A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


1. เขียนบทความที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ
บทความบางเรื่องมีอายุการใช้งานสั้นมาก เช่นบทความจำพวกข่าวต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการเขียนบทความ ที่มีอายุการใช้งานได้นาน ๆ นั้น ลองเลือกเรื่องที่กลั่นออกมาจาก ความคิดของคุณเอง ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง “บล็อกคืออะไร?” เป็นต้น คุณจะเห็นว่าบทความอย่างนี้ ไม่ได้ระบุระยะเวลา สามารถใช้งานได้นานครับ สิ่งนี้เอง จะทำให้บล็อกเกอร์คนอื่น พูดถึงบทความของคุณได้บ่อย ๆ ครับ

2. เขียนบทความขึ้นเองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ลักษณะของบทความใน blog ที่นิยมเขียนกันทั่วไปก็คือ การพูดถึงบทความ ที่คนอื่นเขียนไว้แล้ว แล้วมีการนำมา quote ไว้ในเนื้อหาของเรา แล้วก็มีการพูดถึงอีกนิดหน่อย แต่บทความที่จะสร้างให้ blog ของคุณเป็นกล่าวขวัญก็คือ บทความที่เขียนด้วยตัวคุณเอง และไม่ซ้ำกับใครที่ไหน หรือที่ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่า เป็นบทความแบบ Original นั่นเอง บทความแบบนี้เขียนไม่ยากหรอกครับ ลองนึกถึงการเขียน ด้วยความคิดของคุณเอง หรือมุมมองของคุณเอง ผมมั่นใจว่า มุมมองของแต่ละคน ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ลองเขียนดูครับ

3. เขียนข่าวก่อนคนอื่น
หากเราเป็นบล็อกที่รายงานข่าว ก็ลองเขียนข่าวให้เร็วกว่าคนอื่น ผมหมายถึงถ้าเรารายงานเข่าวได้เร็วกว่าคนอื่น หรือรายงานเป็นคนแรก นั่นจะทำให้ผู้อ่านคิดถึงเราเป็นคนแรก หากต้องการอ่านข่าว เราควรทำให้เป็นประจำ จะได้เป็นเครื่องหมายการค้า ของเราเลยว่า บล็อกนี้มีข่าวที่เร็วที่สุดให้อ่านกัน

4. เจาะลึกเฉพาะทาง
ข้อนี้จะเข้าข่ายเนื้อหาเจาะลึก ตรงประเด็นครับ (niche) หากคุณสนใจเรื่องเกม และบล็อกของคุณเขียนแต่เรื่องเกมแล้วล่ะก็ ลองเจาะมันให้ลึก ในเนื้อหาเฉพาะด้านเกมเลยสิครับ เช่นขยายไปถึง ข่าวเกม เฉลยเกม เป็นต้น เจาะให้ลึก เอาให้ละเอียด รับรองว่าคุณจะได้กลุ่มผู้อ่านที่สนใจในสิ่งที่คุณเขียน อาจเป็นกลุ่มคนที่ไม่เยอะ แต่คุณจะได้กลุ่มที่เป็นแฟนพันธุ์แท้นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


7. คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา

8. ลิงค์ถาวร (Permalink)
เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร

9. ปฎิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ

10. บทความย้อนหลัง (Archives)
บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้

11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)
เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ

12. RSS หรือ XML
ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างไรบ้าง

1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ

2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)
ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ

3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน

4. ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก

5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ

6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)
บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


Jason Calacanis ผู้ก่อตั้ง WeblogsInc.com ได้ประเมินสภานการณ์ของ blog ไว้ว่า

* blog ทั่วโลกที่มีการ update สม่ำเสมอนั้นมีอยู่ไม่เกิน 10%
* ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 50% ของคนที่มีอีเมล์แอดเดรสจะมี blog
* และ blog จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องเขียน กันเป็นกิจวัตรของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เหมือนกับที่ผู้คนต้องเช็คอีเมล์ในทุก ๆ วันนี้เลยทีเดียว และเมื่อนั้น จำนวนของ blog ที่มีการ update อย่างสม่ำเสมอจะเพิ่มมากขึ้น

