A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


ข้อมูล Research จาก Truehits.net ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ เก็บสถิติเว็บไซต์ ในประเทศไทย ค่อนข้างทำให้เราเห็น แนวโน้มที่ชัดเจนว่า ประเทศไทย มีผู้นิยมใช้เสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Google มาเป็นอันดับหนึ่ง ที่ 95.98% ในขณะที่ Sanook ตามมาห่างมาก ๆ ในอันดับสอง อยู่ที่ 2.75% และอันดับสามคือยักษ์ใหญ่ ในวงการอินเทอร์เน็ตโลกอย่าง Yahoo ได้รับความนิยมไปเพียงแค่ 0.4%

ค่อนข้างชัดเจนว่า Google นั้นกวาดส่วนแบ่งตลาดไปถึง 95.98% แล้ว แต่ Sanook เองที่มีส่วนแบ่งผู้ใช้อยู่ 2.75% ด้วยเช่นกัน ถ้าเราดูกันดี ๆ จะพบว่า แท้จริงแล้ว Sanook นั้น ก็ใช้ระบบค้นหาเว็บ เป็นเครื่องมือของ Google เช่นกัน ดังนั้นเมื่อรวมกันแล้วก็ประมาณ 98%

จากข้อมูลนี้ ลองเอาไว้วางแผนการตลาด เวลาต้องการทำ Search Engine Marketing ดูนะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ในวงการเอเจนซี่ เค้าจะเรียกตัวชิ้นงานดีไซน์ต่างๆ ว่า creative เช่น ออกแบบ banner หนึ่งชิ้น เค้าก็เรียกว่านี่คือ creative หนึ่งชิ้น เป็นต้น เรามาดูกันว่า เทคนิคที่ Yahoo แนะนำมานี้ น่าสนใจแค่ไหน

ทาง Yahoo บอกเรามาก่อนเลยว่า เรามีเวลาเพียงแค่ไ่ม่เกิน 3 วินาที เพื่อที่จะดึงความสนใจจาก user หรือ visitor นี่คือเทคนิคในการออกแบบ creative ให้ผู้ชมสนใจครับ

1. เน้นไอเดียหลักเพียงแค่ 1 หรือ 2 ประเด็นเท่านั้นก็พอ
2. บริหารจัดการความยาวของตัวอักษรให้ดี ไม่ควรยาวเกินไป เดี๋ยวผู้ชมจะอ่านไม่ทัน
3. เน้นให้เห็นถึงประเด็นที่อยากให้ผู้ชมทำ เช่น ให้โทรไป call center หรือให้คลิก หรือให้เล่นเกมส์ เป็นต้น
4. ทำให้แบรนด์ดูโดดเด่นตลอดเวลาที่แสดง ad เช่น มี logo อยู่ทุกเฟรม
5. ทำให้ banner นั้น interact ได้ เช่นมีเกมให้เล่น หรือให้เอาเมาส์คลิกเพื่อเล่นกับ banner หรือทำ link เพื่อให้ไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้
6. วีดีโอออนไลน์มีแนวโน้มที่จะทำงานร่วมกันได้ดีกับแคมเปญออฟไลน์อื่น ๆ
7. ทำให้มีปุ่ม replay บน banner
8. ทำให้ปุ่มปิด (close) ให้เห็นเด่นชัด ในกรณีที่เป็น floating ad หรือ banner รูปแบบอื่น ๆ ที่รบกวนผู้้ใช้ (ปกติแล้ว ปุ่มปิด ควรจะอยู่ที่มุมขวาบน)
9. ใช้ตัวอักษรในการสื่อสารไอเดียหลัก ๆ แทนการใช้เสียง (เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะปิดเสียง)
10. มีทางเลือกให้้ผู้ใช้ ในการเปิด หรือปิดเสียงของโฆษณาชิ้นนั้น ๆ

ที่มา : เก่งดอทคอม


หากคุณต้องการสร้าง Viral วีดีโอคลิป เพื่อให้ดัง และประสบความสำเร็จ ในการมีผู้เียี่ยมชมล้นหลาม ระดับเป็นล้าน ๆ คน สิ่งเหล่านี้ ย่อมมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยส่งเสริม ให้เนื้อหาของ Viral วีดีโอคลิปนั้น ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก สำหรับตัวเนื้อหาของวีดีโอเอง ก็ย่อมเป็นเรื่องสำคัญ แต่มันก็แล้วแต่ว่าเราจะสร้าง เรื่องอะไร สำหรับเรื่องนี้ เรามาว่ากันถึงมุมทางเทคนิค และข้อควรทำกันล้วน ๆ

1. ทำให้สั้นเข้าไว้ : ประมาณ 15 – 30 วินาที น่าจะกำลังดี เพราะว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตบ้านเรา ยังไม่ได้ใช้ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง กันทั้งหมด ใครที่ต้องการทำเรื่องยาว ๆ ก็แนะนำว่าให้หั่นแบ่งเป็น วีดีโอคลิป สั้น ๆ หลาย ๆ ตอนครับ

2. ออกแบบคลิปให้คนอื่นทำเลียนแบบได้ง่าย : การต้องการทำให้วีดีโอคลิปของเรา ได้รับความนิยม มันก็มีอีกมุมหนึ่ง คือ หากมีคนเลียนแบบ เอาไปทำได้ง่าย ๆ ก็จะเป็นการช่วยโปรโมท คลิปต้นฉบับไปในตัว ตัวอย่างเช่น วีดีโอคลิปของ Dramatic Hamster ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ และก็มีผู้ทำตามกันเยอะมาก

3. อย่าทำโฆษณาเพื่อ Viral : ถ้าคนดูเค้าดูแล้วรู้สึกว่า มันเป็นโฆษณา เค้าก็จะไม่บอกต่อนะครับ ยกเว้นว่าถ้าวีดีโอคลิปนั้น เจ๋งจริง ๆ ตัวอย่างเช่น วีดีโอคลิปของ Sony Bravia

4. ทำให้ผู้ชมตกใจแบบสุดขีด : พยายามทำให้คนดู ไม่มีทางเลือกอื่น ๆ นอกจากจะต้องไปหาข้อมูล หรือสืบหาข้อมูลต่อไป ว่าวีดีโอคลิปที่เค้าเพิ่งจะดูไปนั้น เป็นจริงเหรอ ตัวอย่างเช่น วีดีโอคลิปของ UFO Haiti

5. เขียนหัวเรื่องหลอก : ทำให้คนดูต้องร้องออกมาว่า “เฮ้ย!! จริงเหรอ (วะ) เนี่ย” ตัวอย่างเช่น คลิปมดดำตบแอร์ หรือ วีดีโอคลิป Stolen Nascar

6. ใช้ความ Sexy เข้าช่วย : คือถ้าทำข้อหนึ่งถึงห้าแล้วมันยังไม่ฮิตซะที ก็ลองจ้างสาวสวย ๆ หรือหนุ่มหล่อ ๆ มาเป็นตัวแสดง ในวีดีโอคลิปนั้น ตัวอย่างเช่น วีดีโอคลิปของ Yoga 4 Dudes ที่ทำวีดีโอคลิปออกมา เพื่อนำเสนอการขาย ลูกบอลออกกำลังกาย (คลิปนี้เด็ก ๆ ไม่ควรดูนะครับ อิ อิ)

เพียงเท่านั้น ก็น่าจะทำให้ Viral Clip ที่คุณจะทำ ประสบความสำเร็จ ได้ในระดับหนึ่งแล้วครับ ลองทำกันดูแล้วกันครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


hi5 หรือที่วัยรุ่นไทยอ่านว่า ไฮไฟว์ บางคนก็อ่าน ฮิห้า ก็มีน่ะครับ เหอ ๆ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า hi5 เป็นเว็บไซต์แบบที่เรียกว่า Social Network ซึ่ง hi5 เป็นเว็บไซต์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2002 โดยคุณ Ramu Yalamanchi ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง CEO ของ hi5 นั่นเอง

ในเว็บไซต์ hi5 นั้น สมาชิกสามารถสร้างประวัติส่วนตัว แล้วแสดงบนโลกออนไลน์ โดยสามารถแสดงข้อมูลอย่างเช่น สิ่งที่ตนเองสนใจ เพศ อายุ และสามารถ อัพโหลดรูปภาพส่วนตัวได้อีกด้วย และในหน้าประวัติของสมาชิก ก็สามารถให้ผู้อื่นมาเีขียนคอมเม้นต์ (comment) ไว้ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สมาชิก hi5 ยังสามารถสร้างอัลบั้มรูปภาพส่วนตัว หรือแม้กระทั่ง ใส่ตัวเล่นเพลงในหน้าประวัติของตนเองด้วย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดใน hi5 เห็นจะเป็นเรื่องการขอเป็นเพื่อน ผ่านทางระบบอีเมล์ ไปหาสมาชิกคนอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเพื่อนคนอื่น ๆ ได้รับการขอเป็นเพื่อน ก็สามารถที่จะตอบรับ หรือปฎิเสธ หรือแม้กระทั่งปิดกั้น ไม่ให้เพื่อนคนนั้นเห็นเราก็ได้ ถ้าสมาชิกคนใด ตอบรับสมาชิกอื่นให้เป็นเพื่อนกันแล้ว ทั้งสองคนจะเป็นเพื่อนกันแบบตรง ๆ เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนกันระดับแรก (1st degree) สมาชิกทั้งสองฝ่าย ก็จะแสดงหน้าประวัติของเพื่อนของตนเอง ในหน้าประวัติของตนได้ครับ

สมาชิกบางคน อาจจะเลือกที่จะไม่แสดงประวัติ ให้สมาชิกคนอื่นเห็นก็ได้ บางคนอาจ จะอนุญาตให้สมาชิก ที่ตนได้ตอบรับเป็นเพื่อนแล้ว เห็นประวัติของตนได้เช่นกัน

ที่มา : เก่งดอทคอม


เมื่อคุณทำโครงการใด ๆ ที่ต้องการใช้ Blog มาทำการตลาด แล้วไม่อยากให้พลาด ผมมีคำแนะนำง่าย ๆ เรียกว่าเล่าให้ฟังกันดีกว่า เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึง ก่อนที่คุณจะทำ Blog Marketing (เอาไปประยุกต์ใช้กับ blog ส่วนตัวก็ได้นะครับ)

1. เนื้อหาใน Blog
สิ่งแรกที่จำเป็นต้องคำนึงถึง เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของ blog ก็ว่าได้ เพราะเนื้อหา หรือบทความใน blog นั้นจะเป็นตัวดึงดูด ให้กลุ่มเป้าหมาย มุ่งหน้ามาที่ Blog ของเรา ลองเขียนเนื้อหา ที่ไม่สามารถหาอ่านได้จากที่ไหน เช่นการเขียนบทความ ที่เติมความคิดเห็นส่วนตัว ของเราไว้ด้วยไงครับ และอย่ากลัว ที่จะเขียนบทความแสดงความคิดเห็น ที่ผู้อ่าน หรือคนอื่น ๆ จะไม่เห็นด้วย เพราะเสน่ห์ของ blog ก็อยู่ที่ความคิดเห็นส่วนตัว ของคนเีขียน blog นั่นแหละครับ

2. ความถี่ในการอัพเดท
สิ่งสำคัญในการสร้างให้ blog ของเรามีผู้คนกลับมาเยี่ยมชม ซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็คือการอัพเดท blog อย่างสม่ำเสมอ หลาย ๆ blog ที่อัพเดทวันละหลายครั้ง มีคนเข้ามาชมกันอย่างล้นหลาม ตัวอย่างเช่น blognone.com นั่นปะไร อัพเดทวันละประมาณ 10 บทความ คนเข้าวันละประมาณ 7,000 คนต่อวันแล้ว ดังนั้น ก่อนคิดสร้างแคมเปญที่จะใช้ blog marketing ให้คำนึงถึงจุดนี้ เพราะมันหมายถึง คุณต้องเตรียม blogger ให้เพียงพอสำหรับการอัพเดท ตามกำหนดของแคมเปญที่ตั้งไว้ สำหรับคนที่ต้องการทำ blog marketing แล้วบอกว่า จะอัพเดท blog สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผมคิดว่ามันน้อยไปหน่อย จะสร้าง traffic คนเข้า blog ได้ลำบากครับ

