสารระหว่างกัน
2.14 บล็อกรวม หรือ blog anachy เป็นบล็อกที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะมีเรื่องราวหลายประเภท อยู่ในบล็อก
นอกจากจะมีการแบ่งประเภทของบล็อกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่แล้ว ยังมีการแบ่งเป็นของบล็อกออกตามความเป็นเจ้าของได้แก่ บล็อกส่วนตัวทีมีเจ้าของคนเดียว เรียกว่า Individual Blog และ บล็อกที่สร้างขึ้นโดยบริษัท หรือองค์กรที่เรียกว่า Corporate Blog
ประเภทของ Blog
บล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่ เราแบ่งบล็อกออกได้ 4 ลักษณะดังต่อไปนี้ครับ
1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่
1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า “บล็อก” ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี
1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ
1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie clip เป็นไปได้ดีขึ้นมา ภาพและเสียงลื่นไหลกว่าเน็ตยุค dial-up modem
Vlog ถูกมาใช้ในครั้งแรกโดยนายเอเดรียน ไมลส์(Adrian Miles) ซึ่งโพสต์แรกของนายเอเดรียน คนนี้เริ่มข้นเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ปี 2000 ใน hypertext.rmit.edu.au/vog/vog_archive/000082.html
Videoblogging Group ผู้ที่ริเริ่มทำ vlog community ของ Yahoo คือ นายปีเตอร์ แวน เดิร์ก (Peter Van Dijck) และ เจย์ เดดแมน(Jay Dedman) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2004
สิ่งแสดงถึงความอลังการของ Vlog คือการจัดการประชุมVlog ถึง 2 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า Vloggercon ในงานนี้ถือว่าเป็นแหล่งรวม vlogger ไว้มากมาย ครั้งแรกของ Vloggercon ถูกจัดขึ้นในปี 2005 ในนิวยอร์ค ส่วนครั้งที่สองผ่านไปเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2006 ในซานฟรานซิสโกครับ
ที่มา : แมกนั่มบอยดอทคอม
บล็อกกันนัก ก็มารู้จักกันเล้ยยย... จะ webblog หรือ webboard ดีล่ะนี่
0 comments Posted by wittybuzz at 6:06 PM
Blog VS Webboard
เป้าหมายที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของบล็อกและเว็บบอร์ดคือ เป็นเวทีแสดงความคิดเห็น ในลักษณะที่เรียกว่า User Generated Content หรือ Content ที่เกิดจาก User แต่สิ่งที่ต่างกันคือ เว็บบอร์ดนั้นเปิดกว้างสำหรับทุกคน ให้เข้าไปโพสต์ข้อความ แม้ว่าบางบอร์ดจำเป็นต้องแสดงตัวโดยการสมัครสมาชิกก่อนจึงจะโพสต์ข้อความ และเพราะเว็บบอร์ดจำเป็นต้องมี modulator หรือผู้ดูแลบอร์ดให้เนื้อหาในบอร์ด หรือการโพสต์ข้อความ การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างมีคุณภาพ แต่ใช่ว่าการจัดการเว็บบอร์ดจะง่ายดายเสมอไป ยิ่งบางบอร์ดในเมืองไทย คุณอาจจะเห็นการโพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวกับเป้าหมายของบอร์ด อย่างเช่น “ลดน้ำหนัก ไม่ต้องกิน ยา ”, “ทำงานบนเน็ต รวยได้ง่าย ๆ เพียง วันละ 3 ชม. ” และพวก MLMวิชามารอีกมากมาย เป็นต้น หาก modulator ละเลยก็จะทำให้บอร์ดดูน่าเบื่อ อ่านไปก็เจอแต่โฆษณาอย่างว่า มันจะดูน่าเบื่อเพียงแต่สิ่งที่จะได้รับคือ จำนวนคนในวงกว้าง
สำหรับ บล็อก นั้นต่างกัน เพราะบล็อกเกิดจากคนหนึ่งคนหรือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทีมีความสนใจเหมือน ๆกัน เข้ามาโพสต์หัวข้อเรื่องและคนที่จะโพสต์ได้จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของ บล็อกเท่านั้น และในส่วนของการแสดงความคิดเห็นหรือ comment เจ้าของบล็อกก็สามารถตรวจสอบหรือไม่ก็ปิดฟังก์ชั่นแสดงความคิดได้ ทำให้เนื้อหาของบล็อกมีคุณภาพกว่า เพียงแต่จำนวนและลักษณะคนที่เข้ามาที่บล็อกอาจจะน้อยกว่าและเฉพาะเจาะจงกว่า หรือเป็น Niche มากกว่านั่นเอง
ดังนั้น การจะตอบคำถามว่าจะบล็อกหรือจะบอร์ดดี คงต้องชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อด้อย และเป้าหมายของคุณว่าเป็นแบบใดครับ
บล็อกกันนัก ก็มารู้จักกันเล้ยยย... จะ webblog หรือ website ดีล่ะนี่
0 comments Posted by wittybuzz at 3:23 AM
จะ webblog หรือ website ดีล่ะนี่
ตามคำนิยาม Blog ก็คือ website ประเภทหนึ่งครับ แต่การจะเลือกว่าจะทำ blog หรือ จะทำ website ดีสำหรับเมืองไทย อย่างหลังดูจะถูกนำมาใช้มากกว่า เพราะ blog ในเมืองไทยยังเป็นเหมือนโลกเร้นลับอยู่ แต่คนไทยจะรู้จักเว็บไซต์อยู่ เมื่อเทียบกับในต่างประเทศอย่างแล้วการทำบล็อกในยุคนี้ดูจะเฟื่องฟูกว่าเป็น ไหน ๆ เพราะมันง่ายดายกว่าทำเว็บไซต์ แต่ก็นั่นอีกล่ะครับ จะทำเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของเราว่าทำเว็บเพื่ออะไร
Website VS Weblog
หากมีคนมาถามผมว่าอยากมีเว็บเป็นของตนเองหรือทำเว็บบล็อกดี ผมจะไม่บอกคำตอบหรือฟันธงว่าคุณควรจะทำเว็บนั้นเว็บนี้สิ หรือทำบล็อกนั้นบล็อกนี้สิ แต่ผมอยากให้คุณพิจารณาสิ่งที่ผมจะบอกต่อไปนี้ครับ
* การทำเว็บไซต์ไม่ว่าเว็บไซต์ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้พลังงานหรือทรัพยากรจำนวนมาก ต้องคิดว่า content ในเว็บไซต์ควรจะมีอะไรบ้าง จะแบ่ง content เป็นกี่ประเภท ยิ่งถ้าริจะทำ Portal site ก็ต้องคิดหนักหน่อยเพราะเจ้าตลาดอย่าง sanook.com, kapook.com ก็กินส่วนแบ่งการตลาดเกินครึ่งแล้ว อีกทั้งยังต้องคิดว่าจะนำเสนอกลุ่มไหนดีความถี่ในการอัพเดตเว็บบ่อยแค่ไหน เพื่อไม่ให้กลายเป็นเว็บตายหรือแน่นิ่ง เว็บไซต์ที่ไม่มีการอัพเดตข้อมูลเลยประเภทชาติหน้ามีโอกาสจะได้อัพเดตให้มัน ดีกว่านี้ แล้วจะทำเว็บไซต์ไปทำหยังล่ะครับ แต่กลับบล็อก ถ้าคุณบ้าพลังอัพเดตมันทุกวันมีเรื่องเล่าทุกวันและยิ่งเปิดโอกาสให้เพื่อน บ้าพลังเหมือนกันมาเป็น blogger ร่วมเขียน post ด้วยแล้ว ก็หายห่วงครับ บล็อกกลับมีชีวิตชีวาแน่
* ในการทำเว็บไซต์สำหรับองค์กรเพื่อส่งสาส์นไปให้ลูกค้าแล้ว ดูเหมือนว่าเว็บไซต์จะดูจริงจังกว่า แต่กลับบล็อกแล้วการนำเสนอแบบที่เรียกว่า “เราจะคุยให้ฟัง ” ทำให้องค์กรกับลูกค้าดูเป็นมิตรมากขึ้น ลองนึกดูครับว่าถ้าเพื่อนสนิทของคุณมาเล่าประสบการณ์การใช้ไปทานอาหารที่ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งบรรยายถึงความอร่อยของอาหารจนต้องหาโอกาสไปอีกครั้งหนึ่งให้ได้ กับการอ่านโบรชัวร์แนะนำร้าน โอกาสที่คุณจะคล้อยตามนั้น ก็อยู่ที่จะเชื่อเพื่อนหรือร้านอาหารมากกว่ากัน บล็อกก็เช่นกันครับ มันสามารถทำตัวเป็นเพื่อนกับลูกค้า ในขณะที่เว็บไซต์ของร้านทำประหนึ่งเป็นโบรชัวร์ของร้านนั่นเอง
* ปัญหาใหญ่ ๆ ที่คนทำเว็บมือใหม่ต้องเจอคือ จะใส่ content อะไรดีนะ แล้วข้อมูลมาจากไหน แต่กลับบล็อกข้อมูลอยู่ที่คุณเองครับ คุณอยากเขียนเป็นไดอารี่ คุณก็เขียน คุณอยากเสนอผลงานวิจัยส่วนตัว บรรเลงเลยบนบล็อกส่วนตัว
เห็นมั้ยล่ะครับว่า เหตุผลที่จะเลือก Blog หรือ Website อยู่ที่คุณ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องเลือกอย่างใดอย่าหนึ่งเสมอไป หลาย ๆ เว็บไซต์ก็มีเว็บไซต์อยู่แล้ว แต่ได้นำบล็อกมาเป็นส่วนเสริมในการทำตลาดผ่านเว็บเพิ่อช่วยให้ใกล้ชิดลูกค้า มากขึ้นนั่นเอง
7. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
บล็อกไม่เพียง นำเสนอข้อมูลจากฝั่ง Blogger(คำเรียกคนที่ทำบล็อก เขียนบล็อก ) เพียงด้านเดียว อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าความสามารถในการสื่อสารผ่าน comment ทำให้บล็อกกลายเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนไอเดียได้เช่นเดียวกับเว็บบอร์ด คนที่เข้าไปอ่านบล็อกไม่เพียงเข้าไปอ่านเรื่องหรือชมสิ่งที่ blogger เขียนหรือนำเสนอไว้เท่านั้น แต่เข้าไปอ่านสิ่งที่ผู้อ่านคนอื่น comment ไว้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เช่นกัน อีกทั้งบางบล็อกยังเปิดโอกาสให้ผู้อ่านแปะ comment ในรูปแบบของภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้อีกด้วย ดังนั้น เราสามารถใช้ blog เป็นเหมือนแหล่งหยั่งเสียงหรือความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
8. เพื่อทำการตลาดและโปรโมทสินค้า
ปัจจุบัน ในการทำตลาดให้สินค้าบนที่ขายบนอินเตอร์เน็ต ไม่ได้จำกัดเพียงการทำตลาดผ่าน search engine การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่าน email marketing บล็อกเองยังเป็นเครื่องมือในการโปรโมทสินค้าได้เป็นอย่างดีอย่างเช่นเว็บไซต์ vbcosmetics.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ จัดจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้า ทำการโปรโมทสินค้าของตนเองผ่าน blog ที่ชื่อว่า vbcosmetics.blogspots.com โดยให้พนักงานผู้เชี่ยวชาญด้านการบำรุงผิวเข้าไปpost เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ vbcosmetics ในลักษณะที่ไม่ใช้เน้นการขายแบบ Hardselling จนเกินไป จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทบ้างเพื่อมุ่งสร้างความรู้สึกที่เป็นมิตร กับลูกค้าและผู้อ่าน
9. อื่น ๆ
นอกเหนือจากการทำบล็อกเพื่อจุดประสงค์ดังที่ผมเล่าให้ฟังแล้ว บล็อกยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจอย่างเพร่หลายในต่างประเทศ ซึ่งผมจะได้เล่าให้คุณผู้อ่านได้ฟังอย่างเจาะลึกในบทต่อ ๆ ไป นอกจากการนำมาใช้ในเชิงธุรกิจแล้ว หลายบริษัทยังปรับวิธีการทำส่งข่าวประชาสัมพันธ์แบบเดิม ๆ ที่ต้องส่งข่าวไปให้นักข่าวเป็นการเขียนข่าว PR บนบล็อกซึ่งช่วยให้นักข่าวเข้าถึงข่าวของบริษัทได้ง่ายขึ้น นอกจากการ นี้บล็อกยัง สามารถใช้เป็นสื่อกลางเพื่อการสร้างสัมพันธ์ในองค์กรได้อีกด้วย ซึ่งผมขอเรียกมันว่าเป็น Corporate Blog ครับ และผมจะเล่าให้ฟังในบทต่อ ๆ ไปเช่นกัน ยังมีเหตุผลในการทำบล็อกอีกหลากหลายที่น่าสนใจซึ่งผมนำมาจากเว็บไซต์ radientmarketinggroup.com ได้แก่
* เพื่อทำ search engine marketing
* เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริษัท
* เพื่อสร้างแบรนด์
* เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มเล็กเฉพาะทางหรือ Niche Market
* เพื่อทำให้เกิดภาพความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆ ของ blogger คนนั้น ๆ
4. ใช้บล็อกสร้างชุมชนหรือ Community (Blog for community)
ก่อนบล็อกจะเป็นที่รู้จัก การสร้างคอมมิวนิตี้หรือชุมชนบนอินเตอร์เน็ตมักใช้วิธีการเปิดเว็บบอร์ด เพื่อให้คนทีมีความสนใจเหมือน ๆ กันเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือสร้าง Newsgroup ขึ้นมาเพื่อส่งข่าวสารให้กลุ่มสมาชิกใน newsgroup แต่ด้วยความสามารถในใส่ Comment ในแต่ละเรื่องบน Blog ซึ่งเหมือนกับการแสดงความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด ทำให้บล็อกกลายเป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งในการสร้างชุมชนเพื่อรวมกลุ่มคนที่ สนใจเรื่องเหมือน ๆ กัน แต่ใช่ว่าทุก Blog จะสร้างคอมมิวนิตี้ได้เสมอไป เพราะบาง Blog เจ้าของบล็อกต้องการเพียงอยากเขียนให้อ่านมากกว่าจะมาตอบคำถามหรือให้คนอื่น มาแสดงความคิดเห็นที่เจ้าของเห็นว่าไม่เข้าท่า เจ้าของบล็อกก็สามารถปิดฟังก์ชั่น Comment ได้เป็นการปิดประตูคอมมิวนิตี้ไปโดยปริยาย
ตามที่ผมเล่าไปข้างต้นดูเหมือนการสร้างคอมมิวนิตี้บนบล็อกจะง่ายดายเหลือ เกิน แต่เปล่าเลยครับ การสร้างชุมชนบนเน็ตนั้นต้องอาศัยเวลาและกลวิธี ซึ่งมันได้กลายเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า “Community Marketing ” หรือ การตลาดเพื่อชุมชน
5. สร้างบล็อกเพื่อเสนองานวิจัย (Blog for Research Presentation)
6. เพื่อความบันเทิง (Entertainment Blog)livemusicblog.com บล็อกไม่เพียงถูกใช้เพื่อนำเสนอสาระซีเรียส หรือ เรื่องราวส่วนตัวเสมอไป บล็อกยังเป็นแหล่งอัพเดตข้อมูลด้านบันเทิงอย่างแพร่หลายไม่ว่าบันเทิง เพลง หนัง gossip เช่น patsonic.com (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น cityblue.net/blog) , theplumbuttchronicles.typepad.com นอกจากนี้ ความสามารถของ บล็อกไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการนำเสนอด้วยตัวหนังสือ และ ภาพ แต่ยังมีการนำ vdo clip หรือ หนังตัวอย่าง (movie trailer )เช่น livemusicblog.com เป็นต้น
3. ปันประสบการณ์และข้อมูล (Information sharing)
สำหรับคนใจกว้างทุกท่าน เวที blog เปิดทุกเวลาครับเพื่อให้ทุกท่านที่ต้องการแชร์ประสบการณ์ที่พานพบ หรือข้อมูลที่แบ่งปันกันไปยังกลุ่มคนทีมีความสนใจเหมือน ๆ กัน สาวๆ บางคนชอบเรื่องแฟชั่นการแต่งตัวและได้ไปพบ ไปเห็นก็อยากเขียนเล่าเรื่อง ๆ แฟชั่นให้เพื่อน ๆ ที่สนใจแฟชั่นด้วยกันได้ฟัง ก็สร้างบล็อกแฟชั่นขึ้นมา หรือ บางคนสนใจสนใจเรื่องรถ มีประสบการณ์ในเรื่องรถยนต์เครื่องยนต์ก็สามารถสร้างบล็อกเกี่ยวกับรถยนต์ โดยบล็อกก็สามารถเล่าเรื่อง เครื่องยนต์กลไก วิธีซ่อม วิธีการดูรถมือสอง สาม สี่ ก็แล้วแต่ หรืออย่างเว็บที่เต็มไปด้วยเนื้อหาความรู้จากนักวิชาการหลากสารทิศอย่าง gotoknow.org ซึ่งเป็นเปิดโอกาสให้คนที่สนใจอยากปันความรู้ที่มีสาระ หรือความคิดเห็นที่กระตุมต่อมคิดก็เป็นบล็อกที่เปิดกว้างให้เข้าไปสมัคร สมาชิกเพื่อมีบล็อกของตนเองฟรี แต่ต้องเป็นความรู้เท่านั้นนะครับ
สำหรับคนใจกว้างทุกท่าน เวที blog เปิดทุกเวลาครับเพื่อให้ทุกท่านที่ต้องการแชร์ประสบการณ์ที่พานพบ หรือข้อมูลที่แบ่งปันกันไปยังกลุ่มคนทีมีความสนใจเหมือน ๆ กัน สาวๆ บางคนชอบเรื่องแฟชั่นการแต่งตัวและได้ไปพบ ไปเห็นก็อยากเขียนเล่าเรื่อง ๆ แฟชั่นให้เพื่อน ๆ ที่สนใจแฟชั่นด้วยกันได้ฟัง ก็สร้างบล็อกแฟชั่นขึ้นมา หรือ บางคนสนใจสนใจเรื่องรถ มีประสบการณ์ในเรื่องรถยนต์เครื่องยนต์ก็สามารถสร้างบล็อกเกี่ยวกับรถยนต์ โดยบล็อกก็สามารถเล่าเรื่อง เครื่องยนต์กลไก วิธีซ่อม วิธีการดูรถมือสอง สาม สี่ ก็แล้วแต่ หรืออย่างเว็บที่เต็มไปด้วยเนื้อหาความรู้จากนักวิชาการหลากสารทิศอย่าง ซึ่งเป็นเปิดโอกาสให้คนที่สนใจอยากปันความรู้ที่มีสาระ หรือความคิดเห็นที่กระตุมต่อมคิดก็เป็นบล็อกที่เปิดกว้างให้เข้าไปสมัคร สมาชิกเพื่อมีบล็อกของตนเองฟรี แต่ต้องเป็นความรู้เท่านั้นนะครับ