A Blogger by Beamcool

บล็อค ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การตลาด seo และ วิธีการ หาเงิน บน อินเตอร์เน็ต เทคนิคในการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต ( เราหมายถึงการ ทำเงิน บน อินเตอร์เน็ต จริง ๆ ที่ไม่ใช่การชวนเข้า mlm แต่อย่างใดครับ) รวมถึง บริการออนไลน์ ออฟไลน์ ต่าง ๆ ในเครือ Wittybuzz ไว้ด้วยกัน ใครที่เยี่ยมชมนี้ด้วย Internet Explorer แนะนำให้ดาวโหลด Firefox มาใช้จะดีกว่าครับ นอกจากลูกเล่นจะมีเยอะกว่า ยังมีเครื่องมือที่สนับสนุน SEO อีกด้วยครับ


ภาพแห่งการแข่งขันที่รุนแรงและต่อเนื่องในปี 2550 ยังคงครุกรุ่นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวของเว็บไซต์ขนาด ใหญ่ในประเทศหลายแห่ง ที่พยายามนำเสนอความเป็นเว็บไซต์ยุคที่ 2 (Web 2.0) หลังจากการปรับแต่งก็ได้รับทั้งผลตอบรับที่ดีและไม่ดีส่วนใหญ่แล้วสะท้อน กลับมาในทางไม่ดีมากกว่า อันเนื่องมากจากลักษณะการใช้งานของ Internet Users ภายในประเทศนั้นยังใช้วิธีการจดจำ มากกว่าการค้นหา หลายเว็บไซต์ที่ดำเนินการปรับปรุงไปแล้วนั้น
จึงต้องกลับมาพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

ในระหว่างที่เจ้าของเว็บไซต์ไม่ว่าจะขนาดใหญ่ที่สุด ไปจนถึงขนาดเล็กที่สุดของประเทศกำลังพยายามปรับปรุงโครงสร้าง ข้อมูลเว็บไซต์อยู่นั้น สิ่งหนึ่งที่เจ้าของเว็บไซต์เหล่านั้นอาจจะยังไม่ได้ตระหนักถึงก็คือ กฏ กติกา และเงื่อนไขต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การฟ้องร้อง และดำเนินคดีตามกฏหมายได้

จากการที่เมื่อกลางปีที่แล้วได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ทำให้ Internet Users และเหล่าบรรดาเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ ได้ตื่นตัวกับการปรับปรุงในส่วนต่างๆ เพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมาย

และนอกเหนือจากพระราชบัญญัติ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์แล้ว ยังมี พระราชบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย อาทิเช่น พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่ห้ามทำการโฆษณาบุหรี่บนเว็บไซต์ และยังกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์ เช่น เพลง, ภาพยนต์, กระเป๋า, นาฬิกา ตลอดจนถึงบทความต่างๆ

นี่คือสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์หลายท่านยังไม่ทราบ และยังไม่มีมาตรการป้องกันที่ชัดเจน ทั้ง ยังไม่มีการสรุปแนวทางระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบ กับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้กับเว็บมาสเตอร์โดยทั่วไป เช่น สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย, สมาคมผู้ประกอบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เป็นต้น

และจากการดำเนินการในอดีตที่ผ่านมาด้วยมาตรการที่ยังไม่ชัดเจน เราจึงจะได้ข่าวการแจ้งจับเจ้าของเว็บไซต์หลายแห่ง จนดังเป็นเรื่องเป็นราวกันไปหลายครั้ง หลายคราว ส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบการตรวจสอบของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการติดต่อขอข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินการ กำหนดระยะเวลาการติดต่อขอหลักฐานการประสานขอความร่วมมือไปยังเจ้าของเว็บไซ ต์ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งหากเจ้าของเว็บไซต์มิได้รับรายละเอียดการแจ้งนั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสีย กับหลายฝ่าย เช่น ผู้ใช้บริการ, เจ้าของเว็บไซต์, หน่วยงานที่รับผิดชอบเจ้าของเรื่องผู้ดำเนินคดี

ฉะนั้น จากเหตุต่างๆ ดังกล่าว แนวทางที่น่าจะสรุปออกมาสำหรับเว็บมาสเตอร์ไทย เพื่อรักษามาตรฐานและกำหนดแนวทางการพัฒนาควรมีการกำหนดแบบแผนสำหรับทุกหน่วย งาน ต่างๆ เช่น

- การขึ้นทะเบียนเว็บไซต์ เพื่อเป็นส่วนของการให้ข้อมูลการติดต่อเจ้าของเว็บไซต์ และผู้รับผิดชอบโดยตรง
เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ได้โดยตรง และอย่างทันท้วงที เพื่อป้องกันปัญหาในวงกว้าง
- ขั้นตอนการติดต่อเจ้าของเว็บไซต์
- แจ้งเหตุ และรายละเอียดของการกระทำความผิด
- ตักเตือน, ประเมินผล, สรุปผล (ให้/ไม่ให้ความร่วมมือ)
- การติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง, เซิร์ฟเวอร์, ให้บริการอินเตอร์เน็ต
- นำสืบต่อเนื่องไปยังผู้กระทำความผิดตัวจริง

เมื่อมีขั้นตอนการติดต่อและดำเนินการที่ชัดเจนแล้วนั้น จะช่วยให้การพัฒนาสามารถเติบโตได้อย่างถูกต้องและป้องกันปัญหาบางส่วนที่อาจ จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทั้งยังช่วยป้องกันสื่อที่ไม่เหมาะสมในลักษณะของการจัดเรตติ้งให้กับเว็บไซ ต์ต่างๆ ตามหมวดหมู่

สำหรับเจ้าของเว็บไซต์ทั้งที่เปิดให้บริการเรียบร้อยและยังไม่ได้เปิดให้ บริการ ในปี 2551 นี้คงต้องทำใจรับข้อมูลและกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างหนักหน่วง ฉะนั้น ในการพัฒนาส่วนใดของเว็บไซต์เพิ่มเติม หากคาดว่าจะมีการละเมิด และผิดกฏหมายในจุดใดคงต้องมุ่งความสนใจไปเป็นพิเศษ เว็บไซต์ใหม่ที่กำลังจะเปิดบริการเองก็ยังมิต้องตื่นตกใจจนเกินไป หากมีขั้นตอนการดำเนินการที่ชัดเจน ก็จะมีช่วงระยะเวลาในการปรับปรุงแก้ไขระบบ ให้ถูกต้องตามกฏกติกาที่ถูกที่ควรต่อไป

ที่มา : เอสอีเอ็มดอทโออาร์ดอททีเฮด

0 Comments:

Post a Comment



Newer Post Older Post Home