3. การเผยแพร่ blog ให้เป็นที่รู้จัก
blog เปิดมาใหม่ คนรู้จักก็ยาก ดังนั้น ต้องคำนึงถึงสถานที่ ที่เราจะไปโปรโมท blog ของเราไว้ให้ดี เช่น blog ของเรา มักจะมีระบบ rss feed อยู่ด้วยแล้ว ดังนั้นเราก็สามารถไปโปรโมทไว้ที่ blog search engine , blog directory หรือพวก rss directory เป็นต้น กลุ่ม search engine เหล่านี้ มักจะรับเฉพาะ blog เท่านั้น เว็บไซต์ปกติ ไม่สามารถ add เข้าไปได้ ดังนั้น ลองมองหา search engine กลุ่มนี้ให้ดีครับ นอกเหนือจากนี้ ยังมี Traditional Search Engine หรือ search engine แบบดั้งเดิม เช่น google, yahoo, msn เป็นต้น เพราะ blog ของเรา ก็เป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้น เรา add เข้าได้ทุก search engine อย่างนี้เรียกว่า ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


คำว่า Viral Marketing ได้โผล่มาให้เราได้ยินบ่อยครั้ง ในระยะหลัง เราลองมา ทำความรู้จักกับ คำว่า Viral Marketing กันดีกว่า

Viral Marketing หรือที่เรามักจะรู้จักกันเป็นภาษาไทย ในชื่อ การตลาดแบบไวรัส คือเทคนิคทางการตลาดอย่างหนึ่ง ที่ใช้ Social Network ที่มีอยู่ก่อนแล้ว มาเสริมสร้าง ให้เกิดการพบเห็นตราสินค้า (ฺBrand Awareness) หรือทำเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทางการตลาด โดยลักษณะการกระจายข่าวสาร ในแบบ Viral Marketing จะเป็นลักษณะเหมือนการบอกแบบปากต่อปาก เพียงแต่ว่าในยุคนี้ สื่ออินเตอร์เน็ต เอื้อให้การตลาดแบบไวรัส กระจายตัวได้เร็วกว่าแต่ก่อนมาก

Viral Marketing นั้นมีพลัง มีน้ำหนักในการสร้างความเชื่อถือ มากกว่าโฆษณาแบบอื่น ๆ เพราะว่ามีการยืนยันโดยเพื่อน ๆ ของผู้รับเอง เพราะมักจะเป็นการส่งต่อ หรือบอกต่อ โดยใ้ช้อีเมล์ การไป post ไว้ใน blog หรือ Social Network ของตนเอง พอเพื่อนมาเห็น ก็ค่อนข้างจะยินยอมที่จะดู อ่าน หรือฟัง ข้อความหรือข่าวสารนั้นนั่นเอง

Viral Marketing ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ช่องทาง ทางอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ยังสามารถเผยแพร่กระจายไปตามสื่อ Traditional Media เช่นทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ได้เ่ช่นกัน

ตัวอย่างเช่น กรณีเพลง ผีกาก้า ที่มีผู้เผยแพร่ให้ฟังและดาวน์โหลดกันจากเว็บไซต์ แต่สุดท้ายดังไปทั่วประเทศ เพราะผู้สื่อข่าว ทำไปพูดถึง และนำเสนอผ่าน โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์เป็นต้น ผลสุดท้าย เพลงผีกาก้า ได้รู้จักกันไปทั่วประเทศ และคนแต่งเพลงผีกาก้า ก็ได้ทำ CD มาออกขายผ่านทาง เซเว่น-อีเลเว่น

ที่มา : เก่งดอทคอม


เคยสังเกตไหมครับ ว่าเวลาเราฟังวิทยุ แต่ละคลื่น ทำไมเรารู้สึกว่าฟังแล้วแตกต่างกัน ทำไมฟังแล้วเรารู้สึกได้ว่า คลื่นนี้เป็นเพลงไทยอย่างเดียว ทำไมคลื่นนี้เป็นเพลงไทยปนฝรั่ง คลื่นนี้เป็นเพลงฝรั่งล้วน ๆ

สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นการกำหนดทิศทาง ของเนื้อหารายการวิทยุของแต่ละคลื่นนั่นเอง จากประสบการณ์ที่ผมเคยทำงาน ในสถานีวิทยุแห่งหนึ่ง ผมก็พอจะได้ความรู้มาว่า การที่เค้าจะกำหนดกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ก็ต้องมีการกำหนดทิศทาง และเนื้อหารายการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เช่น รายการวิทยุที่เปิดเพลงไทย และเพลงสากลแห่งหนึ่ง อาจจะกำหนดว่า ให้ดีเจเปิดเพลงไทย 50% และเปิดเพลงสากลอีก 50% เป็นต้น จะทำให้รายการดูเป็นเพลงไทยครึ่งนึง และเพลงสากลอีกครึ่งนึง บางรายการ เช่น กรีนเวฟ 106.5 FM ก็ดูแล้วเป็นรายการเพลงที่ฟังสบาย ๆ ลองนึกดูอีกที ก็พบว่า สถานีกรีนเวฟนี้ เปิดเพลงช้าเสียเป็นส่วนใหญ่ เห็นไหมครับว่า เค้าต้องมีการ กำหนดทิศทาง และเนื้อหาในรายการของตน

หันกลับมามอง blog ของเราบ้าง ทุกท่านเคยมีการกำหนดทิศทาง และเนื้อหาใน blog ตัวเองกันรึเปล่าครับ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เราได้ทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ blog ของเรา ได้มีกลุ่มผู้อ่าน ที่ตรงตามที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การที่ wittybuzz.blogspot.com เริ่มปรับตัว เพิ่มเนื้อหา ทางด้าน Online Marketing มากขึ้น แต่แน่นอนว่า ผมเองก็มีนโยบายที่ค่อนข้างชัดเจนในใจ ว่าเรื่อง Blog คือจุดที่ท่านผู้อ่าน สนใจที่จะได้ความรู้จาก wittybuzz.blogspot.com ไปมากที่สุด

และนอกเหนือจากการกำหนดประเภทของเนื้อหาแล้ว ยังมีการกำหนดประเภทของบทความอีก เช่นจะเขียนบทความที่เป็นข่าวสารกี่ % และเขียนบทความที่เป็นองค์ความรู้อีกกี่ % เป็นต้น

ลองไปกำหนดทิศทางเนื้อหาใน Blog ของตัวเองดูนะครับ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรา สามารถแก้ปัญหา การนึกมุกเขียนบทความไม่ออก ก็ได้ครับ ผมใช้ประจำ อิ อิ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ช่วงนี้ชาว blog ต่างพากันตื่นเต้น กับแหล่งสร้างรายได้แห่งใหม่ ที่ชื่อ WidgetBucks ซึ่งเพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน แต่มีโปรโมชั่นแรง ๆ ก็คือ แค่สมัครเราก็ได้แล้ว 25 เหรียญ แถมรายได้จากคลิกยังค่อนข้างสูง ผมลองติดดูแล้ว แป๊บเดียวได้มา 3 คลิก ตกเฉลี่ยแล้วคลิกละ 43 เซ็นต์ เรียกได้ว่าเยอะทีเดียว

แต่ปัญหายังอยู่คู่ blog ไทยอยู่ดี ทั้ง ๆ ที่ตอนแรก สามารถรองรับเว็บและ blog ได้ทุกภาษา แต่พอสามสัปดาห์หลังจาก WidgetBucks เปิดตัว ก็ปรับเปลี่ยนนโยบาย ออกมาบอกว่า ตอนนี้ยังสนับสนุน หรืออนุญาตให้ติด WidgetBucks ในเว็บภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะต้องการที่จะให้เกิดการ convertion ที่สูง สำหรับผู้ที่มาลงโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ นั่นเอง

รูปแบบการสร้า้งรายได้ของ WidgetBucks นั้นมีอยู่สองรูปแบบคือ รายได้จาก Pay Per Click และรายได้จากการ Referrer แนะนำคนให้ไปสมัคร WidgetBucks นั่นเองครับ รูปแบบของโฆษณาที่ออกมา จะไม่เป็น text เหมือน Google Adsense แต่ว่าจะเป็นแถบป้าย เหมือนเป็น Widget นั่นเอง สีสันสวยงาม ปรับแต่งให้เข้ากับ Blog ได้ง่ายครับ

สำหรับเรื่องการชำระเงิน มีให้เลือกสองรูปแบบคือ จ่ายเป็นเช็คส่งมาที่บ้าน หรือจ่ายเข้า PayPal ซึ่งเรียกได้ว่า ค่อนข้างสะดวกทีเดียว ที่มี paypal ให้ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


สำหรับตอนที่สองนี้ มาว่ากันด้วยเรื่องราวฮิตติดกระแสกันครับ บทความแนวนี้จะเขียนได้ไม่ยากครับ ลองมองหาข่าวดัง ๆ หรือเรื่องเด่นระดับ Talk of the Town มาเีขียนถึงดูครับ เรียกว่าเราเขียนเกาะกระแสความดังของข่าว หรือความน่าสนใจของบทความ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บดัง ๆ ที่จะเป็นกระแสอยู่ในช่วงนั้นครับ ตัวอย่างเช่น เรื่องเกี่ยวกับเพลง ผีกาก้า จะสังเกตเห็นได้ว่า ถ้าตอนนั้น ในช่วงที่ผีกาก้ากำลังฮิต ถ้าเราเขียน blog เกี่ยวกับเรื่องผีกาก้า ก็จะได้อานิสงค์ความดังของ ผีกาก้า ติดไปด้วย เพราะคนมักจะค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นอยู่แล้ว blog ของเราก็อาจจะติดโผไปด้วยความ

สำหรับบทความแนวเรื่องฮิตติดกระแสนี้ เขียนได้บ่อยเหมือนกัน แต่อย่าบ่อยมาก เดี๋ยวคนอ่านจะเบื่อซะก่อน เรื่องแบบนี้ก็สามารถได้รับความนิยมได้ไม่ยาก แต่กระแสมันมา แล้วก็ไปครับ เพราะพอเรื่องนี้เลิกฮิต คนอ่านก็จะน้อยลงไปด้วย เรื่องแนวนี้เขียนได้ไม่ยากไม่ง่ายครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ช่วงนี้มีเทคนิคการเขียนบทความ มาฝากกันครับ สำหรับการเลือกเขียนบทความ บางคนอาจสงสัยว่า เขียนบทความแนวไหน จะถูกใจคนอ่าน blog กัน ลองมาดูเทคนิคแรกกันครับ

แบบแรกผมขอเรียกมันว่า บทความแนวเจาะลึก แล้วกันนะครับ บทความแบบนี้มักจะได้รับความนิยม จากผู้อ่านในระดับสูง เรียกได้ว่าเป็นบทความแนวอมตะนิรันด์กาลครับ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีความรู้เรื่องเลี้ยงสุนัข เราก็เขียนเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการดูแลสุนัข หรือเทคนิคการทำคลอดสุนัขเป็นต้น เรียกได้ว่า บทความแบบนี้ ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในเรื่องราวที่เราเขียน ค่อนข้างสูง แต่รับรองว่า ผลที่ได้รับนั้นคุ้มค่าอย่างมากครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ความสำเร็จของการทำ blog มันเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง สรุปสองข้อง่าย ๆ ออกมาดังนี้ครับ

1. เขียนในสิ่งที่เรารักและชอบ

ถ้าเราเขียนเรื่องที่เราชอบ จะทำให้เราสนุกที่จะค้นหาข้อมูลมาเขียน และเรื่องที่เราชอบนี้ เรามักจะเข้าใจ และรู้แจ้งเห็นจริง ถ้ามีคนมาถาม เราก็สามารถตอบได้อย่างดี ประเด็นของเรื่องที่เราชอบนี้ จะไปจุดให้เราเกิดกำลังใจในการทำข้อสองครับ

2. อัพเดทบล็อกให้บ่อย ๆ

บล็อกที่มีคนเข้าเยอะ ๆ มักจะเป็นบล็อกที่มีการอัพเดทบ่อย ๆ ยิ่งบ่อยมาก คนอ่านยิ่งมากครับ

หลักการง่าย ๆ สองข้อนี้ ถ้าเอาไปทำได้ รับรองว่าไม่เกิน 1 ปี บล็อกของคุณ จะมีคนอ่านเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจเลยล่ะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