คุณเชื่ออย่างที่นาย Jason Calacanis เค้าทำนายไว้ไม๊ครับ สำหรับผม ผมเองก็อยากให้มันเป็นอย่างนั้นเช่นกัน

ที่มา : เก่งดอทคอม


อ่านเจอจาก Problogger เห็นว่าน่าสนใจ เลยเอามาแปลให้คร่าว ๆ ครับ ถ้าใครติด Google Adsense ในเว็บหรือ blog ของคุณอยู่ ลองพิจารณาหัวข้อเหล่านี้ครับ ทำตามนี้จะปลอดภัยจากการถูกแบนโดยทีมงาน Google ได้ครับ

1. อย่าคลิก Google Adsense ในเว็บของตัวเอง
2. อย่าบอกให้คนอื่นหรือเพื่อน ๆ มาคลิก Google Adsense ในเว็บของคุณ
3. อย่าใช้ Pop-up เพื่อแสดง ad ของ google หรือใช้ software ทำการคลิกอัตโนมัติ
4. ระวังเรื่องการโปรโมทเว็บ ถ้าใช้วิธีโปรโมทเว็บแบบผิดวิธี อาจผิดกฎของ Google Adsense ได้
5. อย่าติด Google Adsense ในเว็บที่มีเนื้อหาผิดกฎของ Google Adsense
6. เคารพเครื่องหมายการค้าของ Google
7. อย่าเปลี่ยนแปลงโค๊ดของ Google Adsense โดยไม่ได้รับอนุญาต
8. ทำเว็บไซต์ให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกอยากเข้ามาชม หลีกเลี่ยงการใช้วิธีหลอกลวงให้คนเข้าเว็บ
9. จัดเตรียมเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใส่โฆษณา
10. ถ้า Google เมล์มาหา หรือเตือนมา ให้รีบตอบอีเมล์นั้นทันที

สิบวิธีคร่าว ๆ นี้ น่าจะช่วยให้คุณไม่ถูกแบนจาก Google Adsense ได้ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


มีคนถามมาทางอีเมล์ว่า ทำไมผมถึงสามารถอัพเดท blog ได้บ่อย ๆ วันนี้ผมเลยขอเอาเทคนิค ที่ผมใช้ในการดูแล blog ต่าง ๆ ของผมมาแบ่งปัน กันให้ลองทำนะครับ

1. แบ่งเวลาสำหรับ Blog

ผมเองก็ต้องทำงานเหมือนกันครับ แต่ผมพยายาม ที่จะไม่เบียดเวลาการทำงาน เพื่อเอามาเขียน blog โดยผมจัดเวลาพิเศษ สำหรับการดูแล blog ไม่เกิน blog ละ 30 นาที (กรณีของผมต้องดูแลหลาย blog) คือใน 30 นาทีนี้ คุณต้องทำให้เสร็จทั้งหาข้อมูล เตรียมภาพ และเขียนบทความ ให้เสร็จภายใน 30 นาทีครับ ลองจัดเวลาดูครับ บางทีผมทำในช่วงเช้าตรู่ คือตอนตื่นนอนมา ก็อ่านข่าวและเขียน blog โดยใช้เวลา 30 นาที ก่อนไปจัดการธุระส่วนตัว และอาบน้ำเตรียมตัวไปทำงาน และอีกทีคือช่วงดึก ๆ ก่อนนอนครับ ใช้เวลา 30 นาที เขียน blog เสร็จก็นอนหลับฝันดีเลยครับ บางคนอาจใช้เวลานานกว่า 30 นาที ก็ลองจัดเวลาที่เหมาะสมกับตัวคุณดูครับ อาจใช้เวลานานกว่านี้ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไดครับ บางวันมีเวลาว่างเยอะผมก็จะเขียนและจัดเตรียมบทความเพิ่ม แล้วจัดการตั้งเวลาให้โพสใน 2 วันถัดไป จะเห็นได้ว่าใน blog แห่งนี้จะโพสทุก 2 วัน

