เมื่อเราตัดสินใจ ทำเว็บไซต์ ขึ้นมาเว็บหนึ่ง ควรถามตัวเองก่อนว่า จุดประสงค์ในการทำเว็บไซต์นั้น เราต้องการทำเว็บไซต์เพื่ออะไร เช่น ทำเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า ทำเว็บไซต์ E-commerce ทำเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ หรือ ทำเว็บไซต์เพื่อโปรโมต บริษัท องค์กร สถาบัน หน่วยงาน โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
เมื่อผู้ทำเว็บไซต์ สามารถกำหนดจุดประสงค์ใน การทำเว็บไซต์ ของตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมสามารถสื่อสารให้ ผู้ชมเว็บไซต์ หรือ กลุ่มลูกค้า เข้าใจในเว็บไซต์ได้อย่างชัดเจนดี ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการเข้าใจผิด ก็ย่อมจะลดน้อยลง รวมทั้งได้รับการยอมรับนับถือในด้าน ความเป็นมืออาชีพใน การบริหารและการจัดการเว็บไซต์ ซึ่งจะมีผลต่อยอดการซื้อขายสินค้า และ บริการในอนาคตอีกด้วย
ประการต่อมา คือ การจดโดเมนเนม (Domain Name Registration) ซึ่งเป็น website address ที่เป็นเหมือนบ้านเลขที่ของเรา ซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าเว็บไซต์ของเราโดยการพิมพ์ website address ของเรา หรือ อาจจะ click ที่ link ที่เขา search เจอใน search engines จาก social network และ link partners จากเว็บไซต์อื่น ๆ เป็นต้น
เทรนด์สำหรับการจดโดเมน ที่ประสบความสำเร็จง่าย ๆ ในตลาดออนไลน์ ได้แก่
- เพื่อง่ายต่อการโปรโมตให้ติด search ง่าย ๆ
- เพื่อง่ายต่อการสร้าง brand name
- เพื่อโปรโมตง่าย และ สร้าง brand name ไปในตัวด้วย
ดังนั้น การตั้งชื่อโดเมนเนม จึงนับเป็นสิ่งสำคัญ และ จำเป็นมากที่เราต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่ง ซึ่งควรคำนึงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้:-
-1- Domain Name ไม่ควรยาวจนเกินไป ใช้ตัวอักษรไม่เกิน 60 ตัวอักษร ที่ประกอบด้วย a - z, 0-9 และ เครื่องหมาย - (Dash)
-2- Domain Name ควรมี keywords ที่สื่อความหมายเกี่ยวกับเว็บไซต์ด้วย ซึ่งนับเป็นโดเมนเนม ที่ง่ายต่อการโปรโมตให้ติด search อันดับสูง ๆ
-3- Domain Name ควรมีชื่อบริษัท หรือ หน่วยงานของเราอยู่ด้วย ในกรณีที่เรา ทำเว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กร และ หน่วยงานของเรา หรือ เพื่อสร้าง Brand Name ให้เป็นที่รู้จักในตลาด
-4- Domain Name ที่ดี ควรสะกดง่าย หลีกเลี่ยงคำไทยที่สะกดยาก เพื่อง่ายต่อการจดจำของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
-5- Domain Name Extension เช่น .com , .net , .co.th , .in.th, .org, .name, .biz , .info เป็นต้น ควรสื่อความหมายถึงธุรกิจ หรือ หน่วยงานของเรามากที่สุด
ผู้เขียนเชื่อว่า หากเราตั้งชื่อ Domain Name ได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น แล้วย่อมทำให้ชื่อเว็บไซต์ของเรา เป็นที่รู้จักของผู้ใช้งาน และ เป็นมิตรกับ search engines ได้อย่างแน่นอน
เมื่อผ่านขั้นตอนดังกล่าวข้างบนแล้ว การวางโครงสร้างเว็บไซต์ ก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะมองข้ามเสียไม่ได้ ควรออกแบบหน้าตาเว็บไซต์เป็นสัดส่วน ดังนี้ :-
หน้า Homepage