การที่เราจะมี link popularity เพิ่มขึ้น เพื่อหวังผลให้ search engine ค้นหาเจอ blog ของเราเป็นอันดับต้น ๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก หากแต่ต้องเข้าใจมันบ้างว่า link ที่เราได้มา แบบไหนจะมีคุณภาพมากกว่ากัน คราวนี้เรามาดูกันว่า การที่เราจะได้ link จาก blog อื่นมาหา blog ของเรานั้น link แบบไหนจะเกิดประโยชน์กับเรามากกว่ากัน

Comment

เวลาเราไป comment ใน blog อื่น ๆ แล้วใส่ link มาหา blog ของเราเองนั้น บาง blog จะมีการใส่แท็ก no follow ซ่อนไปใน link นั้น ๆ โดยอัตโนมัติ โดยอาถรรพ์ของแท็ก no follow ก็คือ search engine ต่าง ๆ จะหยุดเก็บข้อมูล เมื่อมาเจอแท็ก no follow นี้ครับ ดังนั้น การโปรโมท blog ด้วยการไป comment ใน blog ต่าง ๆ นั้น จะได้ผลแค่ในส่วนที่ว่า เจ้าของ blog หรือคนอ่าน blog นั้น อาจจะรู้จัก blog เรามากขึ้น แต่จะไม่มีผลกับอันดับ link popularity ใน search engine ครับ

Trackback

คือ link ที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ (เฉพาะระบบ blog ที่รองรับ trackback เช่น wordpress , movabletype) เมื่อเวลาที่ blog อื่น ๆ ทำ link มาหาบทความใน blog ของเรา โดย link ของ trackback ก็จะมาโผล่ในส่วนเดียวกับ comment ของเรานั่นเอง ดังนั้นเมื่อมันมาโผล่ในส่วน comment ก็แปลว่า link นี้จะติดร่างแหของแท็ก no follow ไปด้วยนั่นเอง

Blogroll

คือรายชื่อ blog ต่างๆ ที่เจ้าของ blog ได้จัดเรียงไว้ ตามส่วนต่าง ๆ ของ blog เรียกได้ว่าคือการรวม link ของ blog ที่เจ้าของ blog ไปอ่านบ่อย ๆ นั่นเอง โดย link จากส่วน blogroll จะถือได้ว่ามีคุณค่าสูงสุด สำหรับ link popularity เพราะว่าเป็น link ที่ทำ link มาโดยตรงหา blog ของเราโดยไม่มีแท็ก no follow ครับ

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเข้าไปอยู่ในรายชื่อ blogroll ของ blog คนอื่นนั่นเองครับ การจะเข้าไปอยู่ได้ ก็มีวิธีเดียวคือ เจ้าของ blog นั้น ๆ จะเป็นคนใส่ link ไปที่ blogroll ของตัวเองครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม



สำหรับหน่วยงานธุรกิจที่ยังลังเลว่าจะทำ blog ดีหรือไม่ วันนี้ผมมีข้อมูลเล็กน้อยมาให้ คนที่อยู่ในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ได้พิจารณาว่า ทำไมถึงไม่ควรมองข้ามการใช้ blog เพื่อองค์กรของคุณ เพราะในต่างประเทศ ธุรกิจต่าง ๆ ได้มีการเปิด blog ขององค์กรขึ้นมากันเยอะมาก อย่างเช่นบริษัทยักษ์ใหญ่ในในกลุ่ม Fortune 500 ก็มี blog กันแทบทั้งนั้น ผมมีเหตุผลมาให้ ว่าทำไมเราจึงควรใช้ blog กับองค์กรธุรกิจ

1. Blog เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง

เราสามารถใช้ blog เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดชนิดหนึ่ง โดยสามารถใช้ blog เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าของเราได้

2. Blog มีความ Interactive

blog เป็นการสื่อสารสองทาง ที่เราสามารถป้อนข่าวสารให้กลุ่มเป้าหมายได้ และคนอ่านก็สามารถใส่ comment เพื่อโต้ตอบกับผู้อ่านได้

3. Blog มีค่าใช้จ่ายต่ำ

การทำ blog เดี๋ยวนี้ ค่าใช้จ่ายไม่แพงแล้ว บางแห่งให้เราเขียน blog ได้ฟรี และถึงแม้เราอยากจะมีโดเมนเนม เป็นของตัวเอง และเช่า host เอง ก็ยังมี software สำหรับทำ blog ฟรีให้เราได้เลือกใช้ อย่างเช่น wordpress ไงครับ ดังนั้นการทำ blog มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าที่เราจะไปใช้สื่ออื่นครับ

4. Blog ใช้งานได้ง่าย

คนที่ใช้อีเมล์ได้ ก็สามารถเขียน blog ได้ นี่คือความง่ายของการทำ blog ในทุกวันนี้ และถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ค่อยเก่งคอมพิวเตอร์ ผมว่าใช้เวลาเรียนรู้แค่ 2-3 ชั่วโมง ก็ทำได้แล้วครับ

5. Blog มีความสดใหม่อยู่เสมอ

ด้วยความที่ Blog นั้นง่ายต่อการ update บทความ ทำให้การใส่บทความใหม่ ๆ เข้าไปนั้น ง่ายมาก ๆ นั่นคือสิ่งหนึ่งที่ทำให้ blog มีความสดและใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะคนดูแลสามารถใส่บทความได้ง่าย ลองนึกถึงว่า ปกติแล้วเว็บของบริษัท หรือองค์กรนั้น ข้อมูลจะค่อนข้างนิ่ง แต่หากเติม blog เข้าไปในเว็บขององค์กรแล้ว จะกลายเป็นว่า เว็บขององค์กร จะมีการ update อย่างสม่ำเสมอได้ง่าย นั่นจะทำให้ visitor มาเยี่ยมชมเว็บขององค์กร ได้บ่ายมากขึ้นด้วยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


การเขียน blog ไม่ใช่เรื่องยาก ใครที่เีขียนแล้วมีคนมาอ่านน้อย ๆ ลองมองดูแนวทางการเขียนที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้นะครับ

1. เขียนบทความในแนวที่ไม่เป็นทางการ

โลกนี้มีข้อมูลแบบเป็นทางการการให้คุณอ่านเยอะแล้ว ทั้งจาก magazine หรือเว็บไซต์เป็นต้น แต่ผู้อ่านที่เข้ามาหาข้อมูลอ่านใน blog นั้น ส่วนใหญ่มุ่งที่จะได้อ่านบทความแบบที่อ่านง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการมากนัก ลองเขียนแนวนั้นกันดูครับ

2. เขียนบทความให้เหมือนเราคุยกันคนอ่าน

ง่าย ๆ ครับ ลองนึกถึงการเล่าเรื่องให้เพื่อน ๆ ฟังดูครับ เราก็เีขียนแนว ๆ นั้นออกมาเป็นตัวหนังสือ การเขียนแบบนี้ จะสร้างความเป็นกันเองให้คนอ่านได้ง่ายครับ และการเขียนออกมา ให้เหมือนเราเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังนี้ จะแสดงความเป็นตัวตนของเราออกมา โดยอัตโนมัติครับ

3. เขียนบทความที่เป็นเรื่องจริง

อย่าได้คิดเขียนเรื่องโกหกเีชียวครับ เพราะหากเราเขียนเรื่องหลอกลวง ไม่นานพอคนอ่านรู้เข้า ก็จะไม่เชื่อถือบทความของเราอีก เป็นผลให้ blog ของคุณ ดับอวสานอย่างแท้จริง ผมอยากแนะนำให้เราเขียนแต่เรื่องจริงเท่านั้น (ยกเว้นบทความพวก เรื่องแต่ง เป็นต้น)

สามข้อง่าย ๆ นี้ ผมว่าน่าจะเอาไปลองปรับใช้กันดูได้ไม่ยากนะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


เรื่องการทำ blog แล้วให้มีรายได้แบบ passive income คือทำไว้ครั้งเดียว แล้วก็มีรายได้เข้ามาตลอด มีผู้ทำเว็บ หรือ blog แล้วก็จะมีรายได้เข้ามาเป็นล้าน ๆ บาทนั่นสามารถทำได้จริง แต่บางคนนั่นไม่รู้จะหาวิธีเริ่มต้นยังไง ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มอย่างไร

ผมเองคิดว่า การเปิดเว็บ แล้วมีรายได้จาก google adsense หรือจากทางอื่นที่เข้ามาทางเว็บ แล้วมีรายได้เป็นล้านบาทนั้น สามารถทำได้ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นมาในชั่วเวลาแป๊บเดียว การทำ blog หรือเว็บให้มีรายได้แบบนั้นต้อง ใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความขยันของคุณ ผมคงไม่มาสอนเรื่องการโกงต่าง ๆ ที่สามารถทำเงินได้ภายในเวลาแป๊บเดียว แต่ที่ผมจะสอนนี้ เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการรู้ว่า เราสามารถทำรายได้จากการเขียน blog ได้อย่างไรบ้าง
โดยผมจะทำเป็นตัวอย่าง และให้คุณได้เรียนรู้จากของจริงว่า ที่ผมทำไปในแต่ละวันนั้น ทำอะไรไปบ้าง เขียนบ่อยแค่ไหน กลยุทธการโปรโมททำอย่างไร เรียกได้ว่า จะสอนกันตั้งแต่เริ่มต้น และผมเองก็ทำเป็นตัวอย่าง ให้ดูควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน

โดยใครที่ต้องการหัดทำ blog และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน อยากให้ลองเตรียมสิ่งเหล่านี้ก่อนครับ

1. ฝึกการเขียนภาษาอังกฤษ เดี๋ยวเราจะหารายได้กันแบบโกอินเตอร์ เพราะรายได้จากเว็บภาษาไทย มันค่อนข้างน้อย หากเว็บเรายังไม่ดังจริง ๆ ดังนั้น เราจะเริ่มหาเงินกันด้วยการเขียน blog เป็นภาษาอังกฤษครับ

2. ใครที่ยังไม่มี blog ก็ให้หาบริการ blog แบบที่สามารถปรับแต่งดีไซน์ของ blog ได้ด้วยนะครับ เพราะว่าเราจำเป็นต้องใส่โฆษณาเข้าไปใน blog ได้ด้วยตัวเองด้วย

3. การทำ blog หาเงินนี้เป็นแผนระยะยาว ใครคิดรวยทางลัด ไม่ต้องทำตามนะครับ หากใครอยากได้รายได้แบบยิ่งนานยิ่งมากขึ้น ก็รีบเตรียมตัวให้พร้อมครับ สำหรับการทำ blog เพื่อหาเงินครั้งนี้ ผมแนะนำให้จดโดเมนเป็น ของตัวเอง และเ้ช่า server ให้เป็นจริงเป็นจัง เรียกได้ว่า ให้ blog นี้เป็นของคุณ 100% เลยครับ ถ้าย้าย server เราก็ยังสามารถเอา blog ของเราหนีตามกันมาได้ เหตุผมที่ต้องทำแบบนี้ เพราะว่า หากเราใช้ blog ฟรีอย่างเช่น blogspot พอเราทำไปนาน ๆ เวลาโปรโมท blog ไปเยอะ ๆ แล้ว blog เราก็จะมีคนเข้ามาเยอะ จากทาง search engine แล้ว พอเราย้ายไปเป็นของโดเมนตัวเองเมื่อไหร่ เจ้า url ของเราที่อยู่กับ blogspot นั้นไม่ได้ย้ายตามมากับเราด้วย เราอาจจะต้องมานั่งโปรโมทด้วยการทำ SEO ใหม่อีกครั้งครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมว่าคำถามข้อนี้ คงเป็นคำถามที่คาใจหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งจะรู้จักคำว่า Blog บางครั้งมือเก่า ๆ ที่เขียน Blog มาบ้างแล้ว มาได้ยินคำถามนี้ อาจจะหันกลับมาถามตัวเองด้วยก็ได้ว่า อืม ใช่! แล้ว blog มันต่างจากเว็บไซต์ยังไงบ้างล่ะ

ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์

สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ครับ

1. มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2. บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ เช่น ลองอ่านบทความนี้ดูครับ มันจะเหมือนว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ ใช่ไหมครับ นี่คือที่เราเรียกว่ามีความเป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนากันอยู่ไงครับ
3. ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4. อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5. Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)