2. คิดเตรียมเรื่องบทความเวลาที่ว่าง

บางครั้งผมมักจะคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ตอนเวลาผมอยู่บนรถไฟฟ้า หรือระหว่างการเดินทาง ซึ่งในเวลาเหล่านั้น ผมไม่ได้ใช้สมองทำอะไรมากนัก ผมก็เลยเอาสมองที่ว่าง จากการใช้งานนั้น มาคิดเตรียมเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ พอมาถึง office ก็จด ๆ หัวข้อที่นึกออกไว้ก่อน พอถึงเวลาเขียน เราก็สามารถคิดเขียนต่อได้ทันทีครับ อันนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดการ กับเวลา 30 นาทีนี้ได้ครับ

3. ใช้เวลาให้น้อยลงเวลาหาข้อมูลในการเขียน

ข้อมูลในการเขียนของผมนั้น หาได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น blog ในต่างประเทศ หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ และที่สำคัญ หาข้อมูลใน internet นี่แหละครับ ถ้าใช้ให้คล่อง หรือรู้แหล่งข้อมูลอยู่แล้ว เราสามารถหาข้อมูลได้เร็วขึ้นไงครับ และแหล่งข้อมูลสำคัญสุดท้าย ก็คือให้หาจาก comment ที่คุณได้รับมา ว่าผู้อ่านต้องการอะไร คุณก็เขียนเรื่องนั้นทันทีครับ อันนี้ได้ประโยชน์สองเด้งคือ ผู้อ่านก็แฮปปี้ที่คุณตอบเค้า และสองคุณได้เรื่องใหม่ ๆ มาเขียนไงครับ

สามข้อเหล่านี้คือเทคนิคคร่าว ๆ ที่ผมใช้ในการดูแล blog นะครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้กับ blog ของคุณเองดูนะครับ ขอให้สนุกกับการเขียน blog นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


คุณสามารถใช้ blog เพื่อ

1. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร
โดยคุณสามารถแจ้งข่าวสารของบริษัท ว่าบริษัทของคุณกำลังทำอะไรอยู่ หรือว่ากำลังคิดค้นผลิตภัณฑ์ใด ๆ อยู่ มันไม่ใช่เป็นการเอาความลับมาเผยแพร่นะครับ แต่นี่คือช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถรับความคิดเห็น จากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ ได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด

2. เพื่อกระชับความสัมพันธ์
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าโดยการใช้บล็อกนั้น สามารถเปลี่ยนความรู้สึกของลูกค้าทั่ว ๆ ไป ให้เป็นลูกค้าที่ภัคดีต่อองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ของคุณได้นั่นเองครับ

3. เพื่อการบริหารจัดการความรู้
หากคุณใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เช่นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท จะทำให้พนักงานภายในองค์กรเอง สามารถเรียนรู้ ถึงผลิตภัณฑ์ของ บริษัทคุณได้ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อลูกค้าสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใด ๆ เมื่อไหร่ พนักงานของคุณ จะสามารถตอบได้ตลอดเวลา เป็นการสร้างความประทับใจ ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย นี่คือประโยชน์ของการจัดการ ข้อมูลความรู้ ที่เข้าถึงได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบนั่นเอง

คำแนะนำของผมก็คือ ลูกค้าเบื่อที่จะอ่านข้อมูล ข่าวสารการตลาดแบบเดิม ๆ ที่ออกมาจากข่าว PR แล้วนะครับ ลองเขียนข่าวสารในรูปแบบที่เน้นความเป็นกันเอง และพูดแต่ความจริงเท่านั้นนะครับ ถ้าคุณไม่ได้ใช้ blog ข่าวสารต่างๆ ที่ออกมาจากบริษัท จะต้องผ่านการคัดกรองโดยฝ่าย PR หรือสื่อต่าง ๆ นั่นทำให้ข้อมูลนั้น ไม่ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที

ลองใช้บล็อกเพื่อการสื่อสารที่เข้าถึงลูกค้าได้ทันทีดูสิครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


สำหรับผู้ที่สนใจจะใช้ blog ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคุณ ลองมาอ่านที่ wittybuzz.blogspot.com บ่อย ๆ นะครับ ผมจะทยอยเขียนเรื่องการทำตลาดโดยใช้ Blog เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ โดยวันนี้จะเริ่มต้นที่ว่า ใช้บล็อกทำหน้าที่อะไรให้กับองค์กรของคุณได้บ้าง