ควรทำหน้าหลักของเว็บไซต์เราสะอาด ไม่รกไปด้วย text หรือ มี pop up โฆษณาเด้งขึ้นมารบกวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพราะจะทำให้เขารำคาญและไม่กลับมาเยี่ยมเว็บไซต์ของเราอีกเลย ไม่ควรใส่ไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่มาก ที่จะทำให้เสียเวลาโหลด และ ควรใส่เฉพาะ link สำคัญ ๆ ไว้ที่หน้า Homepage นี้
หน้า About Us
ควรอธิบายเกี่ยวกับ รายละเอียดข้อมูลของเว็บไซต์โดยสรุปว่า เว็บไซต์นี้ มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอะไร ให้บริการด้านใดบ้าง และใครเป็นผู้สร้างเว็บไซต์นี้ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ เข้าใจจุดประสงค์ของเว็บไซต์มากที่สุด
หน้า Product Page
สร้าง web page นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนแสดงสินค้า ราคา รายละเอียด ส่วนลด คำอธิบายเกี่ยวกับสินค้า และ บริการของเราทั้งหมด อาจจะมีส่วนของ การสั่งซื้อ วิธีการชำระเงิน วิธีการจัดส่งสินค้า เพิ่มมาในส่วนนี้ได้
ส่วน Forum หรือ Webboard
ควรมี Forum หรือ Webboard สำหรับติดต่อพูดคุยกันระหว่าง ผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือ ลูกค้า กับ เจ้าของเว็บไซต์และทีมงาน เพื่อพูดคุยถึงสินค้า และ บริการที่เลือกซื้อไปแล้ว หรือ กำลังตัดสินใจจะเลือกซื้อ เป็นต้น ส่วนนี้ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ควรเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ เพราะว่าคุณกำลังทำการติดต่อสื่อสารออนไลน์ กับ ลูกค้าของคุณอยู่ ควรเน้นให้ข้อมูล และ รีบนำปัญหาของเขามาแก้ไขโดยด่วน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ที่จะสามารถรักษาจำนวนลูกค้าเดิม รวมทั้งเพิ่มลูกค้าใหม่ ที่เข้ามาอ่านเว็บบอร์ดในเว็บไซต์ของเราได้อีกทางหนึ่ง
หน้า FAQs
เป็น web page ที่สร้างมาเพื่อรวบรวมคำถามและคำตอบ ที่มักจะมีการถามบ่อย ๆ เอาไว้ เพื่อชี้แจงข้อสงสัยให้เกิดความกระจ่างในสินค้า หรือ บริการของเรา เป็นการเอาคำถามที่เจอในเว็บบอร์ดของเรามารวมตอบไว้ที่เดียว เพื่อลดการตั้งโพสซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นการเปลืองพื้นที่ web hosting ไปโดยใช่เหตุ และป้องกันการ spam ซึ่งไม่เป็นผลดีในการทำ SEO เลย
หน้า Contact Us
สร้าง web page นี้ขึ้นมา เพื่อแสดงข้อมูลสำหรับการติดต่อเรา ให้กับลูกค้า หรือ ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ดู โดยแสดงรายละเอียดของ สถานที่ตั้ง เบอร์โทรติดต่อ แผนที่ หรือ รายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น
หน้า Sitemap
ทำ web page ของ Sitemap ขึ้นมาเพื่อรวบรวม links ทุกลิงค์ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของเรา มารวบรวมไว้ที่หน้านี้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ สามารถเข้าไปส่วนที่เขาต้องการเยี่ยมชม ได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่เว็บไซต์ของเรา มีเนื้อหามาก หรือ ประกอบไปด้วยแผนกต่าง ๆ หลายแผนก แต่ไม่ควรมี links ที่หน้านี้เกิน 100 links ในหน้า Sitemap นี้ ถ้ามีมากกว่า 100 links ควรสร้างหน้า Sitemap ย่อยขึ้นมารองรับ links ที่เหลือด้วย
เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่าน คงมองเห็นประโยชน์ของการวางแผน หรือ การเตรียมตัว ก่อนทำเว็บไซต์อย่าง มืออาชีพกันแล้วนะครับ แต่ว่า ยังมีอีกหลากหลายวิธี ที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของเราประสบความสำเร็จได้ ซึ่งผู้เขียนเอง จะพยายามนำมาเขียนในโอกาสต่อไป
ที่มา : คลิกบีเคเคดอทคอม