ที่มา : เก่งดอทคอม


(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)
2. Google Analytics

สำหรับตัววัดสถิติจาก Google Analytics นั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ต้องของ invite เพื่อเปิดใช้บริการเท่าัึนั้น แต่ปัจจุบันเปิดให้บริการฟรีแก่บุคคลทั่วไปแล้ว มีเงื่อนไขแค่ว่า ให้ใช้ฟรี ถ้าเว็บเรามีคนเข้าน้อยกว่า 5 ล้าน page view ต่อเดือน แต่ถ้าเกินกว่านั้น เราต้องเป็นสมาชิก Google Adwords (ซื้อโฆษณาใน Google) อย่างน้อย 1 บัญชี

ข้อดีของ Google Analytics คือ สถิติที่ได้ เป็นสวรรค์ของเจ้าของเว็บ และนักการตลาด ผมเองยังแนะนำให้ลูกค้าที่มาทำเว็บกับบริษัทของเรา ใช้ Google Analytics เลยครับ เพราะข้อมูลให้รายละเอียดเชิงลึกมาก ๆ เหมาะกับการเอามาใช้วิเคราะห์ แผนการโปรโมทเว็บได้ดีมาก

จุดเด่นของเรื่องโค๊ดสถิติคือ เมื่อเอาโค๊ดมาใส่แล้ว จะไม่มีอะไรมาแสดงที่หน้าเว็บเราเลย (invisible) ไม่ต้องมีแท่งกราฟอะไรมาให้เกะกะสายตา ดูเป็นมืออาชีพมาก

ข้อด้อยคือ ไม่มีใครรู้สถิติของเรา เอาไปจัดอันดับกับใครก็ไม่ได้

3. ExtremeTracking

ตัววัดสถิติสัญชาติเยอรมัน อีกตัวหนึ่งที่ผมใช้ค่อนข้างบ่อย ในยามที่เป็นเว็บเปิดใหม่ หลังจากที่ truehits ไม่เิปิดให้เราใช้ฟรีแล้ว สำหรับตัว Extreme Tracking นี้ เป็นบริการสถิติฟรี ที่ให้รายละเอียดเยอะมาก โดยถ้าเทียบกับตัวฟรีของ TrueHits แล้ว เรียกได้ว่า Extreme Tracking กินขาด

สำหรับตัวโค๊ดสถิติ จะมีรูปกราฟฟิคโผล่ที่หน้าเว็บเราด้วย อันใหญ่ เกะกะ ผมไม่ค่อยชอบกราฟฟิคนี้ แถมย่อรูปก็ไม่ได้อีก เดี๋ยวโดนแบน ผมเลยใช้เฉพาะบาง blog เช่นที่ Vinegar Girl เป็นต้น

ข้อดีที่ผมชอบคือ สถิติค่อนข้างละเอียด และไม่ต้อง login ในการดู คือคลิกที่รูปกราฟฟิค แล้วก็เห็นสถิติได้เลย ที่สำคัญคือฟรี

ข้อเสีย ตัวกราฟฟิคที่แสดงในหน้าเว็บเรา ค่อนข้างใหญ่เกะกะ

ที่มา : เก่งดอทคอม


(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)
blog ก็เป็นเว็บไซต์ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้นการตรวจวัดสถิติ เพื่อทำการวิเคราะห์ยอดคนดูเว็บ ก็ใช้ระบบสถิติเว็บได้เช่นกัน ผมเลยอยากจะแนะนำตัววัดสถิติ ที่ผมใช้อยู่ตาม blog ต่าง ๆ ของผมให้ท่านผู้อ่าน ได้ลองเอาไปใช้กัน ผมเองใช้อยู่แค่ 3 ยี่ห้อนี้ไม่เปลี่ยนใจมาหลายปี

1. TrueHits

อันดับแรก ต้อง TrueHits ของไทยแท้ ๆ ให้บริการโดย สบทร. แต่ก่อนเคยเปิดให้บริการฟรี แต่เดี๋ยวนี้ไม่เปิดให้สมัครฟรีแล้ว โดยเปิดให้ใช้งานเฉพาะผู้สนับสนุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยราคาผู้สนับสนุนเริ่มต้นที่ปีละ 1,800 บาท โดยข้อดีของ TrueHits ก็คือได้มีการจัดอันดับเว็บไทย ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับเว็บไทยอื่น ๆ ซึ่งเอเจนซี่ที่ซื้อโฆษณาตามเว็บ ส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูลจาก TrueHits มาเป็นมาตรฐานในการวัด ดังนั้นหากเราคิดว่า blog ของเราต้องการผงาด ขึ้นมาแข่งขันกับเว็บอื่น ๆ เพื่อให้ติดตาเอเจนซี่ หรือผู้ซื้อโฆษณา ผมแนะนำให้ใช้บริการกับ TrueHits ครับ

แต่ TrueHits ก็มีข้อด้อยที่ผมไม่ค่อยชอบก็คือ ข้อมูลสถิติต่าง ๆ ค่อนข้างให้ข้อมูลแบบกั๊ก ๆ โดยเฉพาะข้อมูลเว็บไซต์ที่มีคนคลิกมาหาเรา หรือที่เรียกว่า Referer นั้น ใส่ url จากหน้าแรกของเว็บให้เราเท่านั้น ทั้งๆ ที่บางที มีคนคลิกมาจากหน้าข้างในลึก ๆ เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่า คนคลิกมาจากหน้าไหนบ้าง อีกจุดหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สำหรับ blog เล็ก ๆ

สำหรับโค๊ดของ TrueHits ที่เอามาติดนั้น จะมีรูปแท่งกราฟขึ้นมาโชว์อันเล็ก ๆ พอรับได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมได้มีโอกาสไป present งานเว็บให้ลูกค้าหลายท่าน บางท่านก็สนใจเรื่อง blog แต่แทบจะทุกคน สอบถามผมเรื่องถ้าเค้าทำ blog ให้ักับธุรกิจของเค้าเอง แล้วหากมีคนมาด่าทาง Comment ล่ะ จะทำยังไง คำถามนี้คงเป็นที่สงสัยของหลาย ๆ ท่านที่กำลังจะเปิด blog ของบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะภาพลักษณ์ขององค์กร มันค้ำคออยู่นั่นเอง

คำแนะนำของผมคือ เราไม่เห็นที่จะต้องกลัวเรื่องการ comment ที่มีเข้ามาเลย เพราะระบบ blog ส่วนใหญ่ สามารถตั้งระบบได้ ให้ comment ที่มีเข้ามานั้นไม่ต้องโชว์ขึ้นมาในเว็บทันที แต่ให้รอเจ้าของ blog มาอนุมัติเสียก่อนได้ เพื่อป้องกัน spam comment นั่นเอง ไม่ใช่ว่ากลัวการถูกด่า หรือคอมเม้นท์ในแง่ลบ ยิ่งถูกด่าสิยิ่งดี เราจะได้รู้ว่าเราควรจะปรับปรุงอะไร

ประโยชน์ที่เราได้จาก comment นั้นมีมากกว่าข้อเสียของมันแน่นอน ไม่อย่างนั้นบริษัทดังระดับโลก เค้าจะเปิด blog ให้คนอ่านเขียน comment ส่งเข้ามากันโครม ๆ ได้หรือ

ตัวอย่างการได้ประโยชน์จาก comment ที่มีเข้ามาก็คือ ผมเคยยิงคำถามถึงท่านผู้อ่านใน blog นี้ ว่าผมจะเขียนหนังสือ blog สักเล่มหนึ่ง อยากให้มีอะไรในนั้นได้ ผู้อ่านทั้งหลายส่ง comment เข้ามาเพียบ ทำให้ผมได้รู้ว่าทิศทางของหนังสือเล่มที่ผมกำลังจะเขียนใน ควรมุ่งไปในทิศทางใด

ผมว่าระบบ comment มันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ! ชัวร์

ที่มา : เก่งดอทคอม


5. PlayPark.com
เว็บไซต์เกมส์ยังคงครองใจคนไทย โดยเว็บไซต์ PlayPark.com เข้ามาเป็นอันดับ 5 blog ใน playpark อยู่ที่หน้า mini play

4. TeeNee.com
เว็บวาไรตี้ที่เน้นเรื่องวงการบันเทิงเป็นหลัก เข้ามาเป็นอันดับที่ 4 ได้โดยไม่มี blog ให้บริการแม้แต่นิดเดียว เรียกได้ว่าเรียกคนเข้าเว็บได้ โดยใช้เรื่องราวที่คนสนใจเป็นหลัก

3. Manager.co.th
เว็บข่าว ผู้จัดการออนไลน์ ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในประเทศไทย เข้ามาเป็นอันดับสาม โดยมีบริการ Manager Blog ให้ผู่อ่านได้มาเขียน blog ของตัวเองเช่นกัน

2. Kapook.com
เว็บวาไรตี้อันดับสองของเมืองไทย มาพร้อมกับบริการ Kapook Planet ซึ่งให้บริการ blog และอัลบั้มรูปต่าง ๆ โดย kapook ได้จัดทำหน้า ranking ของส่วน blog แยกออกมาด้วย

1. Sanook.com
เว็บอันดับหนึ่งของเมืองไทยอย่าง Sanook.com ย่อมต้องไม่ตกกระแส blog อย่างแน่นอน โดย sanook เปิดให้บริการ Sanook Blog ให้กับผู้ที่สนใจด้วย

หลังจากที่เราตรวจสอบกันครบ 10 อันดับแล้ว พบว่ามีถึง 7 เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog กับผู้คนทั่วไปด้วย โดยเว็บที่ให้บริการ blog นั้นอยู่ในอันดับ 1, 2, 3, 5, 6, 7 และ 8 ตามลำดับ ส่วนอีก 3 เว็บที่ไม่ได้ให้บริการ blog นั้น เป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเกมส์ และวงการบันเทิงทั้งนั้นเลย

จากการวิเคราะห์คร่าว ๆ แล้ว จะเห็นว่าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวงการบันเทิง จะมีผู้คนสนใจเยอะอยู่แล้ว แต่เว็บไซต์ที่ให้บริการ blog ด้วยนั้น จะเห็นว่ามีคนเข้าชมเว็บเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะในอันดับที่ 1 – 3 ของประเทศเลยทีเดียว นั่นหมายถึงว่า ตัวเลขของนักเขียน blog ชาวไทย นั้นมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอน

ที่มา : เก่งดอทคอม


เรามาดูกันดีกว่าครับว่า blog นั้นแพร่กระจายไปมากแค่ไหนแล้วในประเทศไทย เริ่มกันง่าย ๆ เรามาดูกันว่า เว็บไซต์สุดฮิต 10 อันดับแรกของไทยนั้น มีการใช้ blog มาเอี่ยวด้วยมากแค่ไหน โดยสถิติ 10 เว็บไซต์ดังของไทยนั้น ผมขอใช้อันดับจากเว็บไซต์ทรูฮิตนะครับ

10. SiamZa.com
เมื่อลองเข้าไปตรวจดูในเว็บ SiamZa.com ผมไม่พบส่วนใดที่มี blog หรือให้บริการ blog จาก siamza เลย โดยที่ใกล้เคียงที่สุดคือ มุมนักเขียน แต่ก็ยังไม่ใช่ blog อยู่ดี เพราะว่าเป็นบริการที่ดูแล้วคล้่าย ๆ กับเว็บบอร์ดเท่านั้น

9. Sf.in.th
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเกมส์ Special Force ที่ฮิตจนติดอันดับ 9 ในทรูิฮิต หลังจากที่ผมเข้าไปสำรวจ ก็ไม่พบกว่ามีการให้บริการ blog แต่อย่างใดเช่นกัน แต่ก็อย่างว่า เกมส์นี้เค้าไม่ต้องเน้นที่เว็บกันเท่าไหร่ เพราะคนส่วนใหญ่เข้าไปเล่นเกมส์กัน

8. Pantip Cafe
เว็บบอร์ดสุดเก๋าแห่งประเทศไทย อย่าง pantip.com นั้นเข้ามาเป็นอันดับแปด ถึงแม้ว่า pantip.com เองจะไม่ได้ให้บริการ blog ภายใต้ชื่อโดเมนเนม pantip.com แต่ทุกคนก็รู้กันอยู่แล้วว่า BlogGang.com นั้นเป็นบริการ blog ภายใต้ยี่ห้อ pantip.com นั่นเอง ดังนั้น ผมขอสรุปได้ว่า pantip.com ก็ได้อานิสงค์ความฮิตของบริการเสริมอย่าง BlogGang.com นั่นเอง

7. Dek-D.com
อันดับเจ็ดคือเว็บไซต์ Dek-D.com ซึ่งเป็นเว็บวาไรตี้จับกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนนั่นเอง สำหรับเว็บ Dek-D นั้นมีบริการ Diary Online ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่า ไดอารี่ออนไลน์ก็เป็นหนึ่งในหมวดหมู่ของ Blog นั่นเอง

6. Mthai.com
มองเห็นชัดเจน เพราะโผล่อยู่ในเมนูด้านบนสุด สำหรับบริการ Blog ในเว็บ MThai.com ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการหลักของ MThai ด้วยเช่นกัน

ที่มา : เก่งดอทคอม


มีรายงานจาก JupiterResearch เกี่ยวกับเรื่อง Corporate Blog มาให้ดูกันครับ

1. บริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 34% มี blog กันแล้ว และคาดว่าตัวเลขจะสูงขึ้นอีกภายในสิ้นปีนี้
2. มี 23% บอกว่ามีงบประมาณสำหรับการทำ blog ระหว่าง 10,000 – 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
3. แต่ยังมีอีก 6% บอกว่า มีงบประมาณให้เอาไปทำ blog ของบริษัทสูงถึง 5 ล้านเหรียญขึ้นไป
4. บริษัทเหล่านี้เชื่อว่า blog จะเป็นโอกาสที่จะให้บริษัท ได้ใช้กลยุทธการตลาดแบบปากต่อปาก
5. มีผู้บริหารระดับสูงใช้ blog ถึง 35% เพื่อทำการตลาดแบบปากต่อปาก ให้กับผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทตนเอง

นี่คือสถานการณ์การใช้ blog เพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรธุรกิจ ของบริษัทระดับชั้นนำของโลก หันมามองในไทยกันบ้าง ผมเห็นว่าน้อย หรือแทบไม่เห็นเลย ที่บริษัทต่างๆ จะมาใช้ blog ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ ทั้งในแง่ของการทำ PR หรือการทำการตลาด

ผมเห็นว่า blog เป็นเครื่องมือทำการตลาดชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกมันได้เต็มปากว่าเป็น นิว มีเดีย แน่นอนครับ

บริษัทไหนที่อยากทำ blog ก็ขอให้รีบทำเลยครับ อย่ารีรอ เพราะว่าทำก่อน มักได้เป็นผู้นำครับ ถ้าเรามัวรอให้ blog เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากไปกว่านี้ หรือรอให้ถึงวันนั้นแล้วค่อยเริ่ม ก็จะช้าไปไม่ทันการณ์ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


blog ที่มีคุณภาพสร้างได้อย่างไร
ในส่วนนี้ อยากให้คนที่ทำ blog ลองสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง ถึงแม้ว่าฟรี articles ที่เค้ามีแจกกัน จะเอามาใช้ได้ แต่ถ้าทำเนื้อหาเอง มันจะเป็น unique content มากกว่านะครับ

สำหรับการทำ SEO นั้น คนที่ทำ SEO อย่างไร้สติ จะทำให้เนื้อหาของคุณเต็มไปด้วย keyword ที่อ่านไม่เป็นภาษาที่สละสลวย ผมเห็นคนทำ SEO ระดับมืออาชีพ เค้าไม่ spam keyword กันนะครับ ไม่ได้เอา keyword เยอะ ๆ มายัดในเนื้อหาให้อ่านไม่รู้เรื่องนะครับ ลองมองประเด็นนี้ดี ๆ คือสร้าง content ที่ดี และอ่านออกเป็นภาษามนุษย์ แล้วเดี๋ยวเรื่อง SEO มันตามมาเป็นผลพลอยได้เอง ถ้าจะตั้งใจทำเพื่อ SEO อย่าใส่ keyword จนเลอะเทอะครับ
การสร้าง blog ที่มีคุณภาพ ต้องทำการบ้านเยอะครับ หาข้อมูลเยอะ จับประเด็นออกมาเขียนให้ได้ และนอกเหนือจากการทำเนื้อหา ก็คือการจัดการ blog ของคุณให้คนอ่าน อ่านได้ง่าย อยากให้ลองเน้นว่าเราทำ blog เพื่อท่านผู้อ่าน มิใช่ทำ blog เพื่อตัวเราเองครับ

blog ไร้คุณภาพ กำลังจะตาย

ทุกวันนี้ คนที่ทำเว็บหรือ blog ขึ้นมาเพื่อติด adsense หรือที่เค้าเรียกว่า Made for adsense นั้นมีมากขึ้นทุกที ทำเอาตลาดวายไปเลย เพราะรายได้จาก adsense นั้นลดลงเรื่อยๆ ผมมั่นใจว่า google สามารถปรับปรุงระบบของตนเอง ให้รับมือกับการเจอกับ blog หรือเว็บพวก Made for Adsense ได้แน่นอน และเมื่อนั้น blog เหล่านี้ก็ต้องพับฐานไปแน่นอน และเมื่อเวลานั้นมาถึง blog ที่มีคุณภาพ ยังอยู่แน่นอน เพราะใคร ๆ ก็ชอบของที่มีคุณภาพ รวมถึง sponsor หรือผู้สนับสนุนต่าง ๆ ก็ชอบด้วย

ที่มา : เก่งดอทคอม


ทุกวันนี้ blog ต่าง ๆ ในไทย เกิดขึ้นมากมาย บ้างมีคุณภาพ บ้างก็ทำขึ้นมาเพื่อเป็น spam หรือที่เราเรียกกันว่า “Splog” แต่ผมอยากให้ทุกท่านที่มี blog แล้ว หรือที่คิดกำลังจะมี blog ว่าทำอย่างไร ให้ blog ของเราเติบโตอย่างมีคุณภาพ ถ้ายิ่งเป็นคุณภาพที่สูงด้วย จะยิ่งดีต่อ blog ของคุณเองแน่นอนครับ

ที่ผมพูดถึงประเด็นนี้ ก็เพราะว่า ทุกวันมี blog เกิดใหม่เพียบ หลาย ๆ คนเห็นว่าเขียน blog แล้วเอามาติด adsense เดี๋ยวก็ได้เงินเยอะแยะ เลยปั๊ม blog ขึ้นมากันใหญ่ บางคนใช้ฟรี articles ที่เค้ามีแจกกัน ก็คงไม่ได้ผิดกติกาอะไร แต่บางคนเล่น copy เนื้อหาของคนอื่นมาใช้กันดื้อ ๆ โอเคว่าตอนนี้ ad อย่าง google adsense กำลังมาแรงในบ้านเรา แต่ถ้ามองถึงอนาคต โลกนี้ไม่มีอะไรยั่งยืน หากเราหวังแต่เงินจาก google adsense แล้วสร้าง blog ที่ไม่มีคุณภาพขึ้นมา คุณเองจะไม่สามารถต่อสู้ในโลกธุรกิจได้ในระยะยาว

ทำไมต้องทำ blog ที่มีคุณภาพ

ถ้าคุณสร้าง blog ที่มีคุณภาพสูงออกมาแล้ว แน่นอนว่าระยะยาว ย่อมได้เปรียบคู่แข่ง ในแง่เนื้อหาของ blog ที่น่าสนใจ หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่คุณเสริมเข้าไป เพื่อให้ blog ของคุณน่าสนใจ เมื่อเราทำ blog ที่มีคุณภาพสูงออกมาแล้ว ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่าง google adsense หรือ การทำ seo ใน google เอง ก็ล้มเราได้ลำบาก

ลองคิดกันเล่น ๆ ว่า AIS ที่ยิ่งใหญ่ ยังมีวันแย่ได้ หรือ ไมโครซอฟต์ ยังมีคนจ้องโค่นบัลลังค์ ถ้าวันนี้เราติดอันดับต้น ๆ ใน google วันหน้าอาจไม่ใช่ เพราะคู่แข่งมากขึ้น หรือ อัลกอริธึ่มของ google อาจเปลี่ยนไปก็ได้ หรือบางที google เองอาจตกกระป๋อง เพราะ search engine อื่นมาแรงกว่า การมุ่งทำ SEO อย่างเดียว อาจไม่ใช่สิ่งสุดท้าย ที่คุณต้องทำเพื่อโปรโมท blog ของคุณ เนื้อหาที่มีคุณภาพต่างหากที่สำคัญกว่า เพราะไม่ว่าการจัดอันดับของ Search Engine จะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ถ้าคุณยังคงเนื้อหาคุณภาพสูงเอาไว้ มันไม่ใช่ประเด็นที่คุณต้องกลัวเลยว่า คนจะไม่เข้า blog ของคุณ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ด้วยความที่ blog เป็นเว็บไซต์ชนิดหนึ่ง ที่มีรูปแบบการจัดเรียงลำดับบทความ ตั้งแต่บทความใหม่ล่าสุด ย้อนไปยังบทความเก่าที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป บทความดี ๆ ของคุณ อาจจะถูกเลื่อนไปเก็บไว้ยังหน้าหลัง ๆ ซึ่งผู้อ่านก็ยากที่จะไปค้นหาดู ดังนั้นมาลองดูเทคนิคต่าง ๆ ในการทำให้ผู้อ่าน เข้าถึงข้อมูลดี ๆ หรือข้อมูลที่สำคัญ ๆ ของเรากันได้ดีกว่าครับ

1. จัดหมวดหมู่ Category ให้ชัดเจน
บทความเก่ามักจะไหลย้อนกลับ เอ๊ย! มักจะถูกเก็บไปอยู่ด้านหลัง ๆ แต่หากเราจัดหมวดหมู่ของบทความ ให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้อ่านที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ก็จะสามารถมุ่งตรงเข้าไปยัง กลุ่มบทความนั้นได้ทันที เช่นผมตั้งหมวดเทคนิคการเขียน blog เอาไว้ ผู้อ่านที่เข้ามาเว็บผม บางคนกำลังมองหาบทความต่าง ๆ ที่สอนเทคนิคในการเขียน blog ก็สามารถ เข้าไปหาบทความเหล่านั้นได้เลยครับ

2. จัดเอาบทความสำคัญมาแสดงให้เห็นเด่นชััด
ตัวอย่างง่าย ๆ ของ wittybuzz.blogspot.com ก็คือในส่วนบทความแนะนำ โดยใครจะใช้เทคนิคไหนก็ได้ ลองเอามาให้เห็นชัด ๆ จัดเรียงให้สวยงามอ่านง่าย โดยเพิ่ม category ของ link มาอีกหมวดหนึ่ง แล้วทำ link ไปยังบทความต่าง ๆ แทนที่จะ link ไปยังเว็บอื่น พอส่วนหน้าเว็บ ผมก็ดึงผลของหมวดหมู่ที่ทำไว้ ออกมาเป็น บทความแนะนำไงครับ ส่วนใครที่ใช้ blogware ยี่ห้ออื่น ๆ ลองประยุกต์เทคนิคนี้ดูครับ สำหรับตัวอย่างในข้อนี้ ลองดู problogger.net ครับ เฮียเค้าลิงค์บทความเจ๋ง ๆ ไว้หน้าแรกเลยครับ เราต้องไม่ลืมว่าคนอ่านบล็อกเรา อาจมีคนที่เพิ่งเข้ามาครั้งแรกได้ครับ

3. ทำ banner หรือ graphic ไฮไลท์บทความ
หากใครมีความสามารถทำ banner ได้สวย ๆ ลองออกแบบป้ายแบนเนอร์ หรือกราฟฟิคสวยสะดุดตา ใช้ลิงต์ไปยังบทความเด่น ๆ ของเราได้ด้วยครับ

4. ช่อง search น่ะดีมีประโยชน์
ลองขยับช่อง search ให้คนเห็นเด่นชัด เพราะคนเราเดี๋ยวนี้ เอะอะ อะไรก็ search เพราะชินกับความง่ายของช่อง search ไปซะแล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามมันครับ เอาขึ้นมาอยู่ในส่วนท่อนบนเลยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


6. ทำ Tag ไปหา technorati
บล็อกเสิร์ชเอนจิ้นชื่อดังอย่าง Technorati นั้นมี pagerank ที่สูงทีเดียว ยิ่งถ้าแต่ละบทความของคุณ มีการใส่ tag ไปแจ้ง technorati ไว้ เราจะได้ผลสองทางคือ ทางตรง ได้ไปอยู่ใน technorati directory และ ทางอ้อม คือ bot ของ search engine ต่าง ๆ จะวิ่งต่อจาก technorati มาเก็บข้อมูลในบล็อกของเราด้วย

7. ทำ signature ตอนตอบกระทู้ใน Web Board
เวลาไปตอบกระทู้ในเว็บบอร์ดต่าง ๆ ก็อย่าลืมตั้งค่า signature ให้ลิงค์มาที่บล็อกของคุณด้วย คำแนะนำคือ ตอบกระทู้ในสิ่งที่คุณตอบได้ อย่า spam เว็บบอร์ด ให้ตอบในเรื่องที่เรารู้จริง จะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้บล็อกของเราได้อีกด้วย ลองแวะไปที่เว็บบอร์ดสำหรับชาวบล็อกอย่าง Blogger Talk ก่อนได้

8. ใช้ Social Bookmark
ในยุค web 2.0 อย่างตอนนี้ ลองใช้ประโยชน์จากเว็บพวก social bookmark ให้เกิดประโยชน์ ถ้าบทความในบล็อกของเรา ได้ไป link อยู่ในเว็บเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่ม traffic และเพิ่ม link popularity ไปในตัว ลองดูเว็บอย่าง del.icio.us หรือ digg แต่ถ้าหากเป็นของไทย ลองแวะไปที่ Zickr

9. Ping ไปที่ Blog Search Engine
ถ้าระบบบล็อกของคุณเป็นโปรแกรมอย่างพวก WordPress หรือ MovableType คุณก็จะสามารถตั้งค่าของโปรแกรมให้ทำการ ping บทความหรือบล็อกของคุณ เข้าสู่ Blog Search Engine ในทุก ๆ ครั้งที่คุณอัพเดทบล็อกโดยอัตโนมัติ ลองดู ping list ที่นี่ดูครับ หรือถ้าหากใครตั้งค่า ping ไม่เป็น ลองดูวิธีที่ผมเคยเขียน วิธีการ ping ของ WordPress ไว้นะครับ

10. เขียนบทความให้เว็บอื่นหรือบล็อกอื่นๆ
หลายแห่งเปิดให้เราได้แสดงความสามารถ หรือเขียนบทความที่มีประโยชน์ ต่อกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ หรือบล็อกของเค้า และส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเราเขียนเรื่องส่งไป เราจะได้ credit เล็ก ๆ ก็คือ link กลับมาหาบล็อกของเรา

ที่มา : เก่งดอทคอม


การเพิ่มจำนวน Link Popularity เป็นอีกวิธีหนึ่งในกระบวนการทำ SEO ให้กับบล็อกของคุณ นอกเหนือจากการเพิ่ม Link Popularity แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาส ที่คนจะเข้ามาอ่านบล็อกของคุณมากขึ้นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบล็อก ลองดู 10 เทคนิคการสร้าง Link Popularity ให้กับบล็อกของคุณกันดูดีกว่าครับ รับรองว่าสิ่งเหล่านี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยากเลยครับ

1. Link ไปหาบล็อกอื่น
วิธีที่ง่ายที่สุด ก็คือทำ link ไปหาบล็อกอื่น ๆ ที่คุณสนใจก่อนเลย นักเขียนบล็อกหลาย ๆ ท่านมักะใจจดใจจ่อ อยู่ตลอดอยู่แล้วว่า จะมีใครทำ link มาหาบ้าง เมื่อคุณลิงค์ไปหาเค้าก่อน คุณก็อาจจะได้เป็นจุดสนใจ ทำให้เจ้าของบล็อกนั้น ๆ รู้จักบล็อกของคุณ คราวนี้แหละครับ ถ้าบล็อกเราดีจริง เค้าก็คงไม่รังเกียจที่จะทำ link มาหาเราแน่นอนครับ หรือถ้าให้ชัวร์ หลังจากที่คุณทำลิงค์ไปหาบล็อกอื่นแล้ว ลองเมล์ไปบอกเจ้าของบล็อกเค้าด้วยก็ดีครับ ว่าเราทำลิงค์ไปหาแล้วนะครับ

2. ไป Comment ที่บล็อกคนอื่นบ้าง
เวลาเราไปอ่านบล็อกคนอื่น ก็ไปเขียนคอมเม้นต์ไว้บ้างนะครับ มีคำแนะนำนิดนึงว่า อย่าไป spam comment เค้านะครับ เพราะขนาดเราเองยังรำคาญเวลามีคนมา spam comment ของเรา ใจเขาใจเราครับ ( เพิ่มเติมครับ ตอนนี้ในส่วน comment ของระบบ blog อย่าง wordpress มักจะมีแท็ก no follow ครอบอยู่ ทำให้ไม่สามารถช่วยในเรื่อง link popularity ได้แล้วนะครับ คงได้ประโยชน์คือให้เจ้าของบล็อก รู้จักบล็อกเราเท่านั้ัน)

3. Submit บล็อกเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ
ข้อนี้ต้องขยันนิดนึง เพราะคุณต้อง submit บล็อกของเราเข้าสู่ Search Engine ต่าง ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของบล็อกก็คือ คุณสามารถโปรโมทบล็อกไปสู่ search engine ของเว็บได้ และยังโปรโมทไปสู่ search engine เฉพาะทางเช่นพวก Blog Search Engine ได้อีกด้วย

4. ออกแบบบล็อกให้ดูดีสวยงาม
ถ้าคุณออกแบบบล็อกให้สวย ๆ หรือมีดีไซน์ที่โดดเด่นสะดุดตา คุณก็มีโอกาสที่จะโปรโมทเว็บของคุณที่ Rookienet หรือเว็บที่พูดคุยถึงเรื่องการดีไซน์เว็บ เป็นต้น

5. ใช้ CSS ในการออกแบบบล็อก
หากดีไซน์สวยแล้ว ยิ่งใช้ css ในการ coding เข้าไปอีก โอกาสยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะคุณจะมีโอกาสได้โปรโมทไปสู่ระดับโลก เช่นเว็บ CSSvault ซึ่งถ้าคุณออกแบบสวยและใช้ CSS คุณก็สามารถส่งบล็อกของคุณ เข้าไปให้เค้าพิจารณาได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์
ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของคุณ แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูครับว่า ถ้าวันใดที่คุณมีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่คุณต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่คุณเคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว

6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสม
เมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก คุณอาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อคุณเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ ของคุณเช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คนนะครับ ว่าคุณสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเองดูีครับ

7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความ
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ (มั่วจริง ๆ เลยผม) ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ ดูนะครับ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งทกินทรัพยากรของระบบ และบล็อกของคุณมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพดังนี้ครับ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองดูเป็น gif นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ถ้าต้องการสร้างบล็อกให้เป็นอย่างมืออาชีพ คุณต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจในสิ่งเหล่านี้ครับ

1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blog
ลองสังเกตดูง่าย ๆ ครับ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อก
ก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทาง ของเนื้อหาในบล็อกดูก่อนครับ ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกไงครับ เช่น บล็อกของ wittybuzz.blogspot.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นผมวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง “blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ผมเขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อกครับ

3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเอง
เนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผุ้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วยนะครับ ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย

4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามา
บล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์ จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันคุณควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ครับ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวัน เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


1. เขียนบทความที่มีอายุการใช้งานนาน ๆ
บทความบางเรื่องมีอายุการใช้งานสั้นมาก เช่นบทความจำพวกข่าวต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการเขียนบทความ ที่มีอายุการใช้งานได้นาน ๆ นั้น ลองเลือกเรื่องที่กลั่นออกมาจาก ความคิดของคุณเอง ตัวอย่างเช่น บทความเรื่อง “บล็อกคืออะไร?” เป็นต้น คุณจะเห็นว่าบทความอย่างนี้ ไม่ได้ระบุระยะเวลา สามารถใช้งานได้นานครับ สิ่งนี้เอง จะทำให้บล็อกเกอร์คนอื่น พูดถึงบทความของคุณได้บ่อย ๆ ครับ

2. เขียนบทความขึ้นเองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ลักษณะของบทความใน blog ที่นิยมเขียนกันทั่วไปก็คือ การพูดถึงบทความ ที่คนอื่นเขียนไว้แล้ว แล้วมีการนำมา quote ไว้ในเนื้อหาของเรา แล้วก็มีการพูดถึงอีกนิดหน่อย แต่บทความที่จะสร้างให้ blog ของคุณเป็นกล่าวขวัญก็คือ บทความที่เขียนด้วยตัวคุณเอง และไม่ซ้ำกับใครที่ไหน หรือที่ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่า เป็นบทความแบบ Original นั่นเอง บทความแบบนี้เขียนไม่ยากหรอกครับ ลองนึกถึงการเขียน ด้วยความคิดของคุณเอง หรือมุมมองของคุณเอง ผมมั่นใจว่า มุมมองของแต่ละคน ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ลองเขียนดูครับ

3. เขียนข่าวก่อนคนอื่น
หากเราเป็นบล็อกที่รายงานข่าว ก็ลองเขียนข่าวให้เร็วกว่าคนอื่น ผมหมายถึงถ้าเรารายงานเข่าวได้เร็วกว่าคนอื่น หรือรายงานเป็นคนแรก นั่นจะทำให้ผู้อ่านคิดถึงเราเป็นคนแรก หากต้องการอ่านข่าว เราควรทำให้เป็นประจำ จะได้เป็นเครื่องหมายการค้า ของเราเลยว่า บล็อกนี้มีข่าวที่เร็วที่สุดให้อ่านกัน

4. เจาะลึกเฉพาะทาง
ข้อนี้จะเข้าข่ายเนื้อหาเจาะลึก ตรงประเด็นครับ (niche) หากคุณสนใจเรื่องเกม และบล็อกของคุณเขียนแต่เรื่องเกมแล้วล่ะก็ ลองเจาะมันให้ลึก ในเนื้อหาเฉพาะด้านเกมเลยสิครับ เช่นขยายไปถึง ข่าวเกม เฉลยเกม เป็นต้น เจาะให้ลึก เอาให้ละเอียด รับรองว่าคุณจะได้กลุ่มผู้อ่านที่สนใจในสิ่งที่คุณเขียน อาจเป็นกลุ่มคนที่ไม่เยอะ แต่คุณจะได้กลุ่มที่เป็นแฟนพันธุ์แท้นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


7. คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา

8. ลิงค์ถาวร (Permalink)
เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร

9. ปฎิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ

10. บทความย้อนหลัง (Archives)
บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้

11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)
เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ

12. RSS หรือ XML
ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างไรบ้าง

1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ

2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)
ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ

3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน

4. ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก

5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ

6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)
บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้

ที่มา : เก่งดอทคอม


Jason Calacanis ผู้ก่อตั้ง WeblogsInc.com ได้ประเมินสภานการณ์ของ blog ไว้ว่า

* blog ทั่วโลกที่มีการ update สม่ำเสมอนั้นมีอยู่ไม่เกิน 10%
* ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า 50% ของคนที่มีอีเมล์แอดเดรสจะมี blog
* และ blog จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องเขียน กันเป็นกิจวัตรของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เหมือนกับที่ผู้คนต้องเช็คอีเมล์ในทุก ๆ วันนี้เลยทีเดียว และเมื่อนั้น จำนวนของ blog ที่มีการ update อย่างสม่ำเสมอจะเพิ่มมากขึ้น

คุณเชื่ออย่างที่นาย Jason Calacanis เค้าทำนายไว้ไม๊ครับ สำหรับผม ผมเองก็อยากให้มันเป็นอย่างนั้นเช่นกัน

ที่มา : เก่งดอทคอม


อ่านเจอจาก Problogger เห็นว่าน่าสนใจ เลยเอามาแปลให้คร่าว ๆ ครับ ถ้าใครติด Google Adsense ในเว็บหรือ blog ของคุณอยู่ ลองพิจารณาหัวข้อเหล่านี้ครับ ทำตามนี้จะปลอดภัยจากการถูกแบนโดยทีมงาน Google ได้ครับ

1. อย่าคลิก Google Adsense ในเว็บของตัวเอง
2. อย่าบอกให้คนอื่นหรือเพื่อน ๆ มาคลิก Google Adsense ในเว็บของคุณ
3. อย่าใช้ Pop-up เพื่อแสดง ad ของ google หรือใช้ software ทำการคลิกอัตโนมัติ
4. ระวังเรื่องการโปรโมทเว็บ ถ้าใช้วิธีโปรโมทเว็บแบบผิดวิธี อาจผิดกฎของ Google Adsense ได้
5. อย่าติด Google Adsense ในเว็บที่มีเนื้อหาผิดกฎของ Google Adsense
6. เคารพเครื่องหมายการค้าของ Google
7. อย่าเปลี่ยนแปลงโค๊ดของ Google Adsense โดยไม่ได้รับอนุญาต
8. ทำเว็บไซต์ให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกอยากเข้ามาชม หลีกเลี่ยงการใช้วิธีหลอกลวงให้คนเข้าเว็บ
9. จัดเตรียมเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใส่โฆษณา
10. ถ้า Google เมล์มาหา หรือเตือนมา ให้รีบตอบอีเมล์นั้นทันที

สิบวิธีคร่าว ๆ นี้ น่าจะช่วยให้คุณไม่ถูกแบนจาก Google Adsense ได้ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


มีคนถามมาทางอีเมล์ว่า ทำไมผมถึงสามารถอัพเดท blog ได้บ่อย ๆ วันนี้ผมเลยขอเอาเทคนิค ที่ผมใช้ในการดูแล blog ต่าง ๆ ของผมมาแบ่งปัน กันให้ลองทำนะครับ

1. แบ่งเวลาสำหรับ Blog

ผมเองก็ต้องทำงานเหมือนกันครับ แต่ผมพยายาม ที่จะไม่เบียดเวลาการทำงาน เพื่อเอามาเขียน blog โดยผมจัดเวลาพิเศษ สำหรับการดูแล blog ไม่เกิน blog ละ 30 นาที (กรณีของผมต้องดูแลหลาย blog) คือใน 30 นาทีนี้ คุณต้องทำให้เสร็จทั้งหาข้อมูล เตรียมภาพ และเขียนบทความ ให้เสร็จภายใน 30 นาทีครับ ลองจัดเวลาดูครับ บางทีผมทำในช่วงเช้าตรู่ คือตอนตื่นนอนมา ก็อ่านข่าวและเขียน blog โดยใช้เวลา 30 นาที ก่อนไปจัดการธุระส่วนตัว และอาบน้ำเตรียมตัวไปทำงาน และอีกทีคือช่วงดึก ๆ ก่อนนอนครับ ใช้เวลา 30 นาที เขียน blog เสร็จก็นอนหลับฝันดีเลยครับ บางคนอาจใช้เวลานานกว่า 30 นาที ก็ลองจัดเวลาที่เหมาะสมกับตัวคุณดูครับ อาจใช้เวลานานกว่านี้ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไดครับ บางวันมีเวลาว่างเยอะผมก็จะเขียนและจัดเตรียมบทความเพิ่ม แล้วจัดการตั้งเวลาให้โพสใน 2 วันถัดไป จะเห็นได้ว่าใน blog แห่งนี้จะโพสทุก 2 วัน

2. คิดเตรียมเรื่องบทความเวลาที่ว่าง

บางครั้งผมมักจะคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ตอนเวลาผมอยู่บนรถไฟฟ้า หรือระหว่างการเดินทาง ซึ่งในเวลาเหล่านั้น ผมไม่ได้ใช้สมองทำอะไรมากนัก ผมก็เลยเอาสมองที่ว่าง จากการใช้งานนั้น มาคิดเตรียมเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ พอมาถึง office ก็จด ๆ หัวข้อที่นึกออกไว้ก่อน พอถึงเวลาเขียน เราก็สามารถคิดเขียนต่อได้ทันทีครับ อันนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดการ กับเวลา 30 นาทีนี้ได้ครับ

3. ใช้เวลาให้น้อยลงเวลาหาข้อมูลในการเขียน

ข้อมูลในการเขียนของผมนั้น หาได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น blog ในต่างประเทศ หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ และที่สำคัญ หาข้อมูลใน internet นี่แหละครับ ถ้าใช้ให้คล่อง หรือรู้แหล่งข้อมูลอยู่แล้ว เราสามารถหาข้อมูลได้เร็วขึ้นไงครับ และแหล่งข้อมูลสำคัญสุดท้าย ก็คือให้หาจาก comment ที่คุณได้รับมา ว่าผู้อ่านต้องการอะไร คุณก็เขียนเรื่องนั้นทันทีครับ อันนี้ได้ประโยชน์สองเด้งคือ ผู้อ่านก็แฮปปี้ที่คุณตอบเค้า และสองคุณได้เรื่องใหม่ ๆ มาเขียนไงครับ

สามข้อเหล่านี้คือเทคนิคคร่าว ๆ ที่ผมใช้ในการดูแล blog นะครับ ลองเอาไปประยุกต์ใช้กับ blog ของคุณเองดูนะครับ ขอให้สนุกกับการเขียน blog นะครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


คุณสามารถใช้ blog เพื่อ

1. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร
โดยคุณสามารถแจ้งข่าวสารของบริษัท ว่าบริษัทของคุณกำลังทำอะไรอยู่ หรือว่ากำลังคิดค้นผลิตภัณฑ์ใด ๆ อยู่ มันไม่ใช่เป็นการเอาความลับมาเผยแพร่นะครับ แต่นี่คือช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถรับความคิดเห็น จากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ ได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด

2. เพื่อกระชับความสัมพันธ์
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าโดยการใช้บล็อกนั้น สามารถเปลี่ยนความรู้สึกของลูกค้าทั่ว ๆ ไป ให้เป็นลูกค้าที่ภัคดีต่อองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ของคุณได้นั่นเองครับ

3. เพื่อการบริหารจัดการความรู้
หากคุณใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เช่นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัท จะทำให้พนักงานภายในองค์กรเอง สามารถเรียนรู้ ถึงผลิตภัณฑ์ของ บริษัทคุณได้ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อลูกค้าสอบถามเข้ามาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใด ๆ เมื่อไหร่ พนักงานของคุณ จะสามารถตอบได้ตลอดเวลา เป็นการสร้างความประทับใจ ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย นี่คือประโยชน์ของการจัดการ ข้อมูลความรู้ ที่เข้าถึงได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบนั่นเอง

คำแนะนำของผมก็คือ ลูกค้าเบื่อที่จะอ่านข้อมูล ข่าวสารการตลาดแบบเดิม ๆ ที่ออกมาจากข่าว PR แล้วนะครับ ลองเขียนข่าวสารในรูปแบบที่เน้นความเป็นกันเอง และพูดแต่ความจริงเท่านั้นนะครับ ถ้าคุณไม่ได้ใช้ blog ข่าวสารต่างๆ ที่ออกมาจากบริษัท จะต้องผ่านการคัดกรองโดยฝ่าย PR หรือสื่อต่าง ๆ นั่นทำให้ข้อมูลนั้น ไม่ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที

ลองใช้บล็อกเพื่อการสื่อสารที่เข้าถึงลูกค้าได้ทันทีดูสิครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


สำหรับผู้ที่สนใจจะใช้ blog ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคุณ ลองมาอ่านที่ wittybuzz.blogspot.com บ่อย ๆ นะครับ ผมจะทยอยเขียนเรื่องการทำตลาดโดยใช้ Blog เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ โดยวันนี้จะเริ่มต้นที่ว่า ใช้บล็อกทำหน้าที่อะไรให้กับองค์กรของคุณได้บ้าง

การเขียน blog นั้นสามารถสร้างความแตกต่าง ให้กับบริษัทของคุณ กับคู่แข่งได้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อคุณเขียน blog นั่นหมายถึงว่า ลูกค้าของคุณจะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ์ในการสื่อสารกับบริษัทของคุณ เพราะลูกค้าสามารถแสดงความคิดเห็นผ่าน blog ของคุณไ้ด้ทันที และยิ่งหากว่าคุณนำความคิดเห็นของลูกค้า มาปรับปรุงธุรกิจของคุณให้ดีขึ้น นี่เองจะเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทคุณ ในการที่จะทำการสำรวจ (Research) ต่างๆ เพื่อจะนำมาปรับปรุงบริการ หรือผลิตภัณฑ์ของคุณได้ไงครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม



หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า Google Adsense กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่เข้าใจแน่ชัดนักว่ามันคืออะไร ยกเว้นคนที่คุ้นเคยกับมันน่าจะเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ผมจะขออนญาตอธิบายเกี่ยวกับ Google Adsense สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักมันเลยสักหน่อยครับ

กูเกิ้ล แอดเซ้นส์ คือระบบโฆษณาบนเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตเว็บไซต์ หรือเจ้าของเว็บไซต์ สามารถนำโฆษณาจะระบบของ Google Adsense มาติดในเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้เว็บไซต์ครับ โดยรูปแบบของโฆษณา ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบตัวอักษร (Text) บางทีอาจจะมีในรูปแบบแบนเนอร์ (ถ้าคุณได้เลือกไว้ว่าอยากให้โชว์โฆษณาแบบ Banner ด้วยนั่นเอง

Google AdSense is the program that can give you advertising revenue from each page on your website—with a minimal investment in time and no additional resources.

AdSense delivers relevant text and image ads that are precisely targeted to your site and your site content. And when you add a Google search box to your site, AdSense delivers relevant text ads that are targeted to the Google search results pages generated by your visitors’ search request.

รูปแบบการสร้างรายได้ของ Google Adsense ก็คือ ระบบที่เรียกว่า Pay Per Click หรือจ่ายเมื่อมีผู้คลิกโฆษณา โดยเมื่อมีผู้เยี่ยมชมคลิกที่โฆษณาของ Google Adsense ที่ติดอยู่ในเว็บ หรือบล็อกของคุณ นั่นเอง โดยจำนวนเงินที่ได้ในแต่ละครั้งนั้นอาจจะไม่เท่ากัน โดยจะแตกต่างกันไปตามราคาที่ผู้โฆษณายอมจ่ายไว้นั่นเอง

รูปแบบจะเป็นคร่าว ๆ แบบนี้ครับ

ผู้โฆษณาซื้อโฆษณาใน Google เช่นราคา 10 เซ็นต์ แต่เมื่อมีโฆษณานี้มาแสดงอยู่ใน Blog ของเรา แล้วมีคนคลิก เราอาจจะได้เงิน 5 เซ็นต์ต่อคลิก ส่วนต่างนั้นก็จะเป็นรายได้ของ Google ครับผม

การจ่ายเงินของกูเกิ้ลที่จะให้เรานั้น จะจ่ายเมื่อยอดสะสมครบ 100 เหรียญสหรัฐฯ โดยจะส่งเป็นเช็คมาที่ ที่อยู่ที่เราให้ไว้ครับ กูเกิ้ลสามารถส่งเช็คมาให้เราที่เมืองไทยได้ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ปุ่ม Feed สีส้ม ๆ ที่เราเห็น ๆ กันนั้น เกิดจากความพยายาม ของเว็บแห่งหนึ่ง ที่ต้องการสร้างไอค่อน ของ RSS Feed ที่ใช้ในบล็อกและเว็บต่าง ๆ ที่มีฟังค์ชั่นการใช้งาน RSS Feed ได้ใช้ให้เหมือน ๆ กัน เวลาผู้ใช้ต้องการมองหาปุ่ม RSS Feed จะได้มองแว่บเดียวแล้วรู้ทันทีว่า นี่คือฟังค์ชั่น RSS Feed

โดยเว็บไซต์ FeedIcons.com ได้ออกแบบมา แล้วให้ดาวน์โหลดกันไปใช้ได้ฟรี โดยถ้าใครไม่ชอบปุ่มสีส้ม ๆ ทางเว็บเค้าก็จะมีปุ่มสีอื่น ๆ ให้เลือกด้วยครับ โดยมีไฟล์ใน format ต่าง ๆ ดังนี้ครับ AI, EPS, SVG, PSD, PDF, PNG, JPG และ GIF โดยจะมีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่เล็กจิ๋ว ไปจนถึงขนาดใหญ่ให้เลือกกัน โดยดาวน์โหลดไฟล์เดียว ได้ไปทั้งหมดนี้เลยครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของการทำ blog กับ ผู้ให้บริการ blog นั้น แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการ บางแห่งฟรี บางแห่งเก็บค่าบริการรายเดือนครับ ผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มีตัวอย่างเช่น Blogger.com , LiveJournal.com , TypePad.com เป็นต้น หากเป็นของไทย ก็ลองไปที่ BlogRevo หรือ exteen.com ดูได้ครับ

2. ใช้ Blog Software ติดตั้งใช้เอง

การใช้ Blog Software มาติดตั้งใช้เองนั้น ต้องการความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรม หรือติดตั้งโปรแกรมบ้างครับ แถมยังต้องมีพื้นฐานทางด้านการทำเว็บอีกด้วย เพราะเราอาจต้องทำการติดตั้ง หรือปรับแต่งดีไซน์ด้วยตัวเอง โดยข้อดีของการใช้ Blog Software มาติดตั้งเองคือ เราสามารถควบคุมการใช้บล็อกของเราได้เอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เขียนบล็อก ก็มีได้มากตามที่เราต้องการ หรือตามขนาดพื้นที่ของ web hosting ที่เราเช่าใช้อยู่ครับ

หากเราต้องการใช้ Blog Software เราจะต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่ล่วงหน้าแล้ว นั่นคือ

- ชื่อโดเมนเนม อาจจะเป็นชื่อโดเมนที่เราจดทะเบียนโด เมนเนมไว้ หรือใช้ sub domain จากเว็บของเราที่มีอยู่แล้ว หากคุณยังไม่เคยมีเว็บมาก่อน ก็ต้องจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นของตัวเองก่อนครับ

- พื้นที่เว็บโฮสติ้ง คุณต้องเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้งไว้ให้พร้อมครับ โดยดูให้ตรงกับความต้องการของโปรแกรม blog software ที่เราจะใช้ เช่น php, cgi หรือ asp

- โปรแกรม Blog Software โปรแกรมเหล่านี้ มีทั้งแบบเสียสตางค์ซื้อมา เช่น MovableType หรือ หรือบางโปรแกรมก็ให้ใช้ได้ฟรี เช่น WordPress เป็นต้น

ลองเลือกดูตามความเหมาะสมนะครับ ว่าเราถนัดแบบไหน หากท่านใดมีข้อสงสัย หรืออยากได้คำปรึกษาเรื่อง blog ลอง อีเมล์ เข้ามาคุยกันดูนะครับ ผมยินดีช่วยเหลือเท่าที่ความสามารถของผมจะช่วยได้ครับ

อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาค 1)
อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับ blog มาตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่เคยเขียนเรื่องนี้ซักที วันนี้เลยต้องขอเขียนถึงเสียหน่อย เพราะมีหลาย ๆ คน email ถามถึงวิธีการที่จะมี Blog ของตัวเองต้องทำยังไงบ้างครับ เริ่มต้นกันแบบง่าย ๆ ดีกว่าครับ อ่านไปจิบน้ำส้ม จิบกาแฟไปก็ได้นะครับ จะได้ไม่เครียด

การที่เราจะมี blog ได้นั้น เราควรจะรู้จักกันก่อนว่า การทำ blog มีผู้ให้บริการให้เราสามารถสร้าง blog ได้หลายรูปแบบ โดยในแต่ละแบบนั้น มีความต้องการรู้ทางด้านการทำเว็บแตกต่างกันไป ว่ากันถึงแบบหลัก ๆ ก่อนดีกว่าครับ

1. ผู้ให้บริการ Blog (Blog Hosting , Blog Provider)

หากคุณไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทำเว็บ หรือไม่รู้จัก blog มาก่อน ก็สามารถมี blog เป็นของตัวเองได้ง่าย ๆ ครับ โดยผู้ให้บริการ blog จะมีการเตรียมระบบรองรับให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมให้เราก็คือ

- ชื่อโดเมน ที่ใช้เป็นที่อยู่ของ blog เรา โดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อแบบ sub domain คือเป็นชื่อในรูปแบบ myname.blogprovider.com เป็นต้น โดยคำว่า myname นั้นก็จะแทนที่ด้วยชื่อที่เราเลือกไว้ครับ ส่วนตรง blogprovider.com นั้นก็คือชื่อโดเมนของผู้ให้บริการ blog ของเราไงครับ

- ระบบ blog management สิ่งต่อมาที่ผู้ให้บริการ blog เตรียมไว้ให้คือ โปรแกรมการ update blog ต่าง ๆ ไงครับ เราไม่ต้องเขียนโปรแกรมการ update blog ด้วยตัวเอง แต่ทางผู้ให้บริการ จะมีระบบนี้เตรียมไว้ให้เราเลยครับ รวมทั้งพวกเทมเพลท หรือรูปแบบดีไซน์ของ blog ที่เตรียมไว้ให้เราใช้ได้เลย ไม่เสียเวลาออกแบบครับ

- พื้นที่เก็บ Blog โดยจำนวนพื้นที่ที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ให้เรานั้น มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่ละรายครับ

อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาค 1)
อยากมี Blog ต้องทำยังไง? (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม



จั่วหัวเลียนแบบแมกกาซีนอย่าง Cosmopolitan ซะหน่อยครับ หลังจากผมได้ศึกษาข้อมูลเรื่องบล็อกมาอยู่พักใหญ่ อ่านเจอข้อมูลมาก็เยอะจนตาลาย ผมลองพยายามจำแนก ประเภทของคนเขียนบล็อก (Blogger) ว่ามีกี่แบบกันแน่ ลอง list ออกมาคร่าว ๆ ได้ดังนี้ครับ

1. บล็อกเกอร์อิสระ
นักเขียนบล็อกประเภทนี้คือ เขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเอง ไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว โดยเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิงภายในที่พักอาศัย เอ้ย! ไม่ใช่สิ นั่นมันประโยคคุ้น ๆ ของ CVD เค้า จริง ๆ คือบล็อกเกอร์ประเภทนี้เค้าจะเขียนเพื่อความสนุก และความมันส์ส่วนตัวในหมู่เพื่อนฝูงมากกว่า

2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ
โดยนักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตนครับ นั่นก็คือเค้าใช้ blog มาเป็นเครื่องมือทำการตลาดนั่นเอง

3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร
บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่าง ๆ เท่าที่เห็น น่าจะเป็น blog ต่างประเทศที่ตกอยู่ในหมวดนี้ซะเยอะนะครับ

4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ
กลุ่มนี้คือบล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพเลยครับ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่าง ๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่ผมเห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศครับ เพราะเขียนให้คนอ่านเยอะ ๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีรายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่าง ๆ เลยครับ อย่างเช่น xiaxue สาวคนนี้เขียนบล็อกจนดัง มีคนซื้อโฆษณาในบล็อกแถมยังให้ไปเป็น presenter ให้สินค้าเค้าอีกด้วย

ที่มา : เก่งดอทคอม



โดยคำว่า Blogosphere นั้น จะเป็นคำที่แทนความหมายของคำว่า WebLogs , Community และ Social Network เข้าด้วยกัน เมื่อพูดถึงคำว่า Blogosphere นั่นย่อมหมายถึงโลกแห่งบล็อก ซึ่งโลกของบล็อกนี้จะรวมถึงเว็บบล็อกต่าง ๆ , คนเขียนบล็อก (Blogger) , ชุมชนของบล็อกต่าง ๆ และยังรวมถึงสิ่งต่าง ๆ หรือเว็บต่าง ๆ ที่พูดถึงบล็อกนั่นเอง เช่นถ้าคุณอ่านบทความนี้อยู่ คุณก็เป็นผู้อ่านคนหนึ่งที่อยู่ใน Blogosphere ไงครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blogosphere ครับ

ที่มา : เก่งดอทคอม


นอกจากการใช้ Blog ของ Up Your Budget เพื่อเล่นกิจกรรมแล้ว ทางบริษัท Budget ยังซื้อโฆษณาเพื่อโปรโมทกิจกรรมนี้ ทาง Blog ดัง ๆ ของสหรัฐอีกหลาย ๆ แห่งเช่น Adrants, MarketingVOX และ Boing Boing และยังซื้อโฆษณาผ่านระบบ BlogAds ซึ่งมีบล็อกในเครือข่ายอีก 74 บล็อก นอกจากนี้ยังซื้อโฆษณา keyword ใน search engine ชั้นนำต่าง ๆ อีกด้วย

นี่แหละครับ ความโดดเด่นและความสำคัญของสื่อใหม่อย่าง Blog ที่นักการตลาดและบริษัทดัง ๆ อย่างเช่น Budget ใช้เพื่อทำการตลาดผลิตภัณฑ์ของตน จับตามองให้ดีนะครับ สำหรับนักการตลาดไทย ผมว่า Blog มีประโยชน์ต่อนักการตลาดมากกว่าที่เราคิดกันไว้ครับ

Case Study : Up Your Budget Blog (ภาค 1)
Case Study : Up Your Budget Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


บริษัทให้เช่ารถยนต์ชื่อดังอย่าง Budget ทำกิจกรรมการตลาดโดยการใช้ Blog โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า Up Your Budget Treasure Hunt โดยเป็นกิจกรรม ตามล่าสติ๊กเกอร์ของ Budget โดยมีเงินรางวัลรวม $160,000 เหรียญสหรัฐ

โดย Budget ได้จัดกิจกรรมนี้ใน 16 เมืองในสหรัฐ โดยจะมีการนำสติ๊กเกอร์ของโครงการ Up Your Budget ไปติดไว้เมืองละ 1 ใบ โดยให้ผู้ร่วมแข่งขัน หาสติ๊กเกอร์นั้นให้เจอ หากใครหาพบ จะได้รางวัล $10,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้ที่หาพบ จะต้องโทรศัพท์ไปที่หมายเลขโทรศัพท์ ที่ระบุอยู่บนสติ๊กเกอร์ และจะต้องมีหลักฐานโดยใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายไว้ หรือถ่ายเป็นวีดีโอไว้ก็ได้ โดยแต่ละเมืองมีเพียงแค่ 1 สติ๊กเกอร์เท่านั้น

วิธีการเล่นกิจกรรมนั้น ผู้ร่วมเล่น ผมขอเรียกว่า hunter ละกัน จะได้พิมพ์ง่าย ๆ หน่อย โดย hunter จะต้องเข้ามาอ่าน blog ของ Up Your Budget เพื่อหาคำใบ้ โดยคำใบ้นั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของ Budget อยู่สองคน คอยถ่ายวีดีโอที่คอยใบ้ให้รู้ถึงสถานที่ที่ติดสติ๊กเกอร์ไว้ ความยากของมันอยู่ที่ว่า Budget ไม่ได้บอกว่า สติ๊กเกอร์อยู่ที่เมืองไหน และอยู่ที่ไหนในเมืองนั้น ๆ โดย hunter ทุกคนจะต้องดูวีดีโอคำใบ้ แล้วหาให้ได้ว่า ภาพในวีดีโอนั้นอยู่ที่เมืองไหน แล้วก็ต้องหาสติ๊กเกอร์นั้นให้เจอครับ โดยคำใบ้ต่าง ๆ จะเป็นภาพจำพวก สภาพดินฟ้าอากาศ ร้านอาหารท้องถิ่น หรือสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น โดยแต่ละสัปดาห์ จะเล่น 4 เมือง รวมระยะเวลา ในการเล่นกิจกรรมนี้ ใช้เวลา 1 เดือนพอดิบพอดี

Case Study : Up Your Budget Blog (ภาค 1)
Case Study : Up Your Budget Blog (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม


จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น

ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ

และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง

สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

อ่านจบบทความนี้ คิดว่าหลาย ๆ ท่านน่าจะเข้าใจว่า Blog คืออะไร เพิ่มขึ้นมากแล้วนะครับ

Blog คืออะไร (ภาค 1)
Blog คืออะไร (ภาคจบ)

ที่มา : เก่งดอทคอม

Newer Posts Older Posts Home