การเขียน blog นั้นสามารถสร้างความแตกต่าง ให้กับบริษัทของคุณ กับคู่แข่งได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อคุณเขียน blog นั่นหมายถึงว่า ลูกค้าของคุณจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ์ในการสื่อสารกับบริษัทของคุณ เพราะลูกค้าสามารถแสดงความคิดเห็นผ่าน blog ของคุณไ้ด้ทันที และยิ่งหากว่าคุณนำความคิดเห็นของลูกค้า มาปรับปรุงธุรกิจของคุณให้ดีขึ้น นี่เองจะเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทคุณ ในการที่จะทำการสำรวจ (Research) ต่างๆ เพื่อจะนำมาปรับปรุงบริการ หรือผลิตภัณฑ์ของคุณได้ไงครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม



หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า Google Adsense กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่เข้าใจแน่ชัดนักว่ามันคืออะไร ยกเว้นคนที่คุ้นเคยกับมันน่าจะเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ผมจะขออนญาตอธิบายเกี่ยวกับ Google Adsense สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักมันเลยสักหน่อยครับ

กูเกิ้ล แอดเซ้นส์ คือระบบโฆษณาบนเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตเว็บไซต์ หรือเจ้าของเว็บไซต์ สามารถนำโฆษณาจะระบบของ Google Adsense มาติดในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เว็บไซต์ครับ โดยรูปแบบของโฆษณา ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบตัวอักษร (Text) บางทีอาจจะมีในรูปแบบแบนเนอร์ (ถ้าคุณได้เลือกไว้ว่าอยากให้โชว์โฆษณาแบบ Banner ด้วยนั่นเอง

Google AdSense is the program that can give you advertising revenue from each page on your website—with a minimal investment in time and no additional resources.

AdSense delivers relevant text and image ads that are precisely targeted to your site and your site content. And when you add a Google search box to your site, AdSense delivers relevant text ads that are targeted to the Google search results pages generated by your visitors’ search request.

รูปแบบการสร้างรายได้ของ Google Adsense ก็คือ ระบบที่เรียกว่า Pay Per Click หรือจ่ายเมื่อมีผู้คลิกโฆษณา โดยเมื่อมีผู้เยี่ยมชมคลิกที่โฆษณาของ Google Adsense ที่ติดอยู่ในเว็บ หรือบล็อกของคุณ นั่นเอง โดยจำนวนเงินที่ได้ในแต่ละครั้งนั้นอาจจะไม่เท่ากัน โดยจะแตกต่างกันไปตามราคาที่ผู้โฆษณายอมจ่ายไว้นั่นเอง

รูปแบบจะเป็นคร่าว ๆ แบบนี้ครับ

ผู้โฆษณาซื้อโฆษณาใน Google เช่นราคา 10 เซ็นต์ แต่เมื่อมีโฆษณานี้มาแสดงอยู่ใน Blog ของเรา แล้วมีคนคลิก เราอาจจะได้เงิน 5 เซ็นต์ต่อคลิก ส่วนต่างนั้นก็จะเป็นรายได้ของ Google ครับผม

การจ่ายเงินของกูเกิ้ลที่จะให้เรานั้น จะจ่ายเมื่อยอดสะสมครบ 100 เหรียญสหรัฐฯ โดยจะส่งเป็นเช็คมาที่ ที่อยู่ที่เราให้ไว้ครับ กูเกิ้ลสามารถส่งเช็คมาให้เราที่เมืองไทยได้ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ปุ่ม Feed สีส้ม ๆ ที่เราเห็น ๆ กันนั้น เกิดจากความพยายาม ของเว็บแห่งหนึ่ง ที่ต้องการสร้างไอค่อน ของ RSS Feed ที่ใช้ในบล็อกและเว็บต่าง ๆ ที่มีฟังค์ชั่นการใช้งาน RSS Feed ได้ใช้ให้เหมือน ๆ กัน เวลาผู้ใช้ต้องการมองหาปุ่ม RSS Feed จะได้มองแว่บเดียวแล้วรู้ทันทีว่า นี่คือฟังค์ชั่น RSS Feed

โดยเว็บไซต์ FeedIcons.com ได้ออกแบบมา แล้วให้ดาวน์โหลดกันไปใช้ได้ฟรี โดยถ้าใครไม่ชอบปุ่มสีส้ม ๆ ทางเว็บเค้าก็จะมีปุ่มสีอื่น ๆ ให้เลือกด้วยครับ โดยมีไฟล์ใน format ต่าง ๆ ดังนี้ครับ AI, EPS, SVG, PSD, PDF, PNG, JPG และ GIF โดยจะมีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่เล็กจิ๋ว ไปจนถึงขนาดใหญ่ให้เลือกกัน โดยดาวน์โหลดไฟล์เดียว ได้ไปทั้งหมดนี้เลยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของการทำ blog กับ ผู้ให้บริการ blog นั้น แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการ บางแห่งฟรี บางแห่งเก็บค่าบริการรายเดือนครับ ผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มีตัวอย่างเช่น Blogger.com , LiveJournal.com , TypePad.com เป็นต้น หากเป็นของไทย ก็ลองไปที่ BlogRevo หรือ exteen.com ดูได้ครับ

2. ใช้ Blog Software ติดตั้งใช้เอง

การใช้ Blog Software มาติดตั้งใช้เองนั้น ต้องการความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม หรือติดตั้งโปรแกรมบ้างครับ แถมยังต้องมีพื้นฐานทางด้านการทำเว็บอีกด้วย เพราะเราอาจต้องทำการติดตั้ง หรือปรับแต่งดีไซน์ด้วยตัวเอง โดยข้อดีของการใช้ Blog Software มาติดตั้งเองคือ เราสามารถควบคุมการใช้บล็อกของเราได้เอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เขียนบล็อก ก็มีได้มากตามที่เราต้องการ หรือตามขนาดพื้นที่ของ web hosting ที่เราเช่าใช้อยู่ครับ

หากเราต้องการใช้ Blog Software เราจะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ล่วงหน้าแล้ว นั่นคือ

- ชื่อโดเมนเนม อาจจะเป็นชื่อโดเมนที่เราจดทะเบียนโด เมนเนมไว้ หรือใช้ sub domain จากเว็บของเราที่มีอยู่แล้ว หากคุณยังไม่เคยมีเว็บมาก่อน ก็ต้องจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นของตัวเองก่อนครับ

- พื้นที่เว็บโฮสติ้ง คุณต้องเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งไว้ให้พร้อมครับ โดยดูให้ตรงกับความต้องการของโปรแกรม blog software ที่เราจะใช้ เช่น php, cgi หรือ asp

- โปรแกรม Blog Software โปรแกรมเหล่านี้ มีทั้งแบบเสียสตางค์ซื้อมา เช่น MovableType หรือ หรือบางโปรแกรมก็ให้ใช้ได้ฟรี เช่น WordPress เป็นต้น

ลองเลือกดูตามความเหมาะสมนะครับ ว่าเราถนัดแบบไหน หากท่านใดมีข้อสงสัย หรืออยากได้คำปรึกษาเรื่อง blog ลอง อีเมล์ เข้ามาคุยกันดูนะครับ ผมยินดีช่วยเหลือเท่าที่ความสามารถของผมจะช่วยได้ครับ

อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาค 1)
อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ blog มาตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่เคยเขียนเรื่องนี้ซักที วันนี้เลยต้องขอเขียนถึงเสียหน่อย เพราะมีหลาย ๆ คน email ถามถึงวิธีการที่จะมี Blog ของตัวเองต้องทำยังไงบ้างครับ เริ่มต้นกันแบบง่าย ๆ ดีกว่าครับ อ่านไปจิบน้ำส้ม จิบกาแฟไปก็ได้นะครับ จะได้ไม่เครียด

การที่เราจะมี blog ได้นั้น เราควรจะรู้จักกันก่อนว่า การทำ blog มีผู้ให้บริการให้เราสามารถสร้าง blog ได้หลายรูปแบบ โดยในแต่ละแบบนั้น มีความต้องการรู้ทางด้านการทำเว็บแตกต่างกันไป ว่ากันถึงแบบหลัก ๆ ก่อนดีกว่าครับ

1. ผู้ให้บริการ Blog (Blog Hosting , Blog Provider)

หากคุณไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทำเว็บ หรือไม่รู้จัก blog มาก่อน ก็สามารถมี blog เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ ครับ โดยผู้ให้บริการ blog จะมีการเตรียมระบบรองรับให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมให้เราก็คือ

- ชื่อโดเมน ที่ใช้เป็นที่อยู่ของ blog เรา โดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อแบบ sub domain คือเป็นชื่อในรูปแบบ myname.blogprovider.com เป็นต้น โดยคำว่า myname นั้นก็จะแทนที่ด้วยชื่อที่เราเลือกไว้ครับ ส่วนตรง blogprovider.com นั้นก็คือชื่อโดเมนของผู้ให้บริการ blog ของเราไงครับ

- ระบบ blog management สิ่งต่อมาที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมไว้ให้คือ โปรแกรมการ update blog ต่าง ๆ ไงครับ เราไม่ต้องเขียนโปรแกรมการ update blog ด้วยตัวเอง แต่ทางผู้ให้บริการ จะมีระบบนี้เตรียมไว้ให้เราเลยครับ รวมทั้งพวกเทมเพลท หรือรูปแบบดีไซน์ของ blog ที่เตรียมไว้ให้เราใช้ได้เลย ไม่เสียเวลาออกแบบครับ

- พื้นที่เก็บ Blog โดยจำนวนพื้นที่ที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ให้เรานั้น มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายครับ

อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาค 1)
อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม



จั่วหัวเลียนแบบแมกกาซีนอย่าง Cosmopolitan ซะหน่อยครับ หลังจากผมได้ศึกษาข้อมูลเรื่องบล็อกมาอยู่พักใหญ่ อ่านเจอข้อมูลมาก็เยอะจนตาลาย ผมลองพยายามจำแนก ประเภทของคนเขียนบล็อก (Blogger) ว่ามีกี่แบบกันแน่ ลอง list ออกมาคร่าว ๆ ได้ดังนี้ครับ

1. บล็อกเกอร์อิสระ
นักเขียนบล็อกประเภทนี้คือ เขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเอง ไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว โดยเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิงภายในที่พักอาศัย เอ้ย! ไม่ใช่สิ นั่นมันประโยคคุ้น ๆ ของ CVD เค้า จริง ๆ คือบล็อกเกอร์ประเภทนี้เค้าจะเขียนเพื่อความสนุก และความมันส์ส่วนตัวในหมู่เพื่อนฝูงมากกว่า

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ
โดยนักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตนครับ นั่นก็คือเค้าใช้ blog มาเป็นเครื่องมือทำการตลาดนั่นเอง

3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร
บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่าง ๆ เท่าที่เห็น น่าจะเป็น blog ต่างประเทศที่ตกอยู่ในหมวดนี้ซะเยอะนะครับ

4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ
กลุ่มนี้คือบล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพเลยครับ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่าง ๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศครับ เพราะเขียนให้คนอ่านเยอะ ๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีรายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่าง ๆ เลยครับ อย่างเช่น xiaxue สาวคนนี้เขียนบล็อกจนดัง มีคนซื้อโฆษณาในบล็อกแถมยังให้ไปเป็น presenter ให้สินค้าเค้าอีกด้วย

ที่มา : เก่งดอทคอม



โดยคำว่า Blogosphere นั้น จะเป็นคำที่แทนความหมายของคำว่า WebLogs , Community และ Social Network เข้าด้วยกัน เมื่อพูดถึงคำว่า Blogosphere นั่นย่อมหมายถึงโลกแห่งบล็อก ซึ่งโลกของบล็อกนี้จะรวมถึงเว็บบล็อกต่าง ๆ , คนเขียนบล็อก (Blogger) , ชุมชนของบล็อกต่าง ๆ และยังรวมถึงสิ่งต่าง ๆ หรือเว็บต่าง ๆ ที่พูดถึงบล็อกนั่นเอง เช่นถ้าคุณอ่านบทความนี้อยู่ คุณก็เป็นผู้อ่านคนหนึ่งที่อยู่ใน Blogosphere ไงครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blogosphere ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


นอกจากการใช้ Blog ของ Up Your Budget เพื่อเล่นกิจกรรมแล้ว ทางบริษัท Budget ยังซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทกิจกรรมนี้ ทาง Blog ดัง ๆ ของสหรัฐอีกหลาย ๆ แห่งเช่น Adrants, MarketingVOX และ Boing Boing และยังซื้อโฆษณาผ่านระบบ BlogAds ซึ่งมีบล็อกในเครือข่ายอีก 74 บล็อก นอกจากนี้ยังซื้อโฆษณา keyword ใน search engine ชั้นนำต่าง ๆ อีกด้วย

นี่แหละครับ ความโดดเด่นและความสำคัญของสื่อใหม่อย่าง Blog ที่นักการตลาดและบริษัทดัง ๆ อย่างเช่น Budget ใช้เพื่อทำการตลาดผลิตภัณฑ์ของตน จับตามองให้ดีนะครับ สำหรับนักการตลาดไทย ผมว่า Blog มีประโยชน์ต่อนักการตลาดมากกว่าที่เราคิดกันไว้ครับ

Case Study : Up Your Budget Blog (ภาค 1)
Case Study : Up Your Budget Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


บริษัทให้เช่ารถยนต์ชื่อดังอย่าง Budget ทำกิจกรรมการตลาดโดยการใช้ Blog โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า Up Your Budget Treasure Hunt โดยเป็นกิจกรรม ตามล่าสติ๊กเกอร์ของ Budget โดยมีเงินรางวัลรวม $160,000 เหรียญสหรัฐ

โดย Budget ได้จัดกิจกรรมนี้ใน 16 เมืองในสหรัฐ โดยจะมีการนำสติ๊กเกอร์ของโครงการ Up Your Budget ไปติดไว้เมืองละ 1 ใบ โดยให้ผู้ร่วมแข่งขัน หาสติ๊กเกอร์นั้นให้เจอ หากใครหาพบ จะได้รางวัล $10,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้ที่หาพบ จะต้องโทรศัพท์ไปที่หมายเลขโทรศัพท์ ที่ระบุอยู่บนสติ๊กเกอร์ และจะต้องมีหลักฐานโดยใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายไว้ หรือถ่ายเป็นวีดีโอไว้ก็ได้ โดยแต่ละเมืองมีเพียงแค่ 1 สติ๊กเกอร์เท่านั้น

วิธีการเล่นกิจกรรมนั้น ผู้ร่วมเล่น ผมขอเรียกว่า hunter ละกัน จะได้พิมพ์ง่าย ๆ หน่อย โดย hunter จะต้องเข้ามาอ่าน blog ของ Up Your Budget เพื่อหาคำใบ้ โดยคำใบ้นั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของ Budget อยู่สองคน คอยถ่ายวีดีโอที่คอยใบ้ให้รู้ถึงสถานที่ที่ติดสติ๊กเกอร์ไว้ ความยากของมันอยู่ที่ว่า Budget ไม่ได้บอกว่า สติ๊กเกอร์อยู่ที่เมืองไหน และอยู่ที่ไหนในเมืองนั้น ๆ โดย hunter ทุกคนจะต้องดูวีดีโอคำใบ้ แล้วหาให้ได้ว่า ภาพในวีดีโอนั้นอยู่ที่เมืองไหน แล้วก็ต้องหาสติ๊กเกอร์นั้นให้เจอครับ โดยคำใบ้ต่าง ๆ จะเป็นภาพจำพวก สภาพดินฟ้าอากาศ ร้านอาหารท้องถิ่น หรือสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น โดยแต่ละสัปดาห์ จะเล่น 4 เมือง รวมระยะเวลา ในการเล่นกิจกรรมนี้ ใช้เวลา 1 เดือนพอดิบพอดี

Case Study : Up Your Budget Blog (ภาค 1)
Case Study : Up Your Budget